ขีดจำกัดฮายาชิ

ขีดจำกัดฮายาชิ (อังกฤษ: Hayashi limit) คือ ขีดจำกัดมากที่สุดของรัศมีของดาวฤกษ์ซึ่งถูกกำหนดโดยมวลของดาวฤกษ์ เมื่อดาวมีสภาวะสมดุลอุทกสถิตอยู่ภายใน (คือเงื่อนไขของดาวที่มีแรงโน้มถ่วงที่มีทิศเข้าสู่ภายในพอดีกันกับความดันของพลาสมาที่ดันออกมา) ในขณะที่ดาวมีรัศมีน้อยกว่าขีดจำกัดฮายาชิก็จะมีนัยสำคัญในการวิวัฒนาการของดาวทั้งในระหว่างคาบการหดตัวของดาวและหลังจากที่ดาวใช้ไฮโดรเจนในปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน[1]ในแผนภาพ HR Diagram ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิพื้นผิวต่อกำลังส่องสว่าง ในแผนภาพนี้ขีดจำกัดฮายาชิจะเป็นเส้นแนวตั้งใกล้ ๆ กับอุณหภูมิ 3,500 เคลวิน ดาวอุณหภูมิต่ำจะปรากฏแต่ชั้นพาความร้อน และแบบจำลองโครงสร้างของดาวสำหรับดาวที่มีเฉพาะชั้นพาความร้อนไม่สามารถหาคำอธิบายเมื่ออยู่ทางด้านขวาของเส้นนี้ในขณะที่ดาวอยู่ในสภาวะสมดุล (และมีอุณหภูมิต่ำ) ดังนั้นดาวจะถูกบังคับให้หลงเหลืออยู่ทางด้านซ้ายของขีดจำกัดนี้ตลอดทุกคาบเมื่อมันอยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต และบริเวณที่อยู่ทางด้านขวาของเส้นนี้จะจัดอยู่ในประเภท "Forbidden zone" (บริเวณต้องห้าม) อย่างไรก็ตามก็ยังมีข้อยกเว้นของขีดจำกัดฮายาชิอยู่ ซึ่งนั่นรวมถึงดาวโปรโตสตาร์ที่ยุบตัวลงและดาวที่มีสนามแม่เหล็กแทรกสอดกับการพาพลังงานภายในดาวด้วยวิธีการพาความร้อน.[2]ดาวยักษ์แดงเป็นดาวที่มีการขยายตัวจากเปลือกหุ้มชั้นนอกจากปฏิกิริยาฟิวชั่นของฮีเลียมซึ่งจะเคลื่อนย้ายดาวขึ้นและไปทางขวาของ HR Diagram อย่างไรก็ตามมันถูกบังคับโดยขีดจำกัดฮายาชิไม่ให้ขยายตัวไปไกลกว่ารัศมีที่แน่นอน.[3]ขีดจำกัดนี้ถูกตั้งชื่อโดย จูชิโร ฮายาชิ (Chūshirō Hayashi) นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ชาวญี่ปุ่น.[4]