ประวัติ ของ คณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้

ค.ศ. 2012

ในการกล่าวสุนทรพจน์เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 หนึ่งวันหลังจากที่ขยายคณะผู้แทน ฮิลเด เอฟ. จอห์นสัน ได้กล่าวในจูบาเกี่ยวกับความก้าวหน้าของคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้[5] จอห์นสันได้กล่าวถึงการคุ้มครองคณะผู้แทนของพลเรือนและการจัดทำเอกสารรวมถึงการตรวจสอบเหตุการณ์ เขายังกล่าวถึงการโจมตีชาวนูเออร์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 ที่รัฐจงเลย โดยปฏิบัติการของคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ ต่อการปรับใช้กองกำลังรักษาสันติภาพและแจ้งเตือนรัฐบาลซูดานใต้ อันส่งผลให้ "พลเรือนนับพันชีวิต [กำลัง] ได้รับการช่วยเหลือแล้ว" ตลอดจนความคืบหน้าในด้านต่าง ๆ เช่น การควบคุมดูแล, ความเทียงธรรม และระบอบประชาธิปไตย[5]

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012 เฮลิคอปเตอร์พลเรือนของคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ได้ถูกยิงตกในรัฐจงเลย มีผู้เสียชีวิตทั้งหมดห้าคน ซึ่งนับรวมลูกเรือชาวรัสเซียสี่คนบนเฮลิคอปเตอร์ที่ถูกฆ่าตาย[19]

ค.ศ. 2013

เมื่อวันที่ 9 เมษายน กองกำลังคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ชาวอินเดียห้าคนและพนักงานพลเรือนสหประชาชาติเจ็ดคน (เจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติสองคนและผู้รับเหมาอีกห้าคน) ได้ถูกสังหารจากการซุ่มโจมตีของกบฏ[20] ที่รัฐจงเลยในขณะที่กำลังคุ้มกันขบวนสหประชาชาติระหว่างพีบอร์และบอร์[21] ผู้ปฏิบัติงานสหประชาชาติอีกเก้าคน ทั้งทหารและพลเรือน ได้รับบาดเจ็บและบางส่วนยังคงสูญหายไป[22] พลเรือนสี่รายที่ถูกสังหารเป็นผู้รับเหมาชาวเคนยาที่ทำงานเจาะหลุมเจาะน้ำ[23] หนึ่งในทหารที่เสียชีวิตเป็นทหารยศพันโท และหนึ่งในผู้บาดเจ็บเป็นทหารยศร้อยเอก[24] ตามที่โฆษกกองทัพซูดานใต้เผย ขบวนถูกโจมตีโดยกองกำลังกบฏของเดวิด เยา เยา ที่พวกเขาเชื่อว่าได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลซูดาน[22] ฝ่ายคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้กล่าวว่าบุคคลติดอาวุธ 200 นายมีส่วนร่วมในการโจมตี และขบวนของพวกเขาได้รับการคุ้มกันโดยกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติชาวอินเดีย 32 นาย[22] ส่วนผู้โจมตีมีการติดตั้งระเบิดซึ่งขับเคลื่อนด้วยจรวด[23]

โฆษกของสหประชาชาติกล่าวว่าการต่อต้านอย่างรุนแรงจากกองกำลังรักษาสันติภาพของอินเดียทำให้กลุ่มกบฏถอนกำลังและช่วยชีวิตพลเรือนได้เป็นจำนวนมาก[22] เลขาธิการสหประชาชาติ พัน กี-มุน เรียกว่าการฆ่าเป็นอาชญากรรมสงคราม และเรียกร้องให้นำผู้กระทำผิดมาสู่กระบวนการยุติธรรม[25] ส่วนผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติ แอนโทนี แบนบิวรี ยกย่องความกล้าหาญของทหารอินเดีย[26] และนายกรัฐมนตรีอินเดีย มันโมหัน สิงห์ ได้จ่ายเงินบรรณาการของเขาให้แก่ "ทหารผู้กล้าหาญ"[27] กำลังพลของกองทัพบกอินเดียประมาณ 2,200 นายได้รับการเคลื่อนกำลังพลสู่ประเทศซูดานใต้ ในฐานะส่วนหนึ่งของคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้[28]

ความพยายามรัฐประหาร

การต่อสู้ที่แผ่ขยายเป็นผลมาจากความพยายามรัฐประหารในประเทศซูดานใต้ ค.ศ. 2013 ที่นำมาสู่การเสียชีวิตของผู้รักษาสันติภาพของอินเดียสองราย ขณะที่ทหารอีกคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บที่อาโคโบ รัฐจงเลย ในวันที่ 19 ธันวาคม[29] ส่วนวันที่ 24 ธันวาคม คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้ลงคะแนนให้มีกองกำลังเกือบสองเท่าของที่มีอยู่จำนวน 7,600 นายในคณะผู้แทนนี้ ร่วมกับกองกำลังอีกประมาณ 6,000 นายที่จะมีการเพิ่ม[30]

เลขาธิการสหประชาชาติได้แสดงความกังวลเป็นอย่างยิ่ง ถึงกรณีที่พนักงานขององค์การสหประชาชาติถูกคุกคามจากบอดีการ์ดติดอาวุธของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศอาวุโส ที่ต้องการเข้าสู่ค่ายคณะผู้แทนของสหประชาชาติซึ่งพลเรือนใช้เป็นที่หลบภัย[31] หลังจากเหตุการณ์นี้ ประธานาธิบดี ซัลวา กีร์ กล่าวหาว่าสหประชาชาติปกป้องกองกำลังฝ่ายค้านติดอาวุธในคณะผู้แทนของสหประชาชาติ ซึ่งสหประชาชาติได้ปฏิเสธ ซัลวา กีร์ ยังกล่าวหาอีกว่าองค์การสหประชาชาติพยายามเข้าควบคุมตำแหน่งผู้นำของเขา[32][33]

ค.ศ. 2014

ในวันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน ค.ศ. 2014 มีผู้เสียชีวิต 58 รายและบาดเจ็บอย่างน้อย 100 คนเมื่อกลุ่มติดอาวุธบุกเข้าโจมตีฐานทัพสหประชาชาติในเมืองบอร์[34][35][36] ผู้คนจำนวนมากที่แกล้งทำเป็นว่าพวกเขากำลังเยี่ยมชมฐานเพื่อนำเสนอความสงบสุขได้เปิดฉากยิงใส่พลเรือนจำนวน 5,000 คนที่พักพิงในฐานทัพสหประชาชาติ[37] ในบรรดาผู้เสียชีวิต 48 คนเป็นพลเรือนในขณะที่ 10 คนเป็นผู้โจมตี ความรุนแรงสะท้อนให้เห็นถึงความตึงเครียดระหว่างชนเผ่าดินคา และนูเออร์[36] โดยก่อนการโจมตี ฝูงชนท้องถิ่นดินคา ได้เรียกร้องให้ผู้ลี้ภัยชาวนูเออร์จำนวนนับพันในค่ายพักแรมย้ายไปที่อื่น[36]

เลขาธิการสหประชาชาติ พัน กี-มุน กล่าวย้ำว่าการโจมตีกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเป็น "อาชญากรรมสงคราม"[34] ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้แสดงความคิดต่อการโจมตีว่าเป็น "การกระทำที่โหดเหี้ยม" โดยกล่าวว่า:[38][39]

สมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแสดงความไม่พอใจในการโจมตีครั้งล่าสุดโดยกลุ่มติดอาวุธในซูดานใต้ ที่กำหนดเป้าหมายไปที่พลเรือนอย่างจงใจเช่นเดียวกับที่ตั้งคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ (UNMISS) รวมทั้งบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวันที่ 17 เมษายนที่โจมตีประสมคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ ที่เมืองบอร์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมถึงผู้ที่แสวงหาที่พักพิงและการคุ้มครองของสหประชาชาติ และการโจมตีเมื่อวันที่ 14 เมษายนในเมืองเบนติวกับรัฐยูนิตีสเตต

สมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงประณามการกระทำเหล่านี้อย่างรุนแรง และเน้นย้ำว่าการโจมตีพลเรือนรวมถึงเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติอาจเป็นอาชญากรรมสงคราม

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014 ประเทศเวียดนามได้เข้าร่วมคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ ในฐานะคณะผู้แทนรักษาสันติภาพเป็นครั้งแรก โดยการส่งเจ้าหน้าที่จากกองทัพประชาชนเวียดนาม[40]

ค.ศ. 2015

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของคณะผู้แทนในการรายงานเรื่องสิทธิมนุษยชน คณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ได้เผยแพร่รายงานเมื่อกลาง ค.ศ. 2015 ในข้อกล่าวหาเรื่องความรุนแรงโดยกองทัพปลดแอกประชาชนซูดาน (SPLA) และกลุ่มติดอาวุธที่เกี่ยวข้องในรัฐยูนิตีสเตต รายงานดังกล่าวอ้างถึงพยานในเรื่องการลักพาตัว, การข่มขืน รวมถึงผู้คนถูกฆ่าและเผาทั้งเป็นในที่อยู่อาศัย[41]

คณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ยังคงดิ้นรนเพื่อรับมือกับประชากรจำนวนมากของผู้พลัดถิ่นภายในที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 'ปฏิบัติการเพื่อพิทักษ์พลเรือน' (PoC) ใน ค.ศ. 2015 คณะผู้แทนดังกล่าวถูกกล่าวหาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2015 ของความล้มเหลวในการรักษาความปลอดภัยรอบพื้นที่ปฏิบัติการเพื่อพิทักษ์พลเรือนเบนทิว ระหว่างการขยายตัวของพื้นที่ซึ่งนำโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน[42]

ค.ศ. 2016

พัน กี-มุน ขอให้มีการสอบสวนอิสระเกี่ยวกับการเคลื่อนกำลังพล หลังจากรายงานว่าเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม กองทหารซูดานใต้อาละวาดผ่านเมืองหลวง โดยสังหารและข่มขืนพลเรือนรวมถึงเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือต่างประเทศ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากสามวันของการต่อสู้ระหว่างทหารที่ภักดีต่อประธานาธิบดี ซัลวา กีร์ กับทหารที่เข้าข้างกับอดีตรองประธานาธิบดี รีค มาชาร์ ซึ่งส่งผลให้มีพลเรือนเสียชีวิต 300 คน และจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติสองคน ภายใต้การนำโดย แปทริค กอมมาร์ท การสอบสวนพบว่ากองกำลังประสบความระส่ำระสายและการขาดภาวะผู้นำ พัน กี-มุน ร้องขอเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ว่าพลโท จอห์นสัน โมกัว คิมานี ออนดีกี ผู้บัญชาการกองทัพเคนยา จะถูกเปลี่ยนคนโดยเร็วที่สุด[43] วันรุ่งขึ้น กระทรวงการต่างประเทศเคนยากล่าวหาว่าสหประชาชาติใช้ออนดีกีเป็นแพะรับบาป และประกาศว่าจะถอนกองกำลังทั้งหมดออกจากประเทศซูดานใต้[44]

หัวหน้าคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ เอลเลน มาร์เกรธ ลอจ เสร็จคณะผู้แทนเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2016 และได้รับการแทนที่โดยเดวิด เชียเรอร์[45]

ค.ศ. 2017

เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของญี่ปุ่นออกจากประเทศซูดานใต้ โดยสิ้นสุดห้าปีของการมอบอำนาจภายใต้คณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้[46] การถอนดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 2017 ตามด้วยการถอนสองครั้งในเดือนพฤษภาคม โดยหัวหน้าคณะรัฐมนตรีซูงะปฏิเสธว่าเกิดจากปัญหาด้านความปลอดภัย[47]

การประจำการของพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลอาเบะในการส่งเสริมกฎหมายใหม่เพื่อให้เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของญี่ปุ่นสามารถแทรกแซงได้ง่าย เช่น การช่วยเหลือเพื่อนผู้รักษาสันติภาพและพลเรือนที่ทำงานภายใต้อาณัติของคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้[48][49]

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นถูกกล่าวหาว่าปกปิดสถานการณ์ด้านความปลอดภัยในจูบา[50]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2017 คณะผู้แทนนี้ได้ปิดดำเนินการสถานที่คุ้มครองพลเรือน (PoC) แห่งแรกในเมืองเมืองเมลัตหลังจากผู้พลัดถิ่นภายในประเทศขอกลับบ้านด้วยความสมัครใจ[51]

ใน ค.ศ. 2017 สหราชอาณาจักรได้เริ่มปฏิบัติการเทรนตันเทรนตัน โดยการส่งกำลังพลกว่า 300 นายเพื่อสนับสนุนคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ ได้ข้อสรุปใน ค.ศ. 2020[52]

ค.ศ. 2021

เมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2021 อังตอนียู กูแตรึช เลขาธิการสหประชาชาติได้ประกาศแต่งตั้งเฮย์ซอมเป็นผู้แทนพิเศษและหัวหน้าคณะผู้แทนคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ (UNMISS)[53]

ใกล้เคียง

คณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ คณะผู้แทนทางทูตในประเทศไทย คณะผู้แทนทางทูตของประเทศไทย คณะผู้แทนทางทูตของประเทศเกาหลีเหนือ คณะผู้แทนทางทูตในประเทศสเปน คณะผู้แทนทางทูตของประเทศมัลดีฟส์ คณะผู้แทนทางทูตของประเทศสเปน คณะผู้แทนทางทูตของประเทศอิตาลี คณะผู้แทนทางทูตของประเทศจีน คณะผู้แทนทางทูตของประเทศญี่ปุ่น

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ https://unmiss.unmissions.org/ https://www.un.org/press/en/2012/sga1381.doc.htm https://www.un.org/press/en/2010/sga1247.doc.htm https://www.un.org/press/en/2014/sga1477.doc.htm https://www.un.org/press/en/2016/sga1658.doc.htm https://www.un.org/sg/en/content/sg/personnel-appo... https://www.facebook.com/UnitedNationsMissionInSou... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:United... https://www.un.org/press/en/2019/sga1873.doc.htm https://thediplomat.com/2017/03/japan-self-defense...