ความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ย

ความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ย (Interest rate parity) เป็นภาวะที่ไม่สามารถแสวงหากำไรโดยปราศจากความเสี่ยง (arbitrage) เป็นจุดดุลยภาพ (equilibrium) ซึ่งไม่มีความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย (interest rates) เงินฝาก (bank deposits) ในสองประเทศ[1] ในความเป็นจริงภาวะดุลยภาพนี้ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลาจึงมีโอกาสในการทำกำไรโดยปราศจากความเสี่ยงโดยการแสวงหาผลประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยโดยได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (covered interest arbitrage) สองสมมุติฐานหลักที่ทำให้เกิดความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ยได้ คือ การเคลื่อนย้ายของเงินทุน (capital mobility) และ การทดแทนกันได้โดยสมบรูณ์ (perfect substitutability) ของสินทรัพย์ (assets) ในประเทศและต่างประเทศ ที่ดุลยภาพของตลาดปริวรรตเงินตรา (foreign exchange market) ความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ยแสดงว่าผลตอบแทน (return) ที่คาดหวังจากสินทรัพย์ในประเทศจะเท่ากับผลตอบแทนที่คาดหวังจากสินทรัพย์ในต่างประเทศซึ่งปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (exchange rate) แล้ว นักลงทุนจึงไม่สามารถทำกำไรด้วยการทำอาร์บิทราจ (arbitrage) โดยการกู้ยืมเงินในประเทศซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า จากนั้นนำไปแลกเป็นเงินตราต่างประเทศ แล้วจึงนำไปลงทุนในต่างประเทศซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าได้เนื่องจากผลกำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนกลับเป็นเงินสกุลท้ัองถิ่น ณ.เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน (maturity)[2] ความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ยมี 2 รูปแบบที่แตกต่างกัน 1. ความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (uncovered interest rate parity) คือภาวะความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ยที่ยังเปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (foreign exchange risk) (การเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดของอัตราแลกเปลี่ยน) ในขณะที่ 2. ความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ยที่ได้ป้องกันกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (covered interest rate parity) คือสภาวะที่ได้มีการใช้สัญญาล่วงหน้า (forward contract) เพื่อปิด (ลดการเปิดเผยต่อ) ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่ละรูปแบบของความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ยแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เฉพาะเจาะจงต่อการคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต คือ อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (forward exchange rate) และ อัตราแลกเปลี่ยนทันที (spot exchange rate) ในอนาคต[1]นักเศรษฐศาสตร์ได้ค้นพบหลักฐานเชิงประจักษ์ (empirical evidence) ว่า ความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ยที่่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (covered interest rate parity) โดยทั่วไปจะเกิดขึ้น แม้ว่าจะมีความคลาดเคลื่อนบ้างเนื่องจากผลกระทบจากความเสี่ยงต่างๆ ต้นทุน ภาษี และความแตกต่างของสภาพคล่อง เมื่อเกิดความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ยทได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (covered interest rate parity) หรือความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (uncovered interest rate parity) มันเป็นการแสดงว่าอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (forward rate) เป็นตัวชี้นำที่ไม่เอนเอียงต่ออัตราแลกเปลี่ยนทันที (spot rate) ในอนาคต ความสัมพันธ์นี้สามารถนำมาใช้ในการทดสอบว่าเกิดความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (uncovered interest rate parity) หรือไม่ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์พบผลลัพธ์ทีหลากหลาย เมื่อความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (uncovered interest rate parity) และความเสมอภาคของอำนาจซื้อ (purchasing power parity) เกิดขึ้นพร้อมกัน นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า ความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (real interest rate parity) ซึ่งชี้แนะว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (real interest rates)ที่คาดหวังเป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลงที่คาดหวังต่อ (real exchange rate) โดยทั่วไปความสัมพันธ์นี้จะเกิดขึ้นในระยะยาวและในระหว่างประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging market)

ใกล้เคียง

ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเจ็บปวด ความเหนือกว่าเทียม ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเครียด (จิตวิทยา) ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเสมอภาคของอัตราดอกเบี้ย http://www.reuters.com/article/2007/02/21/us-yen-c... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/0... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S... http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S...