วิธีการ ของ ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง

การทดสอบในแล็บ

การตรวจสอบความเอนเอียงนี้ในห้องแล็บมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการทดลองแต่ก็จะมีหลักพื้นฐานที่คล้าย ๆ กันบ้างคือจะมีการให้ผู้ร่วมการทดลองทำงานบ่อยครั้งเกี่ยวกับเชาวน์ปัญญา ความอ่อนไหวทางสังคม ความสามารถในการสอน และทักษะในการบำบัดโรค[10] ซึ่งอาจจะให้ทำคนเดียว เป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มหลังจากเสร็จแล้ว จะมีการให้คำวิจารณ์หรือคะแนนที่กุขึ้นโดยสุ่มในงานทดลองบางงาน จะมีการจูงใจให้เกิดอารมณ์บางอย่างเพื่อตรวจสอบอิทธิพลของอารมณ์ต่อความเอนเอียง[15] ท้ายสุดแห่งการทดลอง จะมีการให้ผู้ร่วมการทดลองอ้างเหตุผลเกี่ยวกับผลที่ได้ (ว่าทำไม่ถึงออกมาดีหรือไม่ดี)ผู้ทำงานวิจัยจะทำการประเมินการอ้างเหตุผล เพื่อสำรวจว่ามีความเอนเอียงรับใช้ตนเองในระดับไหน[10]

การทดลองทางระบบประสาท

งานทดลองที่ทันสมัยกว่า จะใช้การสร้างภาพสมองเพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มจากวิธีการทดลองแบบอื่น ๆ ด้วยมีการตรวจสอบประสาทสัมพันธ์ (Neural correlates) ของความเอนเอียงรับใช้ตนเองโดยทั้งการสร้างภาพแบบการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)[12] และโดย fMRI[11] เทคนิคเหล่านี้ช่วยสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับบริเวณสมองที่มีการทำงานเมื่อเกิดความเอนเอียงนี้และช่วยในการแยกแยะการทำงานของสมองในคนปกติและในคนไข้[16]

วิธีตรวจสอบโดยธรรมชาติ

การประเมินผลงานย้อนหลังสามารถใช้ในการตรวจสอบความเอนเอียงยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีการรายงานงบกำไรขาดทุนของบริษัท ก็จะมีการให้ผู้ร่วมการทดลองอ้างเหตุผลของผลที่ได้[8] ซึ่งสามารถใช้ในการตรวจสอบดูว่า พนักงานและผู้บริหารงานมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับความสำเร็จและความล้มเหลวของบริษัทวิธีนี้สามารถรวบรวมตัวแปรต่าง ๆ มากมาย เพื่อใช้ในการกำหนดว่ามีความเอนเอียงแบบนี้หรือไม่

ใกล้เคียง

ความเจ็บปวด ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเหนือกว่าเทียม ความเครียด (จิตวิทยา) ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง http://www.aserenko.com/papers/IwC_Published_Scape... http://www.timothy-judge.com/Judge,%20LePine,%20an... //doi.org/10.1002%2Fejsp.2420120402 //doi.org/10.1007%2Fs12144-011-9121-2 //doi.org/10.1016%2F0191-8869(92)90129-D //doi.org/10.1016%2Fj.intcom.2006.07.005 //doi.org/10.1016%2Fj.jad.2012.01.041 //doi.org/10.1016%2Fj.ssci.2005.06.006 //doi.org/10.1016%2Fs1053-8119(03)00331-8 //doi.org/10.1037%2F%2F0022-3514.82.1.49