ประวัติ ของ คณะสาธารณสุขศาสตร์_มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เริ่มก่อตั้งจากโครงการหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ ในคณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ในช่วงปี พ.ศ. 2540 - 2543 เพื่อพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพในระบบบริการสาธารณสุข หลังจากนั้นก็ได้ปรับปรุงและพัฒนาระบบการศึกษา อาคารสถานที่ บุคคลากร การวิจัย และพัฒนาหลักสูตรเพิ่มขึ้นอีก 6 หลักสูตร (ปริญญาตรี 4, ปริญญาโท 1, และปริญญาเอก 1 หลักสูตร) ในช่วงปี พ.ศ. 2544 - 2556 [1]:6-11

ในที่นี้ คำว่า คณะ หมายถึง คณะสาธารณสุขศาสตร์, คำว่า มหาวิทยาลัย หมายถึง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คำว่า สภามหาวิทยาลัย หมายถึง สภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โครงการหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ (ปี พ.ศ. 2540 - 2542)

มหาวิทยาลัยได้จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) โดยมีโครงการใหม่เป็นแผนงานพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ และเมื่อปี พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยได้พัฒนาโครงการความร่วมมือจัดการศึกษาแบบบูรณาการหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนในระบบบริการสาธารณสุขระดับชุมชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข (วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น) มีการยกร่างหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ขึ้น

ปี พ.ศ. 2541 โครงการหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ เปิดรับสมัครนิสิตเข้าศึกษาในหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ส.บ.) ต่อเนื่อง 2 ปี ซึ่งได้เปลี่ยนเป็น สาขาสาธารณสุขศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2542

คณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ปี พ.ศ. 2543 - เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546)

ปี พ.ศ. 2543 มีการดำเนินการยกร่างหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)

ปี พ.ศ. 2545 ได้จัดการศึกษาที่วิทยาเขตสารสนเทศนครพนม จังหวัดนครพนม โปรแกรมภาคพิเศษ (เสาร์–อาทิตย์) และเปิดรับนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต รุ่นแรก รูปแบบโปรแกรมชุดวิชา (Module System)[lower-alpha 3] ภายในวิทยาเขตหลัก

ปี พ.ศ. 2546 มหาวิทยาลัยมีความร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา ในโครงการ ความร่วมมือจัดการศึกษาแบบบูรณาการด้านสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพในระบบบริการสาธารณสุข มีนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี) โปรแกรมภาคพิเศษ (เสาร์–อาทิตย์) รุ่นแรก และหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต โปรแกรมภาคพิเศษ รุ่นแรก

คณะสาธารณสุขศาสตร์ ( 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา)

ในปี พ.ศ. 2546 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ (อังกฤษ: Faculty of Public Health) [lower-alpha 4] และประกาศใช้ “ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วย คณะสาธารณสุขศาสตร์[lower-alpha 5]

มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้ง ศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ รักษาการตำแหน่งคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2546 และได้รับการแต่งตั้งเป็นคณบดีคนแรกของคณะตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2546 [lower-alpha 6]

ปี พ.ศ. 2547 คณะได้ขยายศูนย์การศึกษาเพิ่มอีก 2 แห่ง มีการเรียนการสอนในศูนย์การศึกษารวม 5 แห่ง ได้แก่

  • ศูนย์การศึกษา มหาสารคาม
  • ศูนย์การศึกษา นครราชสีมา

  • วิทยาเขตสารสนเทศนครพนม (2545)
  • ศูนย์พัฒนาการศึกษา อุดรธานี (2547)

  • ศูนย์การศึกษา ยโสธร (2547)

คณะได้จัดทำหลักสูตรการศึกษาใหม่อีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (นานาชาติ) และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาโภชนาการและการจัดการความปลอดภัยในอาหาร) จนในปี พ.ศ. 2548 จึงเปิดรับนิสิตสาธารณสุขศาสตร์ ระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง 2 ปี) และระดับบัณฑิตศึกษา โดยจัดการเรียนการสอนที่ศูนย์การศึกษารวม 8 แห่ง

  • ศูนย์การศึกษา มหาสารคาม
  • ศูนย์การศึกษา นครราชสีมา

  • วิทยาเขตสารสนเทศนครพนม (2545)
  • ศูนย์พัฒนาการศึกษา อุดรธานี (2547)

  • ศูนย์การศึกษา ยโสธร (2547)
  • ศูนย์การศึกษา สุรินทร์ (2548)
  • ศูนย์การศึกษา ศรีสะเกษ (2548)
  • ศูนย์การศึกษา สระบุรี (2548)

ปี พ.ศ. 2549 เป็นปีแรกที่คณะได้เปิดรับนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต และ วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาโภชนาการและความปลอดภัยในอาหาร) 4 ปี ระบบปกติและระบบพิเศษ และคณะยังได้เปิดรับนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (เสาร์ – อาทิตย์) ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 ที่ศูนย์การศึกษาจังหวัดสระบุรี

ปี พ.ศ. 2551 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย) [lower-alpha 7]

คณะได้เปิดรับนิสิตเพิ่มอีก 2 แห่ง คือ ศูนย์การศึกษาจังหวัดสุพรรณบุรี และศูนย์การศึกษาจังหวัดหนองคาย โดยได้ดำเนินการเปิดการสอนนิสิตระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร (2 สาขาวิชา 3 กลุ่มวิชาหลัก) และระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร

ปี พ.ศ. 2555 คณะเปิดหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ภาษาไทย) และเปิดรับนิสิตรุ่นแรกในปีการศึกษา 2555 และได้ทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ โดยเน้นกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น University of Community Health, Magway, สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ [2] และ University of Public Health สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และสถาบันในประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา เป็นต้น และมีการทบทวนการจัดการเรียนการสอนนอกที่ตั้งเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน

ปี พ.ศ. 2556 คณะได้ย้ายอาคารทำการมาที่อาคารใหม่ อาคารคณะสาธารณสุขศาสตร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 คณะเปิดรับนิสิตระดับปริญญาตรี 3 หลักสูตร ปริญญาโท 1 หลักสูตร และปริญญาเอก 1 หลักสูตร ที่วิทยาเขตหลักและศูนย์การศึกษานอกวิทยาเขตหลัก 3 แห่ง คือ ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี อุบลราชธานี และนครราชสีมา [1]:11

หลักสูตรปริญาตรี
  • สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
  • วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาโภชนาการและความปลอดภัยในอาหาร)
  • วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาโภชนศาสตร์ การกำหนดอาหาร และอาหารปลอดภัย)
  • วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม)

  • วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย)

หลักสูตรปริญาโท

  • สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)

หลักสูตรปริญาเอก

  • สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต


เชิงอรรถ
  1. สภามหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 6/2546 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2546
  2. มหาวิทยาลัยให้ ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2546
  3. รูปแบบโปรแกรมชุดวิชา (Module System) เป็นการจัดการเรียนการสอนเป็นคราว ๆ คราวละหนึ่งรายวิชา หรือหลายรายวิชา ซึ่งอาจจัดเป็นชุดของรายวิชาที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กัน
  4. สภามหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดตั้งคณะสาธารณสุขศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 6/2546 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2546
  5. มหาวิทยาลัยให้ ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2546
  6. ศาสตราจารย์ ดร.สมจิตต์ สุพรรณทัสน์ ได้ดำรงตำแหน่งคณบดี 2 วาระต่อเนื่อง คือ 19 ธันวาคม 2546 - 18 ธันวาคม 2550 และ 19 ธันวาคม 2550 – 18 ธันวาคม 2554
  7. ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2551 โดยประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย) คนแรก คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระศักดิ์ สืบเสาะ และหลักสูตรนี้ได้มีการปรับปรุงในปี พ.ศ. 2556 ปรับปรุงชื่อสาขาวิชาเป็น สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม

ใกล้เคียง

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะสามผู้นำที่หนึ่ง

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะสาธารณสุขศาสตร์_มหาวิทยาลัยมหาสารคาม http://www.meeting.msu.ac.th/meeting_2556/file/doc... http://www.meeting.msu.ac.th/meetingmsu/index.php?... http://www.meeting.msu.ac.th/meetingmsu/index.php?... http://www.meeting.msu.ac.th/meetingmsu/index.php?... http://www.meeting.msu.ac.th/meetingmsu/index.php?... http://publichealth.msu.ac.th/ http://publichealth.msu.ac.th/th/?p=5314 http://publichealth.msu.ac.th/th/?page_id=18 http://publichealth.msu.ac.th/th/?page_id=415 http://www.publichealth.msu.ac.th/th/wp-content/up...