ประวัติ ของ คณะรักกางเขน

ก่อตั้ง

สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 7 ให้สมณะกระทรวงการเผยแพร่ความเชื่อส่งมิชชันนารีคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ซึ่งประกอบด้วยมุขนายกชาวฝรั่งเศส 3 องค์และบาทหลวงผู้ติดตามอีกจำนวนหนึ่งไปทำการประกาศข่าวดีและตั้งสำนักมิสซังคาทอลิกต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกไกล โดยหนึ่งนั้นคือมุขนายกปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนพระสันตะปาปาประจำมิสซังโคชินไชนา

มุขนายกปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ปี ค.ศ. 1662 ที่หมู่บ้านโปรตุเกส เพื่อรอเวลาเดินทางไปสู่ประเทศจีนและเวียดนามตามที่ท่านได้รับมอบหมายมาในระหว่างที่พำนักรออยู่ที่อยุธยา ท่านได้รับการดลใจให้ตั้งกลุ่มผู้รักไม้กางเขนทั้งมวลคือ รักกางเขนชาย สตรีรักกางเขน และฆารวาสรักไม้กางเขน เพื่อรวมงานเผยแผ่ศาสนากับท่าน [5] จนกระทั่งปี ค.ศ. 1670 มุขนายกล็องแบร์จึงเดินทางถึงตังเกี๋ยหรือทางภาคเหนือของทางเวียดนาม และบวชกลุ่มสตรีคาทอลิกราว 30 คนตั้งเป็น "คณะรักกางเขนแห่งตังเกี๋ย" ขึ้นเป็นคณะรักกางเขนคณะแรก[6] จากนั้นในปี ค.ศ. 1671 จึงตั้ง "คณะรักกางเขนแห่งโคชินจีน" ต่อมาท่านกลับมาพำนักที่สยามและรวมกลุ่มสตรีได้ 5 คนบวชเป็นภคินี "คณะรักกางเขนแห่งสยาม" ขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1672[7]

วันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1679 สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 ทรงประกาศรับรองสถานะของคณะรักกางเขนทุกคณะที่มุขนายกหรืออุปมุขนายกได้ตั้งขึ้นในทวีปเอเชีย แม้มุขนายกล็องแบร์จะถึงแก่กรรมลงในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน แต่บาทหลวงคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสยังคงสืบสานเจตนารมณ์ของท่านโดยการตั้งอารามนักบวชหญิงคณะรักกางเขนขึ้นตามที่ต่าง ๆ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2011 มีคณะรักกางเขนอยู่ถึง 24 คณะในประเทศเวียดนาม[8] 3 คณะในประเทศไทย และ 1 คณะในประเทศลาว

จันทบุรี

เมื่อกรุงศรีอยุธยาทำสงครามกับพม่าและเสียกรุงครั้งที่สอง ซึ่งมีบันทึกอยู่ในพงศาวดารไทยว่า บรรดาภคิณีรักกางเขนที่อยุธยาได้หนีภัยสงครามในการเดินทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ไปเมืองจันทบูร ระหว่างเดินทางภคิณีรักกางเขนได้ช่วยพยาบาลทหารและชาวบ้าน รวมทั้งเด็ก ๆ ที่เจ็บป่วย และได้ช่วยดูแลพยาบาลกรมพระเทพามาตย์ หรือพระราชชนนีในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ให้ทุเลาจากความป่วยไข้ได้ ในขณะที่แพทย์หลวงไม่สามารถรักษาได้ เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบ ก็ได้เรียกภคิณีเข้าเฝ้าและพระราชทานหมากพลูให้เป็นรางวัล และคณะภคิณีรักกางเขนก็ได้เริ่มลงหลักปักฐาน ณ จันทบุรีนับแต่นั้นเป็นต้นมา

บันทึกพงศาวดารไทยอีกฉบับกล่าวว่า บ้านเมืองรวมทั้งวัดวาอารามและโรงเรียนถูกเผาไปด้วย ในขณะที่บ้านเมืองกำลังระส่ำระส่ายนั้น มีแต่อารามภคิณีคณะรักไม้กางเขนที่จันทบุรีเท่านั้นที่ดำรงอยู่ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1[9]

ปัจจุบันคณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี มีศูนย์กลางคณะรักกางเขน แห่ง จันทบุรี อยู่ที่จังหวัดจันทบุรี พื้นที่ติดกับอาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล โดยมีอารามบ้านแม่ชื่อ อารามแม่พระฟาติมา มีสมาชิกภคิณีในคณะอยู่ทั้งหมด 124 ท่าน[10] โดยมีคุณแม่เทเราซา อุบล ผังรักษ์ เป็นมหาธิการิณีประจำคณะรักกางเขน แห่ง จัทบุรี แห่งนี้

ใกล้เคียง

คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 62 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 59 คณะรัฐมนตรีไทย คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 60 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 56 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 54 คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 61 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย