ลักษณะทั่วไป ของ คนเก็บของป่าล่าสัตว์

ชายชาวแซนจากประเทศนามิเบีย คนแซนปัจจุบันยังใช้ชีวิตแบบคนเก็บของป่าล่าสัตว์อยู่

ที่อยู่และประชากร

คนเก็บของป่าล่าสัตว์โดยมากเป็นชนร่อนเร่หรือกึ่งร่อนเร่ และจะอยู่ในที่อยู่ชั่วคราวชุมชนที่ย้ายไปเรื่อย ๆ มักจะสร้างที่อยู่โดยใช้วัสดุที่ไม่ถาวร หรืออาจจะใช้ที่กำบังตามธรรมชาติที่มีอยู่แต่ก็มีวัฒนธรรมคนเก็บของป่าล่าสัตว์บางแห่ง เช่นที่พบในคนพื้นเมืองเดิมของชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐ (Pacific Northwest) ที่อยู่ในเขตอุดมสมบูรณ์จนกระทั่งว่าสามารถอยู่กับที่หรือกึ่งอยู่กับที่ได้

โครงสร้างสังคมและเศรษฐกิจ

คนเก็บของป่าล่าสัตว์มักจะมีสังคมที่สมาชิกมีฐานะเท่าเทียมกัน แม้ว่า กลุ่มที่อยู่เป็นที่ (เช่นที่ชายฝั่งแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐ) จะเป็นข้อยกเว้นกลุ่มในแอฟริกาเกือบทั้งหมดมีฐานะเท่าเทียมกัน แม้แต่หญิงก็ยังมีอิทธิพลและมีอำนาจพอ ๆ กับชาย[10]

แม้ว่าความเท่าเทียมกันที่พบในกลุ่มคนเก็บของป่าล่าสัตว์จะไม่สมบูรณ์ แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าแปลกใจจากมุมมองทางวิวัฒนาการสัตว์ที่เป็นญาติใกล้ชิดที่สุดของมนุษย์ในกลุ่มลิงใหญ่ คือลิงชิมแปนซี เป็นสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยแบ่งสังคมเป็นชั้น ๆ ที่มีลิงตัวผู้เป็นหัวหน้า (คือลิงอัลฟา)ซึ่งต่างจากกลุ่มมนุษย์คนเก็บของป่าล่าสัตว์มากจนกระทั่งมีนักบรรพมานุษยวิทยาที่อ้างว่า การไม่ยอมใครเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนวิวัฒนาการทางพิชาน ภาษา ระบบญาติพี่น้อง และการจัดกลุ่มทางสังคม ในหมู่มนุษย์[11][12]-[13]นักมานุษยวิทยาดำรงว่า คนเก็บของป่าล่าสัตว์จะไม่มีผู้นำถาวร แต่ใครเป็นผู้นำจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่กำลังจะทำ[14][15][16]นอกจากจะมีความเท่าเทียมกันทางสังคมและเศรษฐกิจแล้ว บ่อยครั้งก็ยังมีความเท่าเทียมกันทางเพศด้วย แม้ว่าจะไม่เสมอไป[14]

คนเก็บของป่าล่าสัตว์บ่อยครั้งรวมกลุ่มโดยความเป็นญาติ (เป็นแบบ kinship หรือ band)[17]ชายมักจะอยู่กับครอบครัวของฝ่ายหญิงหลังจากการแต่งงาน อย่างน้อยก็ในเบื้องต้น[18]แม่อายุน้อยจะได้แม่ของตนเป็นผู้ช่วยเลี้ยงลูก โดยจะอยู่ใกล้ ๆ กัน[19]ระบบญาติและการสืบตระกูลในกลุ่มคนเก็บของป่าล่าสัตว์มีความแตกต่างกัน แม้ว่าจะมีหลักฐานว่า มนุษย์ยุคต้น ๆ มักจะสืบตระกูลทางสายมารดา[20]

โครงสร้างทางสังคมและการแบ่งงานทางเพศของคนเก็บของป่าล่าสัตว์ไม่เหมือนกับสังคมเกษตรในสังคมนี้ หญิงเป็นผู้เก็บพืชผล และชายมุ่งล่าสัตว์ใหญ่โดยมากแต่นี่ไม่ปรากฏว่าเป็นการกดขี่ผู้หญิง โดยให้อำนาจเพียงแค่เป็นแม่บ้านคือ ตามผู้ที่ได้สังเกตปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศในสังคมเช่นนี้ หญิงจะไม่เข้าใจแนวคิดว่าตนถูกกดขี่เพราะทำงานไม่เหมือนชายเพราะว่า การเลี้ยงดูเด็กเป็นงานส่วนรวม ที่ทารกทุกคนจะมีแม่และชายที่ช่วยดูแลหลายคน ดังนั้น หน้าที่ในบ้านจึงไม่ได้ทำอย่างจำกัด[ต้องการอ้างอิง]ในสังคมเช่นนี้ทุกแห่ง หญิงล้วนแต่ยินดีที่จะได้เนื้อที่ชายหามาให้ดังที่กล่าวไว้อย่างละเอียดในหนังสือเกี่ยวกับคนเผ่า Ju|'hoan ในแอฟริกาใต้[21]

นอกจากนั้นแล้ว งานโบราณคดีเมื่อราว ค.ศ. 2006 แสดงนัยว่า การแบ่งงานทางเพศเช่นนี้เป็นนวัตกรรมการจัดระเบียบสังคมขั้นพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์พันธุ์ Homo sapiens ได้เปรียบมนุษย์พันธุ์ Neanderthal ทำให้บรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบันสามารถอพยพไปจากแอฟริกาแล้วกระจายไปทั่วโลก[22]จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ สังคมคนเก็บของป่าล่าสัตว์โดยมากก็ยังแบ่งงานระหว่างเพศแม้จะเพียงทำเป็นแค่พิธีเท่านั้น[23]

แต่ก็ยังจริงอยู่ว่าในบางสังคม หญิงก็จะล่าสัตว์พวกเดียวกันเหมือนกับชาย และบางครั้งทำด้วยกันตัวอย่างที่รู้จักกันดีที่สุดก็คือชนเผ่าไอตา (Aeta) ในประเทศฟิลิปปินส์คือ ตามงานศึกษาหนึ่ง "ประมาณร้อยละ 85 ของหญิงไอตาในฟิลิปปินส์ล่าสัตว์ เป็นการล่าสัตว์พวกเดียวกันเหมือนกับชายด้วยโดยล่าเป็นกลุ่มมีสุนัขช่วย และประสบความสำเร็จในอัตราร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับชายที่ร้อยละ 17อัตราความสำเร็จจะสูงขึ้นถ้าร่วมมือกับชาย กลุ่มล่าสัตว์รวมเพศมีอัตราความสำเร็จที่ร้อยละ 41 ในบรรดาชนไอตา"[15]ส่วนคนเผ่า Ju|'hoansi ในประเทศนามิเบีย หญิงจะช่วยชายสะกดรอยสัตว์[24]ส่วนหญิงเผ่า Martu ในประเทศออสเตรเลียล่าสัตว์เล็ก ๆ เช่นกิ้งก่า เป็นหลักเพื่อเลี้ยงลูกและเพื่อธำรงความสัมพันธ์กับหญิงอื่น ๆ[25]

ภาพลายแกะคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของค่ายพักคนพื้นเมืองออสเตรเลีย

ในงานประชุม ค.ศ. 1966 นักมานุษยวิทยาทรงอิทธิพลชาวอเมริกันและแคนาดาคู่หนึ่ง (Richard Borshay Lee และ Irven DeVore) เสนอว่า สมภาคนิยม (egalitarianism) เป็นลักษณะหลักอย่างหนึ่งของสังคมคนเก็บของป่าล่าสัตว์ที่อยู่ไม่ประจำที่ เพราะว่า การเคลื่อนย้ายบังคับให้มีวัตถุสิ่งของน้อยที่สุดในทั้งชุมชนดังนั้น จึงไม่มีใครมีสมบัติมากกว่าคนอื่น ๆลักษณะอย่างอื่นที่นักวิชาการคู่นี้เสนอก็คือ อาณาเขตและความต่าง ๆ กันทางประชากรของเผ่า (demographic composition) ที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ

ในงานประชุมเดียวกัน นักโบราณคดีผู้หนึ่งเสนอประเด็นเรื่อง "สังคมที่มั่งมีดั้งเดิม" (original affluent society) ที่เขาคัดค้านทัศนคตินิยมว่า คนเก็บของป่าล่าสัตว์ใช้ชีวิตอย่าง "โดดเดี่ยว ยากจน ยากลำบาก โหดร้ายทารุณ และมีชีวิตสั้น" ดังที่โทมัส ฮอบส์ได้เสนอใน ค.ศ. 1651ตามนักวิชาการท่านนี้ หลักฐานทางชาติพันธุ์วรรณนาแสดงว่า คนเก็บของป่าล่าสัตว์ทำงานน้อยกว่า และมีเวลาว่างมากกว่าสมาชิกในสังคมอุตสาหกรรม ทั้ง ๆ ที่ก็กินดีด้วยส่วนคำว่า "มั่งมี" มาจากไอเดียว่า คนเหล่านั้นพอใจในวัตถุสิ่งของน้อยนิดที่ตนมี[26]ต่อมาใน ค.ศ. 1996 นักวิชาการอีกท่านหนึ่งทำงานวิเคราะห์อภิมาน 2 งานเพื่อพิสูจน์แนวคิดนี้งานแรกตรวจสอบงานศึกษาเกี่ยวกับการใช้เวลาของสังคมชนิดนี้ และงานที่สองวิเคราะห์การใช้แรงงานของสังคมแล้วพบว่า ผู้ใหญ่ในสังคมที่เที่ยวหาอาหารและปลูกพืชสวนทำงานโดยเฉลี่ยประมาณ 6.5 ชั่วโมงต่อวัน ในขณะที่คนในสังคมเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมทำงานโดยเฉลี่ย 8.8 ชั่วโมงต่อวัน[27]และงานวิจัย ค.ศ. 2007 ก็แสดงด้วยว่า อายุขัยโดยเฉลี่ยของคนกลุ่มนี้สูงกว่าที่คาดไว้[28]

การแลกเปลี่ยนและแบ่งสิ่งที่หาได้ (เช่นเนื้อจากการล่าสัตว์เป็นต้น) เป็นระบบเศรษฐกิจที่สำคัญของสังคมเช่นนี้[17]

ใกล้เคียง

คนเก็บของป่าล่าสัตว์ คนเก็บฟืน (คัมภีร์ไบเบิล) คนเก่งทะลุโลก คนเล็กหมัดเทวดา คนเล็กของเล่นใหญ่ คนเกมทะลุเกม คนเก่งฟ้าประทาน คนเล็กนักเรียนโต 3 คนเกี่ยวข้าว (เบรอเคิลผู้พ่อ) คนเกาหลี

แหล่งที่มา

WikiPedia: คนเก็บของป่าล่าสัตว์ http://news.nationalgeographic.com/news/2006/12/06... http://www.physorg.com/news169474130.html http://www.sciencedaily.com/releases/2001/10/01102... http://www.suluarchipelago.com/E20Website2002/defa... http://www.themontrealreview.com/2009/A-cooperativ... http://foragers.wikidot.com/start http://www.academia.edu/416145/The_causes_and_scop... http://www.anthro.fsu.edu/people/faculty/marlowe_p... http://muse.jhu.edu/journals/asi/summary/v046/46.2... http://www.anth.ucsb.edu/faculty/gurven/papers/Gur...