การศึกษา ของ คณะแพทยศาสตร์_มหาวิทยาลัยนเรศวร

หลักสูตรการศึกษา

ปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรต่างๆ ดังต่อไปนี้

ปริญญาตรีปริญญาโทวุฒิบัตร
แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ว.ว.)

  • สาขาอายุรศาสตร์ (โครงการร่วมระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร - คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  • สาขากุมารเวชศาสตร์ [27]
  • สาขาศัลยศาสตร์ [28]
  • สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว [29]
  • โครงการสาขาจักษุวิทยา [30]
  • โครงการสาขารังสีวิทยา [31]
  • โครงการสาขาออร์โธปิดิกส์ [32]

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีโครงการรับนิสิตแพทย์เข้าทำการศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตทั้งสิ้น 4 โครงการ โดยจัดให้นิสิตแพทย์ได้ฝึกปฏิบัติงานในชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเป็นโรงพยาบาลหลักของคณะในการจัดการเรียนการสอน และโรงพยาบาลสมทบอีก 5 แห่งตามโครงการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • โครงการรับตรงร่วมกับ กสพท. (Direct Admissions)

รับนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศร่วมกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) นิสิตแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร เมื่อจบการศึกษาแล้วจะต้องจับสลากเพื่อทำงานใช้ทุนเป็นเวลา 3 ปี โครงการนี้จะดำเนินการเปิดรับสมัครในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี

  • โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD)

รับนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพื้นที่บริการการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี โดยนิสิตแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก หรือศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ เมื่อจบการศึกษาแล้วจะต้องทำงานใช้ทุนในจังหวัดภูมิลำเนาของตนเองเป็นเวลา 3 ปี โครงการนี้จะดำเนินการเปิดรับสมัครในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี

  • โครงการแพทย์แนวใหม่ (New Tract)

โครงการนี้อยู่ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD) เช่นเดียวกัน รับเฉพาะข้าราชการหรือพนักงานของรัฐในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่สำเร็จการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ และมีประสบการณ์การทำงานทางด้านสาธารณสุขไม่น้อยกว่า 2 ปี และอายุนับถึงวันสมัครไม่เกิน 30 ปี[33] โดยนิสิตแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลแพร่ หรือศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพิจิตร เมื่อจบการศึกษาแล้วจะต้องทำงานใช้ทุนในจังหวัดภูมิลำเนาของตนเองเป็นเวลา 3 ปี โครงการนี้จะดำเนินการเปิดรับสมัครในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี

  • โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (ODOD)

รับนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีภูมิลำเนาในเขต 7 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ โดยการสอบคัดเลือกจะต้องผ่านการคัดเลือกในรอบแรกจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดก่อนแล้วจึงสามารถสอบข้อเขียนของทางมหาวิทยาลัยได้ นิสิตแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก หรือศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ โดยจะมีทุนการศึกษาและทุนค่าใช้จ่ายให้ตลอดระยะเวลาการเรียน 6 ปี เมื่อจบการศึกษาแล้วจะต้องทำงานใช้ทุนในจังหวัดภูมิลำเนาของตนเองเป็นเวลา 12 ปี โครงการนี้จะดำเนินการเปิดรับสมัครในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี

การเรียนการสอนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

การเรียนการสอนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ ระดับชั้นปรีคลินิก (ชั้นปีที่ 1 - 3) และระดับชั้นคลินิก (ชั้นปีที่ 4 - 6)[34] ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ระดับชั้นปรีคลินิก

ในระดับชั้นนี้จะเป็นการเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานก่อนที่จะนำไปใช้กับผู้ป่วยในระดับชั้นคลินิกต่อไป โดยในชั้นปีที่ 1 นิสิตแพทย์จะเรียนในรายวิชาศึกษาทั่วไปร่วมกับนิสิตคณะอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียนที่อาคารเรียนรวม 72 พรรษาบรมราชินีนาถ (ยกเว้นโครงการแพทย์แนวใหม่ (New tract) ที่ไม่ต้องเรียนในชั้นปีที่ 1[33]) ส่วนในชั้นปีที่ 2 - 3 จะเรียนในรายวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ตามระบบต่างๆ ของร่างกายโดยคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ และบูรณาการร่วมกับความรู้ในชั้นคลินิกโดยคณาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งการเรียนในชั้นปีที่ 2 - 3 นี้จะเน้นการเรียนแบบการใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน (Problem-based learning) เป็นหลัก โดยส่วนใหญ่จะเรียนที่อาคารคณะแพทยศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์

นอกจากนี้ยังมีการเรียนโดยเน้นการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งการเข้าหาผู้ป่วยเพื่อการปรับตัวสู่ความเป็นแพทย์ในรายวิชาการพัฒนาพื้นฐานวิชาชีพแพทย์ (Professional development) ซึ่งมีการเรียนตลอดทั้ง 3 ปี[34]

ระดับชั้นคลินิก

เป็นการเรียนต่อยอดจากระดับชั้นปรีคลินิกโดยเน้นการนำไปใช้กับผู้ป่วยจริง ในระดับชั้นนี้นิสิตแพทย์จะแยกกันเรียนในโรงพยาบาลต่างๆ ตามโครงการที่เข้ามาตั้งแต่แรกรับ โดยนิสิตแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทและโครงการแพทย์แนวใหม่จะแยกไปเรียนในโรงพยาบาลร่วมผลิตแพทย์ ซึ่งหลักสูตรการเรียนการสอนจะอยู่ในกำกับของคณะแพทยศาสตร์ ในส่วนของคณะแพทยศาสตร์จะจัดการเรียนการสอนที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยในชั้นปีที่ 4 - 5 จะเรียนโดยการตรวจรักษาผู้ป่วยในหอผู้ป่วยต่างๆ ร่วมกับการเรียนภาคบรรยาย และในชั้นปีที่ 6 (Extern) จะเน้นการเรียนเสมือนการทำงานจริงภายใต้การควบคุมของแพทย์ใช้ทุน (Intern) และอาจารย์แพทย์ โดยจะมีการออกฝึกในโรงพยาบาลอื่นๆ ได้แก่ โรงพยาบาลกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง โรงพยาบาลพิจิตร จังหวัดพิจิตร และโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

ก่อนจบการศึกษา นิสิตแพทย์จะต้องผ่านการสอบวัดความรู้รวบยอดภาคทฤษฎี ในชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 5 และสอบวัดผลภาคปฏิบัติในชั้นปีที่ 6 โดยเป็นการสอบเพื่อปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต (Comprehensive examination) ซึ่งจัดสอบโดยคณะแพทยศาสตร์เอง รวมทั้งการสอบเพื่อใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม (National license) ซึ่งเป็นการสอบส่วนกลาง จัดสอบโดยศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม แพทยสภา (ศรว.) ทั้งนี้เพื่อควบคุมให้บัณฑิตแพทย์มีมาตรฐานเดียวกัน

เมื่อจบการศึกษา บัณฑิตแพทย์ทุกคนจากทุกโครงการจะได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยนเรศวรเหมือนกัน ซึ่งหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยนเรศวรได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ตามมาตรฐานสากลจากสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (สมพ.) เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560[35]

ใกล้เคียง

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แหล่งที่มา

WikiPedia: คณะแพทยศาสตร์_มหาวิทยาลัยนเรศวร http://www.nudorm.com http://pimahidol.com/forum/forum_posts.asp?TID=324... http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply... http://web.archive.org/20051228201537/www.nu.ac.th... http://web.archive.org/20070512190958/www.medsci.n... http://web.archive.org/20070823083400/www.medsci.n... http://web.archive.org/20071212054603/www.budhosp.... http://web.archive.org/20080509163734/www.med.nu.a... http://www.cmathai.org/ http://www.acad.nu.ac.th/acad_admission/data/2556/...