อรรถาธิบาย ของ ความเห็นพ้อง

ความเห็นพ้องเป็นรูปแบบการตัดสินใจที่ถูกออกแบบมาให้มีความแตกต่างจากการตัดสินใจโดยใช้เสียงข้างมาก (majority decision) ฉะนั้น ความเห็นพ้องจะไม่เน้นที่การลงคะแนนเสียง เพราะการลงคะแนนเสียงอาจทำให้เสียงข้างน้อย (minorities) ถูกละเลยไปได้ ดังนั้น ความเห็นพ้องจึงเน้นที่กระบวนการในการอภิปรายถกเถียง รับฟังความคิดเห็นเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันระหว่างทุกฝ่ายมากกว่า หรืออาจจะกล่าวได้ว่าความเห็นพ้องเป็นรูปแบบการตัดสินใจที่จะป้องกันปรากฏการณ์ที่เรียกว่าเผด็จการเสียงข้างมาก (majority tyranny)การตัดสินใจแบบความเห็นพ้อง เป็นกระบวนการตัดสินใจที่กลุ่มคนจำนวนมากอาจเห็นไม่ตรงกัน แต่ต้องการให้เกิดการมีส่วนร่วมและความเห็นพ้องต้องกันมากที่สุด กระบวนการถกอภิปราย ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

  • รวมคนทุกกลุ่ม (inclusive) : เปิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมในกระบวนการถกอภิปรายให้มากที่สุด
  • เปิดช่องทางการมีส่วนร่วม (participatory) : ผู้เข้าร่วมต้องมีโอกาสแสดงความคิดเห็น
  • ร่วมด้วยช่วยกัน (collaborative) : ทุกกลุ่ม ทุกคน ร่วมมือกันเสนอทางเลือก คนที่มีความเห็นคล้ายกันพยายามปรับข้อเสนอให้เป็นตัวแทนความคิดของกลุ่มตน เพื่อให้กลุ่มอื่นพิจารณา
  • หาข้อตกลง (agreement seeking) : เป้าหมายคือ พยายามหาข้อตกลงร่วมกันให้มากที่สุด เป้าหมายสูงสุดคือความเห็นพ้องต้องกันอย่างสมบูรณ์
  • เกื้อกูลกัน (cooperative) : ผู้เข้าร่วมควรมีหัวใจอยู่ที่ผลประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่าย ควรปล่อยให้ทุกกลุ่มได้แสดงความต้องการที่แท้จริงของตนเอง เพื่อนำมาปรับเข้ากับทางเลือกที่ทุกฝ่ายจะยอมรับร่วมกันได้ ขณะเดียวกัน ก็ไม่ควรให้ความต้องการเฉพาะของกลุ่มตนบดบังหรือทำให้ผลประโยชน์ร่วมกันไม่สามารถบรรลุได้[3]

ขั้นตอนไปสู่การตัดสินใจแบบความเห็นพ้อง

  1. ถกอภิปราย
  2. แจกแจงข้อเสนอ/ทางเลือก
  3. ระบุตัวตนผู้มีส่วนร่วม/ส่วนได้ส่วนเสีย
  4. ร่วมกันปรับปรุง แก้ไขข้อเสนอ/ทางเลือก
  5. ประเมินเสียงสนับสนุน
  6. สรุปมติ หรือถ้าไม่สามารถหามติร่วมกันได้ ให้กลับไปทำข้อที่ 1-5 ใหม่

การสรุปผลการตัดสินใจหรือกติกาการตัดสินใจ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า น้ำหนักและขอบเขตของการเห็นพ้องต้องกันมีหลายขนาดเช่น ทุกคนเห็นพ้องร่วมกัน ทุกคนเห็นร่วมกัน ยกเว้นหนึ่งเสียงหรือสองเสียง เสียงข้างมากเด็ดขาดอย่างมาก (super majority) ซึ่งมีตั้งแต่ 90% 75% เสียงสองในสาม หรืออื่น ๆ ที่มากกว่าเสียงข้างมากเพียงครึ่งหนึ่ง บางกรณีอาจใช้การตัดสินใจของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นก็ได้ ในกรณีที่ต้องการเสียงเห็นพ้องต้องกันอย่างสมบูรณ์ (unanimity) ผู้ที่ไม่เห็นด้วยเพียงหนึ่งเสียงก็อาจมีอำนาจยับยั้ง (block) การตัดสินใจนั้นได้ ขึ้นอยู่กับว่ากติกาที่กำหนดไว้เป็นเช่นไร (Hartnett, 2011) [4]

ใกล้เคียง

ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเจ็บปวด ความเหนือกว่าเทียม ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเครียด (จิตวิทยา) ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา