องค์ประกอบและตัวแปร ของ ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง

แรงจูงใจ

มีแรงจูงใจสองอย่างที่มีผลต่อความเอนเอียงนี้ คือ การยกตนเอง (self-enhancement) และการรักษาภาพพจน์ (self-presentation)[7] การยกตัวเองมีจุดมุ่งหมายเพื่อพิทักษ์คุณค่าของตนไว้ คือการอ้างเหตุความสำเร็จภายใน และอ้างเหตุความล้มเหลวภายนอก จะช่วยในการรักษาคุณค่าของตนไว้ส่วนการรักษาภาพพจน์หมายถึงความต้องการที่จะแสดงภาพพจน์ให้คนอื่นเห็น โดยใช้การอ้างเหตุผลรับใช้ตนเองเพื่อรักษาภาพพจน์ที่คนอื่นมีเกี่ยวกับตน[7] ยกตัวอย่างเช่น เราสามารถอ้างความสำเร็จว่าเป็นของตน แต่หลีกเลี่ยงความล้มเหลว เพื่อรักษาภาพพจน์ของตนต่อผู้อื่นแรงจูงใจต่าง ๆ จะทำงานร่วมกับองค์ประกอบต่าง ๆ ทางประชาน เพื่อสร้างการอ้างเหตุผลที่น่าพึงใจต่อตนเอง ซึ่งเป็นการพิทักษ์ภาพพจน์ของตน สำหรับผลที่ได้นั้น[7]

โลคัสของการควบคุม

โลคัสของการควบคุม (Locus of control) เป็นองค์ประกอบหลักอย่างหนึ่งของสไตล์การอ้างเหตุผล (attribution style)บุคคลที่มีโลคัสภายในจะเชื่อว่า ตนมีอำนาจเหนือสถานการณ์และพฤติกรรมของตนจะมีผลส่วนบุคคลที่มีโลคัสภายนอกจะเชื่อว่า ปัจจัยภายนอก เคราะห์ และโชค จะเป็นตัวกำหนดสถานการณ์และพฤติกรรมของตนจะไม่มีผล[17] ผู้ที่มีโลคัสภายนอกมีโอกาสที่จะแสดงความเอนเอียงประเภทนี้เมื่อเกิดความล้มเหลว มากกว่าผู้ที่มีโลคัสภายใน[10][18] สไตล์การอ้างเหตุผลระหว่างผู้มีโลคัสสองอย่าง จะไม่แตกต่างกันมากเมื่อเกิดความสำเร็จเพราะว่า บุคคลทั้งสองประเภทไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพิทักษ์ภาพพจน์ของตนเองในเมื่อเกิดความสำเร็จนักบินผู้มีโลคัสภายใน มีโอกาสมากกว่าที่จะแสดงความเอนเอียงนี้ ในเรื่องทักษะการบินและประวัติความปลอดภัยของตน[18]

เพศ

งานวิจัยหลายงานแสดงความแตกต่างกันเล็กน้อย ระหว่างเพศชายและเพศหญิง ในเรื่องความเอนเอียงนี้ในงานสำรวจที่ให้คำตอบเอง ที่ตรวจสอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่รักผู้ชายมักจะอ้างว่าเป็นความผิดของคู่ มากกว่าผู้หญิง[19] นี้อาจจะเป็นหลักฐานว่า ผู้ชายมีความเอนเอียงนี้มากกว่าผู้หญิง แม้ว่า งานทดลองนี้จะไม่ได้ตรวจสอบการอ้างเหตุผลเมื่อมีผลบวก

อายุ

ผู้ใหญ่วัยสูงกว่า โทษเหตุภายในเมื่อมีผลลบมากกว่า[20] สไตล์การอ้างเหตุผลที่แตกต่างกันตามอายุแสดงว่า ความเอนเอียงนี้อาจมีน้อยกว่าในผู้สูงอายุกว่าแต่ว่าผู้ใหญ่สูงอายุที่โทษเหตุภายในว่า เป็นเหตุของผลลบเหล่านี้ ประเมินตนเองด้วยว่ามีสุขภาพไม่ดีและดังนั้น องค์ประกอบทางอารมณ์เชิงลบ อาจจะเป็นตัวแปรสับสนของอายุ (คือทำให้ไม่ชัดเจนว่า อายุหรืออารมณ์เชิงลบ เป็นเหตุแห่งความแตกต่างของระดับความเอนเอียงนี้ในผู้สูงอายุ)

วัฒนธรรม

มีหลักฐานที่แสดงความแตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรม โดยเฉพาะในสังคมตะวันตกที่เน้นความเป็นตัวของตัวเอง (individualistic) เปรียบเทียบกับสังคมอื่นที่เน้นส่วนรวม (collectivistic)[21] คือ ประโยชน์จุดมุ่งหมายของครอบครัวและชุมชนจะมีความสำคัญกว่าในวัฒนธรรมที่เน้นส่วนรวมและโดยเปรียบเทียบกัน ประโยชน์จุดมุ่งหมายของตนและความเป็นตัวของตัวเองที่เน้นในสังคมตะวันตก จะเพิ่มความจำเป็นสำหรับคนในวัฒนธรรมเช่นนี้ ในการพิทักษ์และเพิ่มพูนความภูมิใจในตนเองถึงจะมีงานวิจัยที่แสดงความแตกต่างเช่นนี้ ก็ยังมีงานวิจัยที่แสดงผลขัดกัน คือแสดงการอ้างเหตุผลที่คล้ายกันระหว่างสังคมที่เน้นความเป็นตัวของตัวเองและสังคมที่เน้นส่วนรวม โดยเฉพาะก็คือ ระหว่างประเทศเบลเยี่ยม เยอรมนีตะวันตก เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร[22] งานวิจัยเหล่านี้มักจะรวบรวมข้อมูลจากงานทดลองที่ออกแบบและทำกับนักศึกษามหาวิทยาลัยส่วนงานที่ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่จริง ๆ ระหว่างบริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นพบว่า[23]

  • ทั้งบริษัทอเมริกันและญี่ปุ่นทำการอ้างเหตุเกี่ยวกับผลบวก มากกว่าผลลบ
  • บริษัทอเมริกันจะเน้นการกล่าวถึงผลบวกมากกว่าบริษัทญี่ปุ่น ซึ่งแสดงว่าบริษัทญี่ปุ่นสามารถยอมรับข้อมูลเชิงลบเกี่ยวกับองค์กรได้มากกว่า
  • ทั้งบริษัทอเมริกันและญี่ปุ่นจะอ้างเหตุภายในสำหรับผลบวก (คืออ้างว่าผลบวกเกิดจากความสามารถการกระทำของบริษัท)
  • บริษัทญี่ปุ่นจะโทษปัจจัยภายนอกสำหรับผลลบมากกว่าบริษัทอเมริกัน

ดังนั้น โดยรวม ๆ แล้ว นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่มีมติร่วมกันว่า ความแตกต่างทางวัฒนธรรมมีผลต่อความเอนเอียงนี้อย่างไรแต่ว่า ดูเหมือนว่าจะมีความแตกต่างอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกและวัฒนธรรมอื่น ๆ

บทบาท

งานวิจัยที่แยกบทบาทของผู้ร่วมการทดลองเป็นผู้ทำงานหรือผู้สังเกตการณ์ผู้ทำงาน พบความคล้ายคลึงกับปรากฎการณ์ actor-observer asymmetry (อสมมาตรระหว่างผู้ทำงานกับผู้สังเกตการณ์)คือ ผู้ทำงานจะแสดงความเอนเอียงรับใช้ตนเองในการให้เหตุผลความสำเร็จหรือความล้มเหลวของงานแต่ผู้สังเกตการณ์ผลงานของผู้อื่นจะมีการให้เหตุผลที่ต่างกัน[10] คือ ผู้สังเกตการณ์มักจะมีความเป็นกลางมากกว่าในการยกปัจจัยภายในและภายนอกว่าเป็นเหตุของผลงานที่ได้นี้อาจจะเป็นเพราะว่า นี่เป็นเรื่องของภาพพจน์ของผู้ทำงานโดยตรง และดังนั้น ผู้ทำงานจะต้องพิทักษ์ภาพพจน์ของตนส่วนผู้สังเกตการณ์ไม่มีความโน้มเอียงในการพิทักษ์ภาพพจน์ของผู้อื่น[24]

ความภูมิใจในตนและอารมณ์

อารมณ์ต่าง ๆ สามารถมีอิทธิพลต่อความรู้สึกภูมิใจในตน (self-esteem)ซึ่งก็จะมีผลต่อความรู้สึกว่าต้องทำการปกป้องภาพพจน์ของตนเชื่อกันว่าบุคคลที่มีความภูมิใจในตนสูง จะมีการพิทักษ์รักษาภาพพจน์ของตนมากกว่าและดังนั้น ก็จะแสดงความเอนเอียงรับใช้ตนมากกว่าผู้ที่มีความภูมิใจในตนที่ต่ำกว่า[10] ในงานวิจัยหนึ่ง ผู้ร่วมการทดลองที่ทำให้เกิดอารมณ์คือความรู้สึกผิด หรือขยะแขยง มีโอกาสน้อยลงที่จะอ้างเหตุรับใช้ตนเองในความสำเร็จ และอ้างเหตุปกป้องตนเองในความล้มเหลว[15] นักวิจัยในงานนี้สรุปว่า อารมณ์คือความรู้สึกผิดหรือความรู้สึกขยะแขยงลดระดับความภูมิใจในตนและดังนั้น จึงลดระดับความเอนเอียงรับใช้ตน

ความสำนึกตนและโอกาสพัฒนา

ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความสำนึกตน (self awareness) และความรู้สึกว่ามีโอกาสที่จะพัฒนา มีอิทธิพลต่อความเอนเอียงนี้[25] คือ บุคคลที่มีความสำนึกตนสูง จะอ้างเหตุภายในว่าทำให้เกิดความล้มเหลวเมื่อรู้สึกว่า มีโอกาสสูงที่จะพัฒนาในงานนั้นแต่ว่า จะเกิดความเอนเอียงนี้ คือโทษปัจจัยภายนอก เมื่อรู้สึกว่า มีโอกาสน้อยที่จะพัฒนาในงานนั้นส่วนบุคคลที่มีความสำนึกตนน้อย จะโทษปัจจัยภายนอกไม่ว่าโอกาสการพัฒนาในงานจะมีแค่ไหน

ใกล้เคียง

ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเจ็บปวด ความเหนือกว่าเทียม ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเครียด (จิตวิทยา) ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง http://www.aserenko.com/papers/IwC_Published_Scape... http://www.timothy-judge.com/Judge,%20LePine,%20an... //doi.org/10.1002%2Fejsp.2420120402 //doi.org/10.1007%2Fs12144-011-9121-2 //doi.org/10.1016%2F0191-8869(92)90129-D //doi.org/10.1016%2Fj.intcom.2006.07.005 //doi.org/10.1016%2Fj.jad.2012.01.041 //doi.org/10.1016%2Fj.ssci.2005.06.006 //doi.org/10.1016%2Fs1053-8119(03)00331-8 //doi.org/10.1037%2F%2F0022-3514.82.1.49