ควากษะ
ควากษะ

ควากษะ

ในสถาปัตยกรรมอินเดีย ควากษะ หรือ จันทรศาลา (ในอินเดียเหนือ) และ กูฑุ หรือ นาสี (ในอินเดียใต้)[1] เป็นคำที่ทั่วไปใช้เรียกโครงสร้างแม่บทที่เน้นส่วนโค้งโอจี ส่วนโค้งครึ่งวงกลม หรือส่วนโค้งรูปเกือกม้าที่ใช้ประดับโครงสร้างของมนเทียรแบบอินเดีย โดยเฉพาะในมนเทียรเจาะหิน ในรูปแบบดั้งเดิม ควากษะมีรูปคล้ายกับภาพตัดขวางของโครงสร้างทรงโค้งประทุน เมื่อใช้ประดับโถงเจดีย์รอบหน้าต่างบานใหญ่อาจเรียกว่าเป็นโครงสร้างโค้งเจดีย์ (chaitya arch)[2] ในภายหลังได้มีวิวัฒนาการและใช้งานโดยแพร่หลาย จนได้รับการเรียกขานว่าเป็น "โครงสร้างแม่บทที่พบได้มากที่สุดในสถาปัตยกรรมมนเทียรฮินดู"[3] ควากษะ เป็นคำในภาษาสันสกฤตที่แปลว่าดวงตาของกระทิงหรือดวงตาของวัว ในเชิงสัญลักษณ์ฮินดู ควากษะมีไว้แทนแสงและความรัศมีความยิ่งใหญ่ของเทวรูปองค์ประธานในครรภคฤห์ รวมถึงอาจมองว่าเป็นหน้าต่างให้แก่เทพเจ้าภายในครรภคฤห์ได้มองออกโลกภายนอกเช่นกัน[4]