ความตกลงเพิร์ธ

ความตกลงเพิร์ธ (อังกฤษ: Perth Agreement) คือความตกลงระหว่างนายกรัฐมนตรีของสิบหกประเทศในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ ซึ่งใช้การปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแบบเวสต์มินสเตอร์ ("กลุ่มประเทศราชอาณาจักรเครือจักรภพ") และดังนั้นจึงมีพระมหากษัตริย์ร่วมกัน เอกสารความตกลงนั้นระบุว่ารัฐบาลในกลุ่มประเทศฯ จะผ่านการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์แห่งสหราชอาณาจักร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกัน โดยหลักการตามรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรเครือจักรภพนั้นใช้ร่วมกันอย่างเท่าเทียมตามธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1931 โดยผลการประชุมมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยสังเขปดังนี้ประเด็นการห้ามมิให้ผู้ที่จะขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์นับถือนิกายอื่นนอกจากโปรเตสแตนท์ และข้อกำหนดให้ผู้นั้นได้รับศีลมหาสนิทกับคริสตจักรอังกฤษนั้นไม่ได้รับการพิจารณาแก้ไขความตกลงเพิร์ธได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 2011 ที่เพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำรัฐบาลในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ (CHOGM) โดยในระหว่างการประชุมได้ตกลงกันในวาระรองเนื่องจากประเทศสมาชิกส่วนใหญ่นั้นไม่ได้ใช้การปกครองระบอบราชาธิปไตย โดยปกติแล้วบทบาทหน้าที่ของผู้นำเครือจักรภพนั้นคือการเรียกทุกประเทศในเครือเพื่อประชุมกันและเฉลิมฉลองแผนการ โครงการ ความตกลง และความริเริ่มต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิกภายในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 รัฐบาลทุกประเทศในเครือจักรภพแห่งประชาชาติได้ตกลงร่วมกันในตรากฎหมายรับรอง โดยนิวซีแลนด์เป็นประธานคณะทำงานเพื่อตกลงในขั้นตอน ราชอาณาจักรเครือจักรภพ ซึ่งประกอบด้วย สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จาไมกา บาร์เบโดส บาฮามาส เกรนาดา ปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน ตูวาลู เซนต์ลูเชีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ เบลีซ แอนติกาและบาร์บูดา และเซนต์คิตส์และเนวิส โดยทุกประเทศนั้นเป็นเอกราชมีอิสระต่อกันแต่มีพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกันตามรัฐธรรมนูญอย่างเท่าเทียมกัน โดยคณะทำงานยืนยันว่าโดยรวมทุกประเทศแล้ว กฎหมายสำคัญได้ถูกผ่านอย่างถูกต้องและบังคับใช้ได้แล้ว ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรก็ได้ย้ำอีกครั้งหนึ่งเมื่อ 26 มีนาคม ค.ศ. 2015[1][2][3] ในขณะที่กฎหมายในแคนาดานั้นถูกนำเข้ากระบวนการยุติธรรมเพราะถูกกล่าวหาว่าผิดรัฐธรรมนูญโดยถูกยกฟ้องในที่สุด[4][5]ในวันที่พระราชบัญญัติมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 ผู้ได้รับผลกระทบกลุ่มแรกคือบุตรและธิดาในเลดีดาวีนา วินด์เซอร์ โดยลำดับในสันตติวงศ์ของบุตรชาย (เทน) เกิดในปีค.ศ. 2012 และธิดา (เซนนา) เกิดในปีค.ศ. 2010 สลับตำแหน่งกันโดยเทนกลายเป็นลำดับที่ 29 และเซนนาปรับขึ้นมาลำดับ 28 ในสันตติวงศ์[6]

ความตกลงเพิร์ธ

เมือง เพิร์ธ, ออสเตรเลียตะวันตก
สถานที่จัดงาน คิงส์ ปาร์ค
ก่อนหน้า ค.ศ. 2009
ประมุข หรือผู้นำรัฐบาล 36
ถัดไป ค.ศ. 2013
วันที่ 28–30 ตุลาคม ค.ศ. 2011
ประธาน จูเลีย กิลลาร์ด
(นายกรัฐมนตรี)

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความตกลงเพิร์ธ http://kitchener.ctvnews.ca/royal-succession-law-n... http://pm.gc.ca/eng/news/2015/03/26/statement-prim... http://www.lapresse.ca/le-soleil/actualites/justic... http://royalcentral.co.uk/state/what-do-the-new-ro... http://www.legislation.gov.uk/uksi/2015/894/pdfs/u... http://www.parliament.uk/business/publications/wri... https://web.archive.org/web/20150403022636/http://... https://publications.parliament.uk/pa/cm201012/cms...