ความสุข ของ ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน

ดังที่กล่าวมาแล้ว คนสนใจภายนอกบ่อยครั้งมีความสุขและอารมณ์เชิงบวกมากกว่าคนสนใจภายใน[39][55][56]บทความทบทวนวรรณกรรมทรงอิทธิพลงานหนึ่งสรุปว่า บุคลิกภาพ โดยเฉพาะความสนใจภายนอกและความเสถียรทางอารมณ์ เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุดเกี่ยวกับความรู้สึกอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัย (subjective well-being)[57]ยกตัวอย่าง เช่นงานศึกษาปี 1990[58]พบว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกดังที่วัดโดย Extraversion Scale ของชุดคำถาม Eysenck Personality Questionnaire (EPQ) มีสหสัมพันธ์อย่างสำคัญกับความสุขที่วัดโดย Oxford Happiness Inventoryและโดยใช้วิธีวัดเดียวกัน งานปี 2001 ก็พบเช่นเดียวกัน[59]

ส่วนงานปี 1986 แสดงว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกมีสหสัมพันธ์อย่างสำคัญกับอารมณ์เชิงบวก (positive affect) แต่ไม่มีกับอารมณ์เชิงลบ[60]งานศึกษาตามยาวขนาดใหญ่ปี 1992 ก็พบผลเช่นเดียวกัน[61]โดยประเมินผลจากผู้ร่วมการทดลอง 14,407 คนจากเขต 100 เขตในประเทศสหรัฐอเมริกาและใช้แบบวัดความสุข General Well-Being Schedule แบบย่อ ซึ่งวัดทั้งอารมณ์เชิงบวกและเชิงลบ และใช้ Revised NEO Personality Inventory แบบสั้น(ของ Costa & McCrae[62]) เพื่อวัดบุคลิกภาพผู้เขียนรายงานว่า ผู้สนใจภายนอกประสบความอยู่เป็นสุข (well-being) ที่ดีกว่าในช่วงระยะเวลาสองระยะที่เก็บข้อมูล คือ ระหว่างปี 1971-1975 และ ระหว่าง 1981-1984

นอกจากนั้นแล้ว งานปี 1991[63]แสดงว่า คนสนใจภายนอกตอบสนองต่ออารมณ์เชิงบวกมากกว่าอารมณ์เชิงลบเพราะว่า พวกเขาแสดงการตอบสนองด้วยอารมณ์เชิงบวกในระดับที่สูงกว่าเมื่อชักจูงให้เกิดอารมณ์เชิงบวก แต่ว่ากลับไม่ตอบสนองด้วยอารมณ์เชิงลบในระดับที่สูงกว่าเมื่อชักจูงให้เกิดอารมณ์เชิงลบ[64]

Instrumental view

มุมมองแบบ instrumental view เสนอว่า ลักษณะบุคลิกภาพ (personality traits) เป็นปัจจัยให้เกิดสภาวะต่าง ๆ และการกระทำ ซึ่งมีผลต่ออารมณ์ และดังนั้นจึงสร้างความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่องอารมณ์[64][65]

ลักษณะบุคลิกภาพเป็นเหตุให้ชอบเข้าสังคม

ตาม instrumental view คำอธิบายอย่างหนึ่งที่ผู้สนใจสิ่งภายนอกแจ้งความอยู่เป็นสุขที่ดีกว่า อาจจะเป็นเพราะว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกช่วยสร้างสถานการณ์ชีวิตที่โปรโหมตอารมณ์เชิงบวก (positive affect) ในระดับสูงโดยเฉพาะก็คือ ความสนใจต่อสิ่งภายนอกเป็นเครื่องอำนวยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมากขึ้น[55][64][66]เพราะว่า ความตื่นตัวในระดับต่ำในเปลือกสมองของบุคคลเหล่านี้ทำให้ต้องหาสถานการณ์ทางสังคมเพื่อจะเพิ่มความตื่นตัว[67]

สมมติฐานกิจกรรมทางสังคม

ตามสมมติฐานกิจกรรมทางสังคม (social activity hypothesis) การมีส่วนรวมในกิจกรรมสังคมสร้างอารมณ์เชิงบวก (positive affect) บ่อยครั้งขึ้น และในระดับที่สูงขึ้นดังนั้น จึงเชื่อกันว่าเพราะว่าคนสนใจต่อสิ่งภายนอกเป็นคนชอบเข้าสังคมมากกว่า จึงมีอารมณ์เชิงบวกในระดับที่สูงกว่าเพราะการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม[68][69][70]โดยเฉพาะก็คือ งานศึกษาปี 1990[56]แสดงว่า คนสนใจภายนอกชอบใจและเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมมากกว่า และดังนั้น จึงรายงานระดับความสุขที่สูงกว่าและในงานปี 1990[58]คนสนใจภายนอกมีโอกาสน้อยกว่าที่จะหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมสังคมที่อึกทึก และมีโอกาสสูงกว่าที่จะเข้าร่วมกิจกรรมสังคมเช่น เกมในปาร์ตี้ เล่นตลก หรือว่าไปดูภาพยนตร์งานปี 1984 ก็พบผลเช่นเดียวกัน[71]คือพบว่า คนสนใจสิ่งภายนอกเสาะหากิจกรรมทางสังคมบ่อยครั้งกว่า โดยเฉพาะกิจกรรมเวลาว่าง

แต่ว่า มีผลงานศึกษาหลายงานที่ค้านสมมติฐานกิจกรรมสังคมเรื่องแรกสุด คือ มีการพบว่า คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมีความสุขกว่าแม้เมื่ออยู่คนเดียวโดยเฉพาะก็คือ คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมักจะมีความสุขว่าไม่ว่าจะอยู่คนเดียวหรืออยู่กับคนอื่น หรือเมื่ออยู่ในเมืองที่มีชีวิตชีวาหรืออยู่ในชนบท[39]และโดยคล้าย ๆ กัน งานในปี 1992[61]แสดงว่า แม้ว่าคนสนใจภายนอกจะเลือกงานที่ต้องทำร่วมกับคนอื่นบ่อยครั้งกว่า (51%) เทียบกับคนสนใจภายใน (38%) แต่ก็ยังมีความสุขกว่าไม่ว่างานนั้นต้องทำร่วมกับคนอื่นหรือไม่เรื่องที่สองก็คือ มีการพบว่า คนสนใจต่อสิ่งภายนอกรายงานกิจกรรมทางสังคมมากกว่าเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น[71]แต่โดยทั่วไปแล้ว ไม่ได้มีจำนวนการเข้าสังคมมากว่าคนสนใจต่อสิ่งภายใน[39]ผลคล้าย ๆ กันก็พบในงานศึกษาปี 2008[72]ที่พบว่า ทั้งคนสนใจภายนอกและสนใจภายในทั้งสองล้วนชอบปฏิสัมพันธ์ทางสังคม แต่คนสนใจภายนอกเข้าร่วมกิจกรรมสังคมมากกว่าเรื่องที่สามก็คือ งานศึกษาต่าง ๆ แสดงว่าทั้งคนสนใจภายนอกและคนสนใจภายในเข้าร่วมกิจกรรมสังคม แต่ว่า คุณภาพของการเข้าร่วมกิจกรรมต่างกันแม้ว่าการเข้าร่วมกิจกรรมสังคมที่บ่อยครั้งกว่าอาจเป็นเพราะคนสนใจภายนอกรู้จักคนมากกว่า แต่คนเหล่านี้อาจจะไม่ใช่เพื่อนที่ใกล้ชิด เทียบกับคนสนใจภายใน ที่เมื่อเข้าร่วมงานสังคม จะเลือกสรรมากกว่าและมีเพื่อนใกล้ชิดไม่กี่คนที่ตนใกล้ชิดเป็นพิเศษ[59]

ทฤษฎีการใส่ใจทางสังคม

ยังมีคำอธิบายอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับค่าสหสัมพันธ์ระดับสูงระหว่างความสนใจสิ่งภายนอกกับความสุข ที่มาจากงานศึกษาปี 2002[73]ซึ่งเสนอว่า ธรรมชาติหลักอย่างหนึ่งของความสนใจสิ่งภายนอกก็คือความโน้มเอียงที่จะประพฤติตัวเพื่อดึงดูด ธำรง และเพลิดเพลินต่อ ความสนใจทางสังคม และไม่ใช่เรื่องความไวต่อรางวัล (reward sensitivity) หรือความไวต่อความสุขโดยอ้างว่า คุณสมบัติพื้นฐานของความใส่ใจทางสังคมอย่างหนึ่ง ก็คืออาจมีผลให้ความสุข (rewarding)ดังนั้น ถ้าบุคคลแสดงอารมณ์เชิงบวกคือความกระตือรือร้น ความมีชีวิตชีวา และความตื่นเต้น คนอื่นก็จะมองคนนั้นในแง่ดี และคนนั้นก็จะได้ความใส่ใจจากผู้อื่นปฏิกิริยาที่ดีจากคนอื่นก็จะสนับสนุนให้คนสนใจต่อสิ่งภายนอกแสดงพฤติกรรมแบบนั้น ๆ เพิ่มขึ้น[73]งานปี 2002[73] แสดงว่า วิธีการวัดการใส่ใจทางสังคมของพวกเขา คือ Social Attention Scale มีระดับสหสัมพันธ์กับความสนใจสิ่งภายนอกมากกว่าค่าวัดของความไวรางวัล (reward sensitivity)

พื้นอารมณ์แต่กำเนิด

มุมมองแบบพื้นอารมณ์แต่กำเนิด (Temperamental view) ตั้งอยู่ในแนวคิดว่า ลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลสัมพันธ์โดยตรงกับความไวอารมณ์บวกและอารมณ์ลบของบุคคล[55][63][64]

แบบจำลองปฏิกิริยาทางอารมณ์

แบบจำลองปฏิกิริยาทางอารมณ์ (affective reactivity model) อ้างว่า กำลังปฏิกิริยาของบุคคลต่อเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดอารมณ์ที่สมควร มีเหตุมาจากความแตกต่างทางอารมณ์ (affect)[63][74]แบบจำลองนี้ตั้งอยู่บนทฤษฎีความไวต่อการเสริมแรง (reinforcement sensitivity theory) ของ ศ.ดร.เจฟฟรีย์ อะแลน เกรย์ ที่กล่าวว่า บุคคลที่มี behavioral activation system (BAS) ที่มีกำลังกว่าจะตอบสนองต่อรางวัล (reward คือความสุข) ในระดับสูง และมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะสนใจในภายนอกส่วนคนที่มีระบบ behavioral inhibition system (BIS) ที่มีกำลังกว่า จะตอบสนองต่อรางวัลคือความสุขน้อยกว่า และมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะ neuroticism และความสนใจภายใน[75]ดังนั้น จึงเป็นการมองคนสนใจภายนอกว่า มีความโน้มเอียงทางพื้นอารมณ์แต่กำเนิดไปทางการมีอารมณ์เชิงบวก เนื่องจากการชักจูงให้เกิดอารมณ์เชิงบวกมีผลมากกว่าในบุคคลเหล่านี้เทียบกับคนสนใจภายใน ดังนั้น คนสนใจภายนอกจึงมักไวที่จะมีปฏิกิริยาต่อปรากฏการณ์ที่ให้ความสุข[28][63][74][76][77]

ยกตัวอย่างเช่น งานปี 2000[78]พบในการทดลองต่อกัน 2 อย่างว่า คนที่มีระบบ BIS ไวกว่า รายงานระดับอารมณ์เชิงลบที่สูงกว่าโดยเฉลี่ย ในขณะที่บุคคลที่มีระบบ (BAS) ไวกว่า รายงานระดับอารมณ์เชิงบวกที่สูงกว่าและงานปี 1999[64]พบว่า บุคคลที่มีระบบ BAS ไวกว่า รายงานอารมณ์เชิงบวกมากกว่าเมื่อมีการชักจูงให้มีอารมณ์เชิงบวก ในขณะที่ผู้มีระบบ BIS ไวกว่า รายงานว่ามีอารมณ์เชิงลบมากกว่าเมื่อมีการชักจูงให้เกิดอารมณ์เชิงลบ[ต้องการอ้างอิง]

Social reactivity theory

ทฤษฎีปฏิกิริยาทางสังคม (social reactivity theory) อ้างว่า มนุษย์ทุกคนต้องเข้าร่วมสถานการณ์ทางสังคมไม่ว่าจะชอบใจหรือไม่และเพราะคนสนใจภายนอกชอบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมากกว่าคนสนใจภายใน จึงได้อารมณ์เชิงบวก (positive affect) จากสถานการณ์เช่นนั้นมากกว่า[39][58][71]หลักฐานสนับสนุนทฤษฎีนี้มาจากงานของนักเขียน ไบรอัน ลิตเติล ผู้ทำแนวคิดเกี่ยวกับ restorative niches (ช่องคืนสภาพ) ให้เป็นที่นิยมคือเขาอ้างว่า ชีวิตบ่อยครั้งบังคับให้บุคคลมีส่วนร่วมในสถานการณ์ทางสังคม และเพราะว่าการประพฤติให้เข้ากับคนอื่นได้ไม่เป็นธรรมชาติของคนสนใจภายใน จึงทำให้รู้สึกอยู่ไม่เป็นสุขดังนั้น วิธีการหนึ่งที่จะรักษาความรู้สึกอยู่เป็นสุขก็คือต้องชาร์จแบ็ตให้บ่อยที่สุดในที่ที่ตนสามารถกลับไปสู่สภาวะธรรมชาติของตน เป็นที่ที่ลิตเติลเรียกว่า ช่องคืนสภาพ[79]

อย่างไรก็ดี ก็ยังมีงานศึกษาที่พบว่า คนสนใจภายนอกไม่ได้ตอบสนองต่อสถานการณ์ทางสังคมอย่างมีกำลังกว่า และก็ไม่ได้รายงานระดับอารมณ์เชิงบวกที่สูงกว่าในปฏิสัมพันธ์เช่นนั้นอีกด้วย[66][72]

การควบคุมอารมณ์

ส่วนคำอธิบายอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการมีความสุขมากกว่า ก็คือ คนสนใจภายนอกสามารถควบคุมอารมณ์ของตนได้ดีกว่าซึ่งหมายความว่า ในสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน (เช่น ในที่ที่มีการชักจูงให้เกิดพื้นอารมณ์ [mood] ทั้งเชิงบวกและเชิงลบรวม ๆ กันในปริมาณเท่า ๆ กัน) คนสนใจต่อสิ่งภายนอกมีระดับอารมณ์เชิงบวกที่ลดลงช้ากว่า และดังนั้น จึงมีอารมณ์เชิงบวกมากกว่า[80]คนสนใจต่อสิ่งภายนอกอาจจะเลือกกิจกรรมที่อำนวยความสุข (เช่น คิดถึงความจำที่ดี ๆ) มากกว่าคนสนใจภายในเมื่อคิดถึงงานยากที่ต้องทำ[81]

set-point model หรือ affect-level model

ตามแบบจำลองขีดตั้ง (set-point model) ระดับอารมณ์เชิงบวกและลบปกติโดยประมาณแล้วตายตัวในแต่ละบุคคล และดังนั้น หลังจากเหตุการณ์บวกหรือลบ พื้นอารมณ์ (mood) ของบุคคลนั้นจะกลับไปที่จุดตั้งตามทฤษฎีนี้ คนสนใจภายนอกประสบความสุขมากกว่าเพราะว่าพื้นอารมณ์ของตนมีขีดตั้งเป็นบวกกว่า และดังนั้น จึงต้องอาศัยการเสริมแรงเชิงบวก (positive reinforcement) น้อยกว่าเพื่อที่จะรู้สึกเป็นสุข[77]

ความสัมพันธ์ระหว่างความสุข-ความตื่นตัว

งานวิจัยปี 2008[82]แสดงว่า เมื่อกำลังรู้สึกสุข คนสนใจภายนอกและคนสนใจภายในทำสิ่งที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะอธิบายการประเมินความถี่และกำลังของความสุขที่มีโดยคนสนใจภายในน้อยเกินไป โดยเฉพาะก็คืองานพบว่า สำหรับคนสนใจภายนอก ความตื่นตัวมีสหสัมพันธ์เชิงบวกกับความสุข ซึ่งก็หมายความว่า ความรู้สึกสุขมีโอกาสสูงกว่าที่จะประกอบด้วยความตื่นตัวในระดับสูงสำหรับคนสนใจภายนอกและโดยนัยตรงกันข้าม สำหรับคนสนใจภายใน ความตื่นตัวมีสหสัมพันธ์เชิงลบกับความสุข คือมีผลว่าจะมีความสุขก็เมื่อมีความตื่นตัวน้อยกล่าวอีกอย่างก็คือ ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนในชีวิต ซึ่งนำมาซึ่งความสุข คนสนใจภายนอกจะเห็นสถานการณ์เช่นนี้ว่าเป็นโอกาสที่จะเริ่มทำอะไรบางอย่างและเพื่อติดตามเป้าหมาย ซึ่งนำมาซึ่งสภาวะที่ไม่อยู่เฉย ๆ ตื่นตัวและมีความสุขแต่เมื่อทุกอย่างเป็นไปตามแผนสำหรับคนสนใจภายใน บุคคลจะเห็นว่าเป็นโอกาสที่จะทำตัวสบาย ๆ ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข[82]

ปัญหาค่าสหสัมพันธ์

แม้ว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกจะมีค่าสหสัมพันธ์ที่สม่ำเสมอและมีกำลังกับความสุข (happiness) และความอยู่เป็นสุข (well-being) ผลงานเหล่านี้มีปัญหาเพราะมีลักษณะบุคลิกภาพอื่น ๆ ที่ก็เป็นตัวชี้ความสุขที่มีกำลังเหมือนกัน

Neuroticism และความสนใจภายนอก

ในงานศึกษาหลายงาน neuroticism พบว่ามีผลเท่า ถ้าไม่มากกว่าความสนใจภายนอก ต่อความสุขและความอยู่เป็นสุขงานปี 2008 จัดเด็กให้อยู่ใน 4 กลุ่มขึ้นอยู่กับคะแนนที่ได้จากการวัดความสนใจภายนอกและความเสถียรทางอารมณ์ (neuroticism)[83]ผลงานนี้ไม่แสดงความแตกต่างของระดับความสุขอย่างสำคัญของผู้สนใจภายในและผู้สนใจภายนอกที่มีอารมณ์เสถียร ในขณะบุคคลที่มีอารมณ์ไม่เสถียรในแบบทั้งสองแสดงความสุขที่น้อยกว่าบุคคลที่เสถียรดังนั้น ในงานศึกษานี้ neuroticism ปรากฏว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญกว่าต่อความเป็นอยู่ที่ดีโดยทั่วไป

ในงานศึกษาต่อ ๆ มา นักวิจัยได้ใช้คำถามประเมินตรวจสอบลักษณะต่าง ๆ เช่น ความนับถือตนเอง (self-esteem) และเป้าหมายในชีวิต ซึ่งงานก่อน ๆ พบว่ามีสหสัมพันธ์กับความสุขการตอบสนองของผู้ร่วมการทดลองต่อวิธีวัดเหล่านี้แสดงว่า neuroticism มีผลต่อความอยู่เป็นสุขมากกว่าความสนใจต่อสิ่งภายนอก[84][85]

ลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่างอื่น ๆ

แม้ว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกและ neuroticism จะมีผลที่ใหญ่ที่สุดต่อความสุข แต่ว่า ปัจจัยอื่น ๆ ของลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่างก็มีหลักฐานว่ามีสหสัมพันธ์กับความสุขและความเป็นอยู่ที่ดียกตัวอย่างเช่น งานศึกษาหนึ่งแสดงว่า ความพิถีพิถัน (conscientiousness) และความยินยอมเห็นใจ (agreeableness) ว่ามีค่าสหสัมพันธ์ 0.20 กับความอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัย (subjective well-being)[86]แม้ว่า ผลของลักษณะอื่น ๆ เหล่านี้จะไม่มีกำลังเท่าความสนใจต่อสิ่งภายนอกและ neuroticism แต่ก็ชัดเจนว่ายังมีผลต่อความสุขบ้าง

นอกจากนั้นแล้ว ปฏิสัมพันธ์ระหว่างความสนใจภายนอก neuroticism และความพิถีพิถัน มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อความอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัยในงานศึกษาหนึ่ง นักวิจัยใช้วิธีการวัด 3 อย่าง เพื่อประเมินความอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัยแล้วพบว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอกบวก neuroticism สามารถใช้พยากรณ์ความอยู่เป็นสุขอย่างหนึ่ง ในขณะที่ความอยู่เป็นสุขที่วัดอีก 2 อย่าง พยากรณ์ได้ดีกว่าโดยความพิถีพิถันและ neuroticism[87]นอกจากความสำคัญในการรวมปัจจัยอื่น ๆ เพื่อประเมินความสุข งานศึกษานี้ยังแสดงอีกด้วยว่า บทนิยามปฏิบัติการ (operational definition) ของความอยู่เป็นสุข (well-being) จะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับว่าความสนใจต่อสิ่งภายนอกเป็นหรือไม่เป็นปัจจัยพยากรณ์สำคัญ

ปัจจัยบุคลิกภาพอื่น ๆ ที่มีส่วน

มีหลักฐานด้วยว่า ปัจจัยทางบุคลิกภาพที่ไม่ใช่ trait (ลักษณะ) อื่น ๆ อาจมีสหสัมพันธ์กับความสุขยกตัวอย่างเช่น งานศึกษาหนึ่งแสดงว่า มิติต่าง ๆ เกี่ยวกับเป้าหมาย เช่น ความก้าวหน้าไปยังเป้าหมายต่าง ๆ ที่สำคัญ หรือความขัดแย้งระหว่างเป้าหมาย สามารถมีผลต่อความอยู่เป็นสุขทั้งทางอารมณ์และทางความคิด[88]นักวิจัยหลายท่านยังเสนออีกด้วยว่า อย่างน้อยในวัฒนธรรมที่เน้นความเป็นตัวของตัวเอง การเข้าใจที่สอดคล้องในบุคลิกภาพของตนเอง (และประพฤติตัวตามความเข้าใจนั้น) สัมพันธ์กับความอยู่เป็นสุข[89][90][91]ดังนั้น การสนใจแต่ความสนใจต่อสิ่งภายนอก หรือแม้แต่ทั้งความสนใจต่อสิ่งภายนอกและ neuroticism น่าจะให้ความเข้าใจที่ไม่สมบูรณ์ในเรื่องความสัมพันธ์ของความสุขกับบุคลิกภาพ

วัฒนธรรม

นอกจากนั้นแล้ว วัฒนธรรมของตนอาจมีอิทธิพลต่อความสุข (happiness) และความอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัย (subjective well-being) โดยทั่วไประดับความสุขทั่วไปจะต่าง ๆ กันไปในวัฒนธรรมต่าง ๆ และการแสดงออกถึงความสุขก็เช่นกันการสำรวจนานาชาติพบว่า ประเทศต่าง ๆ และแม้แต่กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศนั้น ๆ มีความพึงพอใจในชีวิตโดยเฉลี่ยที่แตกต่างกัน

ยกตัวอย่างเช่น นักวิจัยคนหนึ่งพบว่าระหว่างปี 1958-1987 ความพอใจในชีวิตของคนญี่ปุ่นอยู่ราว ๆ 6 เต็ม 10 ในขณะที่คนเดนมาร์กราว ๆ 8[92]เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ภายในสหรัฐอเมริกา งานวิจัยหนึ่งพบว่า คนอเมริกันเชื้อสายยุโรปรายงานว่า มีความสุขกับชีวิตมากกว่าคนอเมริกันเชื้อสายเอเชียอย่างสำคัญ[93]นักวิจัยได้ตั้งสมมติฐานปัจจัยหลายอย่างที่อาจเป็นเหตุของความแตกต่างในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งความแตกต่างระหว่างรายได้ของประเทศ ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง (self-serving) การยกตนเอง (self-enhancement) และธรรมชาติที่ชอบตรวจสอบ (approach) หรือหลีกเลี่ยง (avoidance)[94]โดยรวม ๆ กันแล้ว งานศึกษาเหล่านี้แสดงว่า แม้ว่า ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายในจะมีค่าสหสัมพันธ์ที่มีกำลังกับความสุข แต่ก็ยังไม่สามารถใช้เป็นตัวพยากรณ์เดียวของความอยู่เป็นสุขที่เป็นอัตวิสัย และต้องรวมปัจจัยอื่น ๆ ด้วยเมื่อพยายามที่จะกำหนดว่าปัจจัยอะไรสัมพันธ์กับความสุข

ใกล้เคียง

ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ความสัมพันธ์สหราชอาณาจักร–สหรัฐ ความสามารถของบุคคล ความสัมพันธ์ไทย–พม่า ความสัมพันธ์ญี่ปุ่น–ไทย ความสัมพันธ์จีน–ไทย ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ ความสัมพันธ์ไทย–รัสเซีย ความสัมพันธ์เนโท–สวีเดน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความสนใจต่อสิ่งภายนอก-ความสนใจต่อสิ่งภายใน http://psychclassics.yorku.ca/Jung/types.htm http://www.abajournal.com/magazine/article/most_la... http://allpsych.com/personalitysynopsis/trait_appl... http://blindprivilege.com/extraversion-privilege/ http://www.carlkingdom.com/10-myths-about-introver... http://www.cbsnews.com/news/quiet-the-power-of-int... http://www.cnn.com/2012/02/06/living/successful-in... http://www.cnn.com/LIVING/ http://findarticles.com/p/articles/mi_g2602/is_000... http://findarticles.com/p/articles/mi_g2602/is_000...