ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก
ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก

ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก

ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (อังกฤษ: Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership, ย่อ: CPTPP) หรือเรียก TPP11 หรือ TPP-11[2][3][4] เป็นความตกลงการค้าระหว่างประเทศออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ และเวียดนาม พัฒนามาจากความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) ซึ่งไม่มีผลใช้บังคับเนื่องจากสหรัฐถอนตัว ณ เวลาลงนาม เศรษฐกิจรวมของ 11 ประเทศคิดเป็นร้อยละ 13.4 ของจีดีพีโลก (ประมาณ 13.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทำให้ CPTPP เป็นเขตการค้าเสรีใหญ่สุดอันดับสามของโลกโดยวัดจากจีดีพี รองจากความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือและตลาดร่วมยุโรป[5]หลังประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐประกาศถอนตัวออกจาก TPP ประเทศผู้ลงนามเดิมได้ตกลงในเดือนพฤษภาคม 2560 เพื่อรื้อฟื้นความตกลงใหม่[6][7] โดยบรรลุความตกลงในเดือนมกราคม 2561 มีพิธีลงนามอย่างเป็นทางการในวันที่ 8 มีนาคม 2561 ในประเทศชิลี[8][9] CPTPP รับเอาข้อกำหนดของ TPP มาใช้ แต่ระงับบทบัญญัติ 22 ข้อที่สหรัฐเห็นชอบแต่ประเทศอื่นคัดค้าน ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับเมื่อหกประเทศให้สัตยาบัน คือ วันที่ 30 ธันวาคม 2561[10]บทว่าด้วยรัฐวิสาหกิจยังไม่เปลี่ยนแปลง โดยกำหนดให้ประเทศผู้ลงนามแบ่งปันสารสนเทศเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจระหว่างกัน มีการใส่มาตรฐานเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาที่ละเอียดที่สุดในบรรดาความตกลงการค้าทุกฉบับ ตลอดจนคุ้มครองต่อการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญากับบริษัทที่ดำเนินการในต่างประเทศ[11] ด้านญี่ปุ่นขยายระยะเวลาคุ้มครองลิขสิทธิ์เป็น 70 ปีหลังผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต[12] ซึ่งเป็นข้อกำหนดของความตกลงความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจอียู–ญี่ปุ่น[13]

ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก

เงื่อนไข 60 วันหลังประเทศผู้ลงนามให้สัตยาบันเกิน 50% หรือเกินหกประเทศ
ภาคี
ผู้เก็บรักษา รัฐบาลนิวซีแลนด์[1]
ประเภท ความตกลงการค้าเสรี
มีผลวันที่ 30 ธันวาคม 2561
วันลงนาม 8 มีนาคม 2561
ผู้ลงนาม
สถานที่ ซานเตียโก ประเทศชิลี
ภาษา ภาษาอังกฤษ, ภาษาสเปน และภาษาฝรั่งเศส[1]
ตราวันที่ 23 มกราคม 2561

ใกล้เคียง

ข้อตกลงการบินโดยใช้รหัสเที่ยวบินร่วมกัน ข้อตกลงออสโล ข้อตกลงสำหรับเครื่องหมายพาสซีฟ ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ข้อตกลงพลาซา ข้อตกลงเขตแดนทางทะเลของสหภาพโซเวียต–สหรัฐ ข้อตกลงฏออิฟ ข้อตกลงกระทำอัตวินิบาตกรรม ข้อตกลงรวมบาหลี ข้อตกลงมิวนิก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก http://www.nydailynews.com/newswires/news/business... http://www.straitstimes.com/asia/se-asia/saving-th... http://www.elfinanciero.com.mx/economia/paises-del... https://www.theaustralian.com.au/national-affairs/... https://www.bbc.com/thai/thailand-52437047 https://www.cnbc.com/2017/05/20/tpp-nations-agree-... https://www.natlawreview.com/article/canada-reache... https://www.reuters.com/article/us-trade-tpp/trans... https://thediplomat.com/2018/02/tpp-2-0-the-deal-w... https://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/HTM...