บทบาทในสังคม ของ คณะเภสัชศาสตร์_จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปีการศึกษาตรีโทเอกรวม
สถิติจำนวนบัณฑิต
2552184569249
25541414414199
25551794412235
สถิติจำนวนนิสิต
2555856128761,060
2556823130721,025

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาแล้วทั้งสิ้น 7,760 คน (ข้อมูลเดือนมกราคม พ.ศ. 2555)[61][62][63][64] นิสิต นิสิตเก่า และคณาจารย์ของคณะมีส่วนสำคัญในการผลักดันวิชาชีพเภสัชกรรมให้เป็นที่ยอมรับในสังคม ตั้งแต่การผลักดันพระราชบัญญัติควบคุมการขายยา พ.ศ. 2479 โดยเภสัชกร ร้อยเอกหวาน หล่อพินิจ ซึ่งกำหนดให้ควบคุมการปรุงยา การจ่ายยา และการผลิตยาโดยเภสัชกร[65] การจัดตั้งเภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์โดยพระมนตรีพจนกิจ (หม่อมราชวงศ์ชาย ชุมแสง) อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ ร่วมกับเภสัชกรท่านอื่นๆ อีก 64 คน[66] ซึ่งมีส่วนในการผลักดันพระราชบัญญัติยาให้เกิดขึ้นในสังคมไทยเมื่อปี พ.ศ. 2510 ตลอดจนการผลักดันพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม ในปี พ.ศ. 2537[67] นอกจากนี้คณาจารย์ของคณะเภสัชศาสตร์ได้สร้างแผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) เพื่อเป็นหน่วยสนับสนุนการพัฒนาระบบยาในประเทศไทยและมีผลงานร่วมกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ ในการผลักดันร่างพระราชบัญญัติยาฉบับประชาชน[68] แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนในด้านยาและวัตถุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เพื่อกระตุ้นเตือนประชาชน รวมถึงมีส่วนร่วมในการผลักดันธรรมนูญสุขภาพขึ้นในสังคมไทย[69] และยังมีส่วนร่วมในการจัดตั้งมูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม (มภส) เพื่อพัฒนาวิชาชีพและการศึกษาเภสัชศาสตร์ในสังคมไทย รวมถึงการมอบรางวัลให้กับเภสัชกรที่ทำประโยชน์แก่สังคม[70] นอกจากนี้สโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังเข้าร่วมกับนิสิต-นักศึกษาในคณะเภสัชศาสตร์และสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดย ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการรวมกลุ่มของนิสิตนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์เพื่อทำกิจกรรมวิชาชีพในสามมหาวิทยาลัยคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งเน้นการทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ภาคประชาชน ต่อมา ในปี พ.ศ. 2529 สโมสรฯเป็นภาคีสมาชิกในการก่อตั้ง “สโมสรนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย” โดยมี เภสัชกร รองศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย สุขเศวต นิสิตคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้น เป็นนายกสโมสรคนแรก ต่อมาได้มีสโมสรนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มเติม และเปลี่ยนชื่อเป็น สหพันธ์นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (สนภท.) ปัจจุบันมีสมาชิกครอบคลุมคณะเภสัชศาสตร์และสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ทั้งหมดที่จัดการเรียนการสอนในประเทศไทย[71]

คณะเภสัชศาสตร์ให้บริการความรู้ทางเภสัชกรรมเบื้องต้นแก่ประชาชน ผ่านเครือข่ายเภสัชสนเทศ สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชนของคณะ หรือโอสถศาลา[72] และวารสาร ไทยเภสัชสาร นอกจากนี้ยังร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในการจัดการประชุมวิชาการเพื่อส่งเสริมความรู้ของเภสัชกรและบุคลากรสาธารณสุขโดยการจัดตั้งหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง[73] อาทิ ความร่วมมือกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) สมาคมเภสัชกรรมชุมชน เป็นต้น คณะเภสัชศาสตร์จัดตั้งศูนย์บริการเทคโนโลยีเภสัชอุตสาหกรรมซึ่งได้รับทุนร่วมสนับสนุนจากองค์กรพัฒนาอุตสาหกรรมขององค์การสหประชาชาติ (UNIDO) จัดปฏิบัติการทดสอบชีวสมมูลของยา การทดสอบทางพิษวิทยาคลินิก การวิเคราะห์ยาโดยได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025[74] และยังมีแผนจัดตั้งศูนย์บริการทดสอบด้านสมุนไพรในอนาคต[21] นอกจากนี้คณะเภสัชศาสตร์ยังได้รับรางวัล นวัตกรรมแห่งประเทศไทย ในผลงานการจัดทำผลิตภัณฑ์กำไลกันยุงจากน้ำมันตะไคร้หอมด้วยระบบโพลิเบอร์เมทริกซ์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547[75]

นิสิตและนิสิตเก่าของคณะมีส่วนร่วมทางด้านการเมืองของประเทศ ในปี พ.ศ. 2505 นักศึกษาของคณะ (สังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์) ก็มีส่วนร่วมในการเดินขบวนในกรณีข้อพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร[76] รวมถึงในเหตุการณ์ 14 ตุลาซึ่งมีนักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วม อาทิ เภสัชกรหญิง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิดา ถาวรเศรษฐและจิระนันท์ พิตรปรีชา ด้านวิชาชีพคณะเภสัชศาสตร์ยังร่วมมือกับสภาเภสัชกรรมในการดำเนินการหลายอย่าง อาทิ การผลักดันให้เกิดการประชุมสมัชชาเภสัชกรรมไทย ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองเภสัชกรรมในประเทศไทยครบรอบ 100 ปี ครบถ้วนทุกสาขาของวิชาชีพ ได้แก่ เภสัชอุตสาหกรรม เภสัชกรรมการตลาด เภสัชกรรมโรงพยาบาล เภสัชกรรมชุมชน และเภสัชกรรมคุ้มครองผู้บริโภค การจัดงาน "สัปดาห์เภสัชจุฬาฯ ไม่แขวนป้าย" เพื่อร่วมรณรงค์จรรยาบรรณเภสัชกรและกระตุ้นเตือนนิสิต[77] การจัดงานสัปดาห์เภสัชกรรม เป็นต้น และจากอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 นิสิตของคณะเภสัชศาสตร์ได้ผลิตยารักษาน้ำกัดเท้าและตะไคร้หอมไล่ยุงโดยมีคณาจารย์เภสัชกรเป็นที่ปรึกษาและผู้ควบคุมการผลิต ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2554 เพื่อบริจาคแก่ผู้ประสบอุทกภัยทั้งสิ้นจำนวนประมาณ 180,000 ชุด ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจากการบริจาคของภาคประชาชนและคณะ[78] และได้รับคัดเลือกให้เป็น "โครงการดีเด่น" ประจำปีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโครงการระดับ "ดีเด่น" ในการนำระบบประกันคุณภาพไปใช้ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาประจำปี พ.ศ. 2555 อีกด้วย[79]

ใกล้เคียง

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะเภสัชศาสตร์_จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.chula-alumni.com/scripts/ViewAllPublicN... http://www.chula-alumni.com/scripts/ViewAllPublicN... http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1298154 http://www.dek-d.com/board/view.php?id=2451980 http://blog.eduzones.com/cucamp/44594 http://maps.google.com/maps?ll=13.743588,100.53145... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7435... http://www.pharm-ce-chula.com/ http://www.pharm-ce-chula.com/about.htm http://www.pharm-ce-chula.com/ce-rpp29/download/sc...