เพลงประจำคณะ ของ คณะโบราณคดี_มหาวิทยาลัยศิลปากร

เพลงของคณะโบราณคดีนั้นถูกแต่งไว้มากกว่า 20 เพลง เพื่อใช้ในกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ เช่น การชนช้างหรือการเข้าค่ายคณะ เป็นต้น แต่เพลงที่ได้รับการยอมรับและถือเป็นเพลงประจำคณะคือเพลง "แววมยุรา" ซึ่งถูกแต่งโดย พิเศษ สังข์สุวรรณ ศิษย์เก่าคณะโบราณคดี เพลงแววมยุราถูกแต่งขึ้นในช่วงที่เรียกว่าเป็นช่วงวิกฤตของคณะก็ว่าได้ เนื่องจากในช่วง พ.ศ. 2513 มีแนวโน้มจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยศิลปากรว่าต้องการให้คณะโบราณคดีถูกยุบไปรวมกับ คณะอักษรศาสตร์ ซึ่งก็ถูกหลายฝ่ายค้านไว้ โดยเฉพาะนักศึกษาคณะโบราณคดีที่ได้ออกมาคัดค้านอย่างชัดเจน จึงเป็นที่มาของเพลงแววมยุราที่ในเพลงมีการแสดงความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่คณะโบราณคดีถูกมองข้ามและไม่ได้รับการเหลียวแลหรือเห็นค่าพิเศษ สังข์สุวรรณยังได้เปรียบเปรยดอกแววมยุราซึ่งเป็นดอกของผักตบชวา ที่แม้ผักตบชวาจะล่องลอยไปตามน้ำอย่างไร้ค่าแต่เมื่อผลิดอกสีม่วงและอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ทุกคนก็จะเห็นค่าของมัน เฉกเช่นเดียวกับชาวคณะโบราณคดีที่ในตอนนั้นไม่ได้รับความเห็นค่า แต่หากสามัคคีและช่วยกันผ่านวิกฤตไปด้วยกันก็จะเป็นดอกแววมยุราที่งดงาม และดอกแววมยุรายังมีสีม่วงเฉกเช่นเดียวกับสีคณะโบราณคดีอีกด้วย

นอกจากนี้เพลง "สวัสดีศิลปากร" ยังเป็นหนึ่งในเพลงที่ถูกแต่งโดยคณะโบราณคดี ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2538 จึงได้มีการแต่งเพลงนี้เพื่อใช้ในการหาเงินบริจาคให้ผู้ประสบภัย ภายหลังก็ได้มีการใช้เพลงนี้ในทุกกิจกรรมและใช้ร้องกันในทุกคณะของมหาวิทยาลัยศิลปากร

ใกล้เคียง

คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น