เกี่ยวกับกระบวนการ ของ ข้อวิจารณ์วิกิพีเดีย

ระดับการอภิปราย สงครามการแก้ไข และการก่อกวน

มาตรฐานการอภิปรายในวิกิพีเดียได้แสดงว่าน่าสงสัยโดยบุคคลผู้ให้ข้อสังเกตว่า ผู้ร่วมงานสามารถระบุประเด็นสำคัญต่าง ๆ เป็นรายการยาว แล้วยกงานศึกษาอิงหลักฐานเชิงประสบการณ์เพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตน แต่ก็อาจถูกชุมชนเพิกเฉยโดยสิ้นเชิง[171]งานศึกษาบทความวิกิพีเดียทางวิชาการพบว่า การอภิปรายของผู้แก้ไขวิกิพีเดียในหัวข้อที่เกิดการโต้แย้งอย่างมากมักกลายเป็นการทะเลาะกันในเรื่องไม่เป็นเรื่องที่ไม่ให้ผลดีอะไร คือ

สำหรับประเด็นที่เสถียร ไม่ก่อความโต้แย้ง การคัดเลือกตนเองช่วยให้สมาชิกของกลุ่มผู้แก้ไขบทความเข้ากันได้ดีในด้านความสนใจ พื้นเพ และความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับประเด็นนั้น ๆ...ในนัยตรงกันข้าม สำหรับประเด็นที่ก่อความโต้แย้ง การคัดเลือกตนเองอาจสร้างกลุ่มผู้แก้ไขที่ไม่ลงรอยกันอย่างมากซึ่งอาจนำไปสู่ข้อขัดแย้งระหว่างสมาชิกในกลุ่มผู้แก้ไข สงครามแก้ไขอย่างต่อเนื่อง และอาจต้องใช้กลไกการประสานงานและการควบคุมที่เป็นทางการซึ่งอาจรวมการแทรงแซงของผู้ดูแลระบบผู้จะเริ่มกระบวนการทบทวนข้อพิพาทและการไกล่เกลี่ย หรืออาจระงับประเภทการแก้ไขและผู้แก้ไขโดยสิ้นเชิงหรือจำกัดแล้วประสานงาน[172]

ในปี 2008 ทีมนักวิจัยจากศูนย์วิจัยแพโลแอลโท (Palo Alto Research Center) พบว่า สำหรับผู้ใช้ที่แก้ไขะรหว่าง 2-9 ครั้งต่อเดือน อัตราการถูกย้อนกลับได้เพิ่มจากร้อยละ 5 ในปี 2004 ไปถึงร้อยละ 15 และคนที่แก้ไขเพียงครั้งหนึ่งต่อเดือนถูกย้อนกลับถึงร้อยละ 25[173]ตามนิตยสารรายสัปดาห์ของประเทศอังกฤษเดอะอีคอโนมิสต์ปี 2008 "พฤติกรรมของผู้คุ้มครองวิกิพีเดียแบบช่างลบที่ตัวเองสถาปนาขึ้น ผู้ตัดทิ้งสิ่งที่ไม่เข้ามาตรฐานของตน และให้เหตุผลการกระทำของตนด้วยพายุตัวย่อ ปัจจุบันได้ชื่อว่า 'wiki-lawyering' (ว่าความเป็นทนายวิกิ)"[174]เกี่ยวกับการลดจำนวนผู้แก้ไขวิกิพีเดียตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงนโยบายในปี 2007 งานศึกษาอีกงานกล่าวว่านี่ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ "วิธีการที่ผู้มาใหม่ได้การต้อนรับจากระบบควบคุมคุณภาพอัตโนมัติ และถูกโถมทับด้วยความซับซ้อนของระบบกฎเกณฑ์"[175]

ปัญหาที่บ่นอีกอย่างของวิกิพีเดียเป็นเรื่องกิจกรรมของผู้ร่วมงานที่เชื่อแปลก ๆ ผู้ดันมุมมองของตนเพื่อครอบงำบทความ โดยเฉพาะบทความที่ก่อการโต้แย้ง[176][177]ซึ่งบางครั้งมีผลเป็นสงครามการย้อนแล้วล็อกดาวน์บทความเพื่อตอบสนอง จึงเกิดคณะอนุญาโตตุลาการในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษที่จัดการผู้ล่วงระเมิดในกรณีร้ายแรงที่สุด แม้จะสนับสนุนให้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนจะถึงขั้นนี้อีกอย่างหนึ่ง เพื่อระงับการย้อนบทความอย่างต่อเนื่อง จิมมี เวลส์เองได้ออกนโยบาย "กฎย้อนสามครั้ง" คือผู้ใช้ที่ย้อนการแก้ไขบทความหนึ่ง ๆ เกินกว่า 3 ครั้งภายใน 24 ชม. อาจถูกบล็อก[178]

ในบทความวารสาร The Brooklyn Rail ปี 2008 ผู้ร่วมงานวิกิพีเดียภาษาอังกฤษคนหนึ่งยืนยันว่าเขาถูกก่อกวนและถูกย่องตามเพราะงานของเขาในวิกิพีเดีย โดยไม่ได้รับการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่มูลนิธิวิกิมีเดีย และได้การสนับสนุนที่ไม่สม่ำเสมอจากชุมชนเขาจึงสรุปว่า "ถ้าคุณกลายเป็นเหยื่อในวิกิเดีย อย่าหวังว่าจะได้ชุมชนที่คอยสนับสนุน"[179]

ในนิตยสารออนไลน์สเลต นักเขียนอเมริกันหนึ่งได้กล่าวว่า

ผมไม่ได้พูดเลยเถิดเมื่อพูดว่า มันเป็นอะไรซึ่งคล้ายกับหนังสือ The Trial ของฟรันทซ์ คัฟคามากที่สุดเท่าที่ผมเคยเจอมา โดยมีผู้แก้ไขและผู้ดูแลระบบให้คำแนะนำที่ขัดแย้งและสับสน มีเรื่องร้องเรียนที่ถูกบูมเมอแรงกลับไปยังผู้ร้องเรียนผู้จะถูกลงโทษทางวินัยฐานร้องเรียน และมีความไม่สม่ำเสมอในการประยุกต์ใช้มาตรฐานต่าง ๆในเวลาสั้น ๆ ที่ผมอยู่ที่นั่น ผมได้เห็นผู้แก้ไขว่าความเป็นทนายเกี่ยวกับประเด็นหนึ่ง ๆ ด้วย (กฎที่แสดงเป็น) ตัวย่ออย่างซ้ำ ๆ แล้วกลับหันหลังกลับแล้วประกาศว่าให้ปล่อยวางกฎทั้งหมด! เมื่อถูกนำกฎเดียวกันมาใช้กับตนเอง...ปัญหาจริง ๆ มีต้นตอมาจากความจริงว่า ผู้ดูแลระบบและผู้แก้ไขมานาน ๆ ได้สร้างกรอบความคิดแบบยึดที่มั่น ซึ่งพวกเขาเห็นคนแก้ไขใหม่ ๆ เป็นผู้บุกรุกอันตรายผู้จะทำลายสารานุกรมอันงดงามของตน และดังนั้น จึงเป็นศัตรูกับหรือแม้แต่ก่อกวนพวกเขา[144]

วิกิพีเดียยังถูกวิจารณ์ว่ามีการบังคับใช้ที่อ่อนแอเมื่อต่อต้านความเป็นพิษของชุมชนผู้แก้ไขที่คนอื่น ๆ เห็นในกรณีหนึ่ง ผู้แก้ไขระยะยาวคนหนึ่งถูกกดดันจนฆ่าตัวตายหลังจากถูกทารุณกรรมออนไลน์โดยผู้แก้ไข และถูกระงับไม่ให้แก้ไขเว็บไซต์ ก่อนได้การช่วยชีวิต[180]

เพื่อแก้ปัญหานี้ วิกิพีเดียมีแผนออกกฎควบคุมพฤติกรรมใหม่เพื่อสู้กับ "พฤติกรรมเป็นพิษ"การพัฒนากฎนี้จะทำเป็นสองระยะระยะแรกเป็นการตั้งนโยบายสำหรับกิจกรรม/เหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งเมื่อเป็นเหตุการณ์จริง ๆ หรือเหตุการณ์เสมือน และตั้งนโยบายสำหรับสถานที่ในระบบต่าง ๆ รวมทั้งห้องคุยและโปรเจ็กต์ของวิกิมีเดียอื่น ๆระยะสองเป็นโครงร่างการบังคับใช้กฎเมื่อถูกละเมิด ซึ่งคณะกรรมการของวิกิมีเดียมีแผนจะอนุมัติปลายปี 2020[181]

ความเห็นพ้องและการตัดสินใจแบบรังผึ้ง

นักข่าวอังกฤษท่านหนึ่งเขียนบทความไว้ในเดอะไทมส์ว่า การสร้างเนื้อหาบทความอาศัยความเห็นพ้องเป็นเรื่องน่าสงสัย คือ[2]

วิกิพีเดียไม่ได้หาความจริงแต่หาความเห็นพ้อง และเหมือนกับการประชุมทางการเมืองที่ไม่รู้จักจบ ผลปลายเหตุก็จะถูกครอบครองโดยเสียงที่ดังสุดและดื้อดึงสุด

ผู้ปรึกษาของมูลนิธิวิกิมีเดียผู้หนึ่งได้กล่าวถึงมุมมองที่ไม่ถูกสัดส่วนในวิกิพีเดียว่า

ในวิกิพีเดีย การอภิปรายอาจชนะได้อาศัยความทรหดถ้าคุณสนใจมากกว่าและเถียงนานกว่า คุณมักจะได้สิ่งที่ต้องการผลที่ได้บ่อยครั้งมากก็คือ บุคคลหรือองค์กรที่สนใจอย่างมากในการให้วิกิพีเดียกล่าวอะไรอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ มักจะชนะผู้แก้ไขอื่นที่พียงต้องการให้สารานุกรมสมบูรณ์ เป็นกลาง และเชื่อถือได้(นั่นคือ) ผู้แก้ไขไม่มุ่งมั่นเท่ากันเพราะเพียงแต่ไม่เสี่ยงเสียเท่ากัน และความสนใจของเขาจึงกระจายไปมากกว่า[182]

ส่วนสมาชิกคณะกรรมการของวิกิมีเดียกล่าวว่า

การทำให้ฝ่ายตรงข้ามท้อใจเป็นกลยุทธ์สามัญของบรรดาชาววิกิพีเดียผู้มีประสบการณ์...ผมได้อาศัยวิธีนี้หลายครั้ง[183]

ในบทความปี 2006 นักวิทยาการคอมพิวเตอร์อเมริกันและนักทฤษฎีดิจิตัลคนหนึ่งเรียกวิกิพีเดียว่าเป็น "สติปัญญาแบบรวงผึ้ง" ที่ "โดยมากงี่เง่าและน่าเบื่อ" แล้วถามเล่นคารมว่า "แล้วไปสนใจมันทำไม" สมมติฐานของเขาก็คือ

ปัญหาก็คือกระบวนการที่นำไปสู่การพิจารณาและการใช้วิกิพีเดียกระบวนการที่ยกมันขึ้นเป็นสิ่งสำคัญเช่นนี้เร็วถึงขนาดนี้และนั่นเป็นส่วนหนึ่งของความดึงดูดใจของระบบชุมชนนิยมออนไลน์แบบใหม่อันเป็นรูปแบบกว้าง ๆ ที่ไม่ใช่อะไรนอกจากการฟื้นคืนแนวคิดว่า ส่วนรวมฉลาดสุด ว่ามันน่าปรารถนาที่จะมีอิทธิพลรวมอยู่เป็นคอขวดซึ่งสามารถนำส่วนรวมให้ไหลไปในทางที่ถูกสุดและแรงสุดนี่ต่างกับระบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหรือธรรมาธิปไตยแนวคิดนี้มีผลลัพธ์ที่น่ากลัวเมื่อบังคับเราให้ยอมรับโดยพวกฝ่ายขวาจัดหรือพวกฝ่ายซ้ายจัดในประวัติศาสตร์ช่วงต่าง ๆ ของมนุษย์ความจริงว่ามันกำลังถูกนำเข้ามาเสนอใหม่ในปัจจุบันโดยนักเทคโนโลยีและนักมองอนาคตผู้มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ในหลายกรณีผมรู้จักและชอบใจ ก็ไม่ได้ทำให้มันอันตรายน้อยลงโดยประการใด ๆ[184]

เขายังบอกด้วยว่า แนวโน้มทางเศรษฐกิจปัจจุบันมักจะให้ผลประโยชน์กับองค์กรที่รวบรวมข้อมูล ไม่ให้กับองค์กรที่จริง ๆ สร้างข้อมูลถ้าไม่ได้แบบจำลองทางธุรกิจที่สร้างใหม่ ความต้องการข้อมูลโดยนิยมก็จะสนองด้วยอะไรพื้น ๆ หรือด้อยคุณภาพ ดังนั้น เป็นการลดหรือแม้แต่กำจัดสินน้ำใจทางการเงินเพื่อสร้างความรู้ใหม่[184]

ความเห็นของนักเขียนผู้นี้ได้ความไม่เห็นด้วยที่ค่อนข้างแรงผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตชาวอเมริกันคนหนึ่งให้ข้อสังเกตว่า วิกิพีเดียมีระบบควบคุมภายในหลายอย่าง จึงไม่ใช่เพียงกิจกรรมหมู่ที่ไร้สติปัญญา คือ

ทั้งผู้สนับสนุนและผู้ต่อต้านวาทศิลป์เรื่องสติปัญญาแบบรวงผึ้งไม่มีอะไรน่าสนใจจะกล่าวเกี่ยวกับวิกิพีเดียเอง เพราะทั้งสองกลุ่มต่างเพิกเฉยต่อรายละเอียด...วิกิพีเดียมองได้ดีสุดว่า เป็นชุมชนมีส่วนร่วมที่ใช้กลไกควบคุมจำนวนมากและกำลังขยายมากขึ้นเพื่อจัดการกับการแก้ไขที่เสนอเป็นจำนวนมหาศาล...ยกตัวอย่างกรณีโดยเฉพาะของวิกิพีเดีย ความชุลมุนเรื่องของนักข่าวซีเกนทอเลอร์เกี่ยวกับการลอบสังหารประธานาธิบดีเคนเนดีเป็นทั้งตัวเร่งให้พิจารณาตัวเองและให้สร้างวิธีควบคุมใหม่เพื่อแก้ปัญหาที่ปรากฏ และในบรรดาวิธีต่าง ๆ มีวิธีควบคุมรวมทั้งให้บุคคลรับผิดชอบมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ (ผู้กล่าวว่าวิกิพีเดียเป็น) ลัทธิเหมายุคดิจิตัล ปฏิเสธว่ามี[185]

การสร้างกฎมากเกิน

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับมูลนิธิวิกิมีเดียต่าง ๆ อ้างว่า นโยบายและแนวปฏิบัติที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ ของวิกิพีเดียกำลังขับไล่ผู้ร่วมงานใหม่ออกไปอดีตกรรมการบริหาร (Kat Walsh) ได้วิจารณ์โปรเจ็กต์ในปี 2013 ว่า"มันง่ายกว่านี้เมื่อผมเข้าร่วมในปี 2004 ...ทุกอย่างซับซ้อนน้อยกว่านี้...มักยากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับผู้มาใหม่ในการปรับตัว"[186]ผู้ดูแลระบบวิกิพีเดียภาษาอังกฤษผู้หนึ่งมองการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ของนโยบายว่าเป็นปัญหาสำคัญ กล่าวว่า "กลุ่มคนรวมกันแบบหลวม ๆ ที่ดำเนินการเว็บไซต์ในปัจจุบัน ซึ่งประเมินว่าเป็นชายร้อยละ 90 ดำเนินการเป็นระบบข้าราชการอันเหลือทน โดยมักมีบรรยากาศไม่เป็นมิตรที่กันคนมาใหม่ผู้อาจเพิ่มการมีส่วนร่วมในวิกิพีเดียแล้วเพิ่มความกว้างขวางของบทความ"[187]

ตามผู้จัดการโครงการของมูลนิธิวิกิมีเดียคนหนึ่ง (ต่อมาเป็นกรรมการคือ Dariusz Jemielniak) ความซับซ้อนอย่างยิ่งของกฎควบคุมเนื้อหาและควบคุมพฤติกรรมผู้แก้ไขได้กลายเป็นมากเกินซึ่งสร้างภาระการเรียนรู้แก่ผู้แก้ไขใหม่[6][188]ในงานศึกษาปี 2013 นักวิทยาศาสตร์เชิงวิจัยคนหลักของมูลนิธิวิกิมีเดียบุคคลหนึ่งได้สรุปอย่างเดียวกัน[8]ผู้จัดการโครงการจึงได้เสนอให้เขียนและย่อกฎใหม่เพื่อลดความซับซ้อนและจำนวน[6][188]

การแบ่งชั้นทางสังคม

แม้จะเข้าใจกันว่ากระบวนการของวิกิพีเดียเป็นประชาธิปไตย แต่ก็มี "คนจำนวนน้อยเป็นผู้ดำเนินงาน"[189]รวมทั้งผู้ดูแลระบบ ผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้ง ผู้จัดการโครงการ ผู้ตรวจสอบผู้ใช้ ผู้ไกล่เกลี่ย อนุญาโตโตุลาการ และผู้ควบคุมประวัติ[7]ในบทความเรื่องข้อพิพาทในวิกิพีเดียปี 2007 หนังสือพิมพ์ของอังกฤษเดอะการ์เดียนพูดถึง "ปฏิกิริยาเชิงลบในผู้แก้ไขบางส่วน ผู้กล่าวว่าการบล็อกผู้ใช้เป็นการบ่อนทำลายความเปิดของโปรเจ็กต์ที่สมมุติว่ามี และความไม่สมดุลทางอำนาจระหว่างผู้ใช้กับผู้ดูแลระบบก็อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้ใช้บางคนเลือกที่จะก่อกวนตั้งแต่ต้น" โดยอาศัยประสบการณ์ของผู้แก้ไขคนหนึ่งที่กลายมาเป็นผู้ก่อกวนหลังจากที่การแก้ไขของเขาถูกย้อนและเขาถูกบล็อกเนื่องจากก่อสงครามแก้ไข[190]

ใกล้เคียง

ข้อวิจารณ์วิกิพีเดีย ข้อวิจารณ์รัฐบาลอิสราเอล ข้อวินิจฉัยการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ข้อริเริ่มเข็มขัดและเส้นทาง ข้อพิพาทเกี่ยวกับตัวแทนจำหน่ายของเทสลาในสหรัฐ ข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้ ข้อผิดพลาดไม่ร้ายแรงแกนกลางลินุกซ์ ข้อพิพาทระหว่างอับราฮัมและโลท ข้อพิพาทชายแดนโซเวียต–ญี่ปุ่น ข้อพิพาทบอร์เนียวเหนือ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ข้อวิจารณ์วิกิพีเดีย http://www.livenews.com.au/Articles/2008/09/09/Wik... http://www.abc.net.au/radionational/programs/scien... http://www.abc.net.au/science/articles/2005/12/15/... http://mako.cc/copyrighteous/the-institute-for-cul... http://www.beggarscanbechoosers.com/2008/02/wikipe... http://lawnorder.blogspot.com/2006/01/senator-staf... http://corporate.britannica.com/britannica_nature_... http://www.businessinsider.com/wikipedia-marketing... http://www.cbsnews.com/stories/2007/01/24/tech/mai... http://www.cbsnews.com/stories/2008/07/08/opinion/...