การตัดสิน ของ คดีระหว่างบริษัทมอนซานโต้แคนาดากับชไมเซอร์

วันที่ 21 พฤษภาคม 2547 ศาลสูงสุดตัดสินเห็นพ้องด้วยกับมอนซานโต้เป็นคะแนนเสียง 5-4แต่ชไมเซอร์ก็ได้ชัยชนะเป็นบางส่วนด้วย เพราะศาลตัดสินว่า เขาไม่ต้องจ่ายมอนซานโต้กำไรที่ได้จากพืชผลในปี 2541เพราะว่า ยีนที่มีอยู่ในพืชไม่ได้สร้างประโยชน์ให้แก่เขา และเขาไม่ได้กำไรเพิ่มขึ้นจากคุณสมบัติที่เป็นสิ่งประดิษฐ์แม้ว่ากำไรที่ชไมเซอร์ได้จากการเพาะปลูกจะค่อนข้างน้อย คือแค่ 19,832 ดอลลาร์แคนาดา (ประมาณ 617,370 บาทในปี 2547 เปรียบเทียบกับรายได้ประชากรเฉลี่ยต่อปีที่ 1,234,686 บาท) แต่ว่า เพราะไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย เขาจึงไม่ต้องจ่ายค่าทนายให้มอนซานโต้ ซึ่งมีมูลค่าหลายแสนดอลลาร์แคนาดา และมีค่าสูงกว่าค่าทนายของตน

เหตุผลของศาล

ฝ่ายเสียงข้างมากของศาลไม่เห็นด้วยกับข้อต่อสู้ว่า การใช้ (use) เซลล์หรือยีนจดสิทธิบัตร จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อใช้ในบริบทของตนและการที่ชไมเซอร์ไม่ได้ใช้ยาฆ่าวัชพืช Roundup ก็ไม่ได้หมายความว่า เขาไม่ได้ใช้ยีนนั้น ๆคือจริง ๆ แล้ว แม้ว่าพืชจะสืบพันธุ์ต่อไปได้โดยมนุษย์ไม่ต้องทำอะไร แต่ว่า สถานการณ์จริงในเกษตรกรรมปัจจุบันหมายความว่า มนุษย์จะทำการที่ช่วยการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้น การทำเกษตรกรรมจึงเป็นการ "ใช้" ยีนพืช

ศาลตัดสินว่า ชไมเซอร์ละเมิดสิทธิการผูกขาดผักกาดพิเศษของมอนซานโต้ โดยเก็บแล้วปลูกเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าของตนดังนั้น ชไมเซอร์จึงละเมิดมาตราที่ 42 ของกฎหมายสิทธิบัตรแคนาดาแต่ว่า ศาลไม่เห็นด้วยกับค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นปรับ เพราะว่า ไม่มีผลประโยชน์โดยตรงที่เกิดขึ้นจากการใช้พืชนั้น ๆ

ในการตัดสิน ศาลบอกอย่างชัดเจนว่า เรื่องที่ตัดสินเป็นเรื่องการละเมิดสิทธิบัตรอย่างเดียว และประเด็นอื่น ๆ เกี่ยวกับพันธุวิศวกรรมในเกษตรกรรมไม่ได้อยู่ในขอบเขตของคดี คือ

93 สิ่งประดิษฐ์ในเกษตรกรรมอาจทำให้เกิดประเด็นที่ไม่มีในเรื่องอื่น ๆ เช่นประเด็นทางจริยธรรมว่า เป็นเรื่องถูกต้องหรือไม่ที่จะเข้าไปจัดการยีนเพื่อให้ควบคุมวัชพืชได้ดีกว่า หรือให้ได้ผลิตผลมากกว่า เป็นโอกาสของรัฐสภาที่จะพิจารณาประเด็นเหล่านี้แล้วปรับปรุงกฎหมายสิทธิบัตร ถ้าพบว่า ประเด็นเหล่านี้ น่าฟัง[1]94 แต่ว่า งานของศาลก็คือ ตีความหมายและประยุกต์ใช้กฎหมายสิทธิบัตรตามที่มี ตามหลักการที่มีอยู่แล้ว (และ) ภายใต้กฎหมายปัจจุบัน สิ่งประดิษฐ์ในเรื่องเกษตรกรรมก็ควรจะให้ความคุ้มครองเท่า ๆ กับสิ่งประดิษฐ์ในเรื่องวิทยาศาตร์กลภาพ (และ) ในที่ที่รัฐสภาไม่เห็นควรที่จะแยกแยะระหว่างสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับพืชและสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ ศาลก็ไม่ควรเช่นกัน[1]

ความเห็นแย้งของศาล

เหตุผลของฝ่ายเห็นแย้งส่วนน้อยในศาล คล้ายกับที่พบในเสียงข้างมากที่เป็นฝ่ายตัดสินในคดี "วิทยาลัยฮาร์วาร์ดกับกรรมาธิการสิทธิบัตรแคนาดา [Harvard College v. Canada (Commissioner of Patents)]" ที่สรุปว่า แม้ว่าบริษัทจะสามารถจดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์และกระบวนการ แต่ก็ไม่สามารถจดสิทธิบัตรสิ่งมีชีวิตระดับสูงเช่นพืชทั้งต้นคือ "สิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเซลล์พืช ไม่สามารถขยายผ่านจุดที่เซลล์แปรพันธุกรรมเริ่มเพิ่มจำนวนแล้วจำแนกออกเป็นเนื้อเยื่อพืชส่วนต่าง ๆ ซึ่ง ณ จุดนี้จะกลายเป็นข้อเรียกร้องกับทุก ๆ เซลล์ในพืช"[1]:ย่อหน้า 138ซึ่งเป็นการขยายสิทธิบัตรออกมากเกินไป นอกจากนั้นแล้ว สิทธิบัตรควรจะจำกัดอยู่ที่พืชต้นพันธุ์เท่านั้น และไม่ควรขยายไปถึงลูกหลาน

ใกล้เคียง

คดีระหว่างนายทะเบียนพรรคการเมือง กับพรรคประชาธิปัตย์ (2553) คดีระหว่างบริษัทมอนซานโต้แคนาดากับชไมเซอร์ คดีระหว่างพนักงานอัยการ กับพิมล กาฬสีห์ และนภาพันธ์ กาฬสีห์ คดีระหว่างล็อกเคบินรีพับลิกันส์ กับสหรัฐ คดีระบายข้าวจีทูจี คดีระหว่างบราวน์กับคณะกรรมการการศึกษา คดีระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดชลบุรีกับณัชกฤช จึงรุ่งฤทธิ์ คดีระหว่างบริษัทแอปเปิลกับบริษัทซัมซุงอิเล็คทรอนิกส์ จำกัด คดีระหว่างบริษัท 303 ครีเอทีฟ จำกัดกับเอเลนิส คดีระหว่างรัฐมินนิโซตากับชอวิน

แหล่งที่มา

WikiPedia: คดีระหว่างบริษัทมอนซานโต้แคนาดากับชไมเซอร์ http://www.cbc.ca/news2/background/genetics_modifi... http://decisions.fca-caf.gc.ca/en/2002/2002fca309/... http://decisions.fct-cf.gc.ca/en/2001/2001fct256/2... http://www.scc-csc.ca/case-dossier/info/dock-regi-... http://whybiotech.ca/html/Canada3-12-6-02.HTM http://s3.amazonaws.com/files.posterous.com/temp-2... http://www.biotechknowledge.com/biotech/bbasics.ns... http://www.cropchoice.com/leadstry148e.html?recid=... http://www.ens-newswire.com/ens/jun2000/2000-06-19... http://books.google.com/books?id=zj9tfUPKgeMC&dq