องค์ประกอบ ของ ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี

องค์ประกอบที่นำไปสู่ความเอนเอียงนี้สามารถแยกออกเป็นสี่กลุ่ม คือ[3]

  • ผลที่พึงประสงค์เมื่อมีการเปรียบเทียบ
  • กลไกทางประชาน
  • ข้อมูลที่เรามีเกี่ยวกับตนและคนอื่น
  • อารมณ์โดยทั่ว ๆ ไป

ซึ่งจะอธิบายต่อไป

ผลที่พึงประสงค์เมื่อมีการเปรียบเทียบ

ทฤษฎีอธิบายความเอนเอียงประเภทนี้หลายอย่างแสดงว่า เป้าหมาย (goals) และสิ่งที่ต้องการที่จะเห็นเป็นผล (desired outcome) ของบุคคล เป็นเหตุหนึ่งของความเอนเอียง[3] คือ เรามักจะเห็นความเสี่ยงของเราน้อยกว่าคนอื่นเพราะเชื่อว่า เป็นสิ่งที่คนอื่นต้องการจะเห็นในเราทฤษฎีเหล่านี้รวมทั้ง

  • การยกตน (self-enhancement)
  • การบริหารความประทับใจ (Impression management)
  • และความรู้สึกว่าควบคุมได้ (perceived control)

การยกตน

ทฤษฎีการยกตนเสนอว่า การมองในแง่ดีเป็นสิ่งที่น่าพึงใจและทำให้รู้สึกดี เมื่อคิดว่า สิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้น[3] เราสามารถควบคุมความกังวลไม่สบายใจและอารมณ์เชิงลบอื่น ๆ ถ้าเชื่อว่า เราดีกว่าคนอื่น[3] เรามักจะสนใจหาข้อมูลสนับสนุนสิ่งที่เราต้องการให้เกิดขึ้น มากกว่าข้อมูลที่จะแสดงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเราจริง ๆ[3] ทฤษฎีความเอนเอียงโดยมองในแง่ดีเสนอว่า เราจะพยากรณ์เหตุการณ์ในเชิงบวก เพราะเป็นสิ่งที่เราหวังให้เกิดขึ้นซึ่งบอกเป็นนัยด้วยว่า เราอาจจะลดค่าความเสี่ยงของตนเมื่อเทียบกับคนอื่น เพื่อให้ตนดูดีกว่าคนอื่นโดยเฉลี่ยคือเพราะมีความเสี่ยงน้อยกว่าผู้อื่น ดังนั้นจึงดีกว่าผู้อื่น[3]

การบริหารความประทับใจ

งานวิจัยต่าง ๆ แสดงว่า เราพยายามที่จะสร้างและรักษาภาพพจน์ที่พึงปรารถนาของตนในวงสังคมคือ เรามีแรงจูงใจที่จะแสดงตนในภาพพจน์ที่ดีต่อผู้อื่น ดังนั้น นักวิจัยบางพวกจึงเสนอว่า ความเอนเอียงนี้เป็นตัวแทนของกระบวนการบริหารความประทับใจคือ เราต้องการที่จะปรากฏว่าดีกว่าคนอื่นแต่ว่า นี่ไม่ใช่ความพยายามโดยจงใจ คือเกิดขึ้นใต้จิตสำนึกในงานวิจัยหนึ่งที่ผู้ร่วมการทดลองเชื่อว่า จะมีการทดสอบความสามารถในการขับรถของตนโดยเหตุการณ์จริง ๆ หรือในความจริงเสมือนคนที่เชื่อว่าจะมีการทดสอบ จะมีความเอนเอียงแบบนี้น้อยกว่า และจะถ่อมตนมากกว่า เมื่อให้คะแนนทักษะการขับรถของตน เทียบกับบุคคลผู้ที่เชื่อว่าจะไม่มีการทดสอบ[11]

มีงานวิจัยที่เสนออีกด้วยว่า บุคคลที่แสดงตนเองในแง่ร้ายมักจะมีการยอมรับน้อยกว่าจากสังคม[12] ซึ่งเป็นเหตุอย่างหนึ่งที่สนับสนุนการมองในแง่ดีมากเกินไป

ความรู้สึกว่าควบคุมได้

เรามักจะมีความเอนเอียงเช่นนี้มากกว่าเมื่อเชื่อว่า เราสามารถควบคุมเหตุการณ์ในสถานการณ์นั้นมากกว่าคนอื่น[3][9][13] ยกตัวอย่างเช่น เรามักจะคิดว่า เราจะไม่เกิดความบาดเจ็บเพราะอุบัติเหตุรถยนต์ถ้าเราเป็นคนขับ[13] อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าเราเชื่อว่า เรามีระดับความควบคุมสูงในการติดเอดส์เราก็จะมีโอกาสมากกว่าที่จะเห็นว่า โอกาสเสี่ยงในการติดโรคของเรามีน้อย[8] มีงานวิจัยหลายงานที่เสนอว่า เรายิ่งรู้สึกว่าเรามีความควบคุมสูงเท่าไร ก็จะมีความเอนเอียงโดยมองในแง่ดีสูงขึ้นเท่านั้น[13][14] เพราะฉะนั้น ความรู้สึกว่าควบคุมได้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญเมื่อประเมินความเสี่ยงของตนเอง แต่ไม่ใช่เมื่อประเมินความเสี่ยงของคนอื่น[9][13]

งาน meta-analysis ที่สืบหาความสัมพันธ์ระหว่างความเอนเอียงนี้กับความรู้สึกว่าควบคุมได้พบว่า มีตัวแปร moderator อื่น ๆ ที่สนับสนุนส่งเสริมความสัมพันธ์[9] ในงานวิจัยที่ผ่านมา ผู้ร่วมการทดลองจากสหรัฐอเมริกาโดยทั่วไปมีค่าความสัมพันธ์ ระหว่างความเอนเอียงโดยมองในแง่ดีและความรู้สึกว่าควบคุมได้ สูงกว่าประเทศอื่น ๆนอกจากนั้นแล้ว นักเรียนนักศึกษามักจะมีความเอนเอียงนี้ในระดับที่สูงกว่ากลุ่มชนอื่น ๆ[9] แบบงานวิจัยยังแสดงความแตกต่างกันของความสัมพันธ์ระหว่างความเอนเอียงนี้กับความรู้สึกว่าควบคุมได้คือ งานวิจัยที่ใช้การวัดโดยตรงเสนอว่า มีความสัมพันธ์กันระหว่างความเอนเอียงนี้กับความรู้สึกว่าควบคุมได้สูงกว่าเมื่อเทียบกับงานวิจัยที่ใช้การวัดโดยอ้อม[9] ความเอนเอียงนี้มีกำลังสูงสุดในสถานการณ์ที่บุคคลต้องพึ่งการกระทำของตน และมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ[9]

องค์ประกอบมีผลตรงกันข้ามกับความรู้สึกว่าควบคุมได้ก็คือ ประสบการณ์ที่มีมาก่อน[8] นั่นก็คือ ประสบการณ์ที่มีมาก่อนมักจะสัมพันธ์กับความมีความเอนเอียงนี้ในระดับที่ต่ำกว่าซึ่งงานวิจัยบางงานเสนอว่า มาจากการลดความรู้สึกว่า สามารถควบคุมเหตุการณ์ได้ หรือว่า ทำให้ง่ายขึ้นที่จะคิดว่า ตนมีโอกาสเสี่ยง[8][14] ประสบการณ์ก่อน ๆ ทำให้คิดได้ว่า เหตุการณ์ต่าง ๆ อาจจะควบคุมได้น้อยกว่าที่เคยเชื่อมาก่อน ๆ[8]

กลไกทางประชาน

ความเอนเอียงนี้อาจจะได้รับอิทธิพลจากกลไกทางประชาน 3 อย่างที่ใช้ในการประเมินและการตัดสินใจ คือrepresentativeness heuristic (ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน), singular target focus (จุดเป้าหมายที่มีอันเดียว), และ interpersonal distance (ความเหินห่างระหว่างบุคคล)[3]

ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน

การประเมินความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ ที่เกี่ยวกับความเอนเอียงนี้ อาศัยว่า เหตุการณ์หนึ่งจะเหมือนกับไอเดียทั่วไปของเราเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นอย่างไร[3] คือ มีนักวิชาการบางท่านที่เสนอว่า representativeness heuristic (ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน) เป็นเหตุอย่างหนึ่งของความเอนเอียงนี้ซึ่งก็คือเรามักจะคิดถึงตัวอย่างประเภท (stereotypical categories) แทนที่จะคิดถึงตัวอย่างนั้นโดยตรงเมื่อทำการเปรียบเทียบ[14] ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีการให้คนขับรถคิดถึงอุบัติเหตุรถยนต์ ผู้ขับก็มักจะคิดถึงคนขับรถที่ไม่ดี มากกว่าคนขับรถโดยทั่ว ๆ ไป[3] คือ เรามักจะเปรียบเทียบกับตัวอย่างไม่ดีที่นึกได้มากกว่าจะทำการเปรียบเทียบที่แม่นยำกว่าโดยทั่ว ๆ ไประหว่างตนเองกับคนขับรถอื่น ๆ นอกจากนั้นแล้ว เมื่อเราเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อน เรามักจะเลือกเพื่อนที่แย่กว่าในเหตุการณ์ที่กำลังพิจารณา[15] คือ เรามักจะเลือกเพื่อนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะเพราะว่าคล้ายกับตัวอย่างที่เป็นประเด็น มากกว่าจะเลือกเพื่อนทั่ว ๆ ไป (แทนที่เพื่อนที่มีลักษณะเป็นกลาง ๆ โดยเฉลี่ย)[15] นี่เป็นการหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคำถาม ซึ่งเป็นลักษณะของฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน

จุดเป้าหมายที่มีอันเดียว

ความยากลำบากอย่างหนึ่งในการแก้ความเอนเอียงนี้ก็คือ เราจะรู้จักตัวเราเองดีกว่าคนอื่นดังนั้น แม้เราจะคิดถึงตนเองว่าเป็นบุคคลคนหนึ่งแต่เรากลับคิดถึงผู้อื่นโดยความเป็นกลุ่มบุคคลซึ่งนำไปสู่การประเมินค่าที่เอนเอียง และความไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจอย่างพอเพียงต่อบุคคลที่เปรียบเทียบ หรือกลุ่มที่เปรียบเทียบโดยนัยเดียวกัน เมื่อทำการประเมินหรือทำการเปรียบเทียบความเสี่ยงของตนเทียบกับผู้อื่นเราโดยทั่ว ๆ ไปจะไม่ใส่ใจในบุคคลทั่ว ๆ ไป (คนกลาง ๆ โดยเฉลี่ย) แต่จะไปสนใจคนที่ตรงกับความรู้สึกและประสบการณ์ของตนเอง[3]

ความเหินห่างระหว่างบุคคล

อีกอย่าง ความแตกต่างของการประเมินความเสี่ยง จะขึ้นอยู่กับว่า บุคคลที่เป็นเป้าหมายเปรียบเทียบ เหมือนหรือไม่เหมือนกับผู้ที่กำลังทำการเปรียบเทียบ[3] ยิ่งรู้สึกว่าห่างกันมากเท่าไร ค่าประเมินความเสี่ยงก็จะแตกต่างกันมากเท่านั้นแต่ถ้าทำให้ผู้ที่เป็นเป้าหมายเปรียบเทียบใกล้กับผู้เปรียบเทียบมากยิ่งขึ้นค่าประเมินความเสี่ยงก็จะแตกต่างกันน้อยลง[3] มีหลักฐานอยู่บ้างว่า ความรู้สึกเกี่ยวกับความห่างทางสังคม (social distance) มีผลต่อระดับความเอนเอียงโดยมองในแง่ดี[16] คือ ถ้าเทียบกับบุคคลใน in-group (วงสังคมของตนเอง) ค่าประเมินระหว่างตนกับคนอื่น จะมีความใกล้เคียงกว่าเมื่อมีการเทียบกับบุคคลอื่นใน outer-group (กลุ่มนอกสังคมของตน)[16] ในงานวิจัยหนึ่ง นักวิจัยจัดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางสังคมของกลุ่มที่เปรียบเทียบโดยที่ผู้ร่วมการทดลองทำการตัดสินโดยใช้กลุ่มเปรียบเทียบสองกลุ่มคือ นักเรียนทั่วไปที่มหาวิทยาลัยของตน และนักเรียนทั่วไปที่อีกมหาวิทยาลัยหนึ่งผลงานวิจัยแสดงว่า เราไม่ใช่เพียงแต่ทำการเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีฐานะทางสังคมใกล้กว่าเราก่อนเท่านั้นแต่ความแตกต่างค่าประเมินความเสี่ยงระหว่างเรากับคนในกลุ่มของเราเองน้อยกว่า ค่าประเมินระหว่างเรากับคนในกลุ่มอื่นอีกด้วย[16]

งานวิจัยหลายงานยังพบอีกด้วยว่า เรามีความเอนเอียงโดยมองในแง่ดีเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นที่ไม่รู้จักดี ในระดับที่สูงกว่าแต่ความเอนเอียงจะลดลงถ้าผู้เป็นเป้าหมายเปรียบเทียบเป็นคนคุ้นเคย เช่นเพื่อนหรือสมาชิกครอบครัวซึ่งเป็นเพราะเรามีข้อมูลเกี่ยวกับคนใกล้ตัวแต่ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับคนอื่น[7]

ข้อมูลเกี่ยวกับตนและกับผู้เป็นเป้าหมายเปรียบเทียบ

เรามีข้อมูลเกี่ยวกับตนเองมากกว่าเรามีเกี่ยวกับผู้อื่น[3] ทำให้เราสามารถประเมินค่าความเสี่ยงของเราได้อย่างเฉพาะเจาะจงแต่ทำให้ยากที่จะประเมินความเสี่ยงของผู้อื่นได้ซึ่งเป็นผลให้เกิดความแตกต่างของความเห็นและข้อสรุปที่มีในเรื่องความเสี่ยงของตนเทียบกับของผู้อื่นทำให้เกิดความเอนเอียงโดยมองในแง่ดีในระดับที่สูงขึ้น (คือมีความแตกต่างกันของค่าเปรียบเทียบที่มากขึ้น)[3]

ความเอนเอียงเพราะเหมือนมนุษย์

Person-positivity bias (ความเอนเอียงเพราะเหมือนมนุษย์) เป็นความโน้มเอียงที่จะให้คะแนนวัตถุหนึ่งดีกว่าวัตถุอื่น เพราะเหมือนกับมนุษย์มากกว่าโดยทั่วไปแล้ว วัตถุเป้าหมายยิ่งเหมือนกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งมากเท่าไร ก็จะมีความรู้สึกคุ้นเคยกับวัตถุนั้นมากขึ้นเท่านั้นแต่กลุ่มบุคคลกลับเป็นความคิดที่เป็นนามธรรมมากกว่าทำให้เกิดความคิดเห็นที่ดีได้น้อยกว่าความเอนเอียงเพราะเหมือนมนุษย์สามารถอธิบายความเอนเอียงโดยมองในแง่ดีได้ว่า เมื่อเราเทียบตนเองกับคนอื่นโดยทั่วไป (คนระดับกลาง ๆ) ไม่ว่าจะเป็นคนเพศเดียวกันหรือคนวัยเดียวกันผู้เป็นเป้าหมายเปรียบเทียบกลับดูเหมือนมนุษย์น้อยกว่า เหมือนกับบุคคลน้อยกว่าซึ่งทำให้เกิดความแตกต่างกันระหว่างตนกับผู้อื่น[3]

ความคิดมีตนเป็นศูนย์กลาง

Egocentric thinking (ความคิดมีตนเป็นศูนย์กลาง) หมายถึงการที่เรารู้ข้อมูลและความเสี่ยงของตนเอง พอที่จะสามารถใช้ในการประเมินและการตัดสินใจแต่ว่า แม้ว่าเราจะมีข้อมูลมากเกี่ยวกับตนเอง เรากลับไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้อื่นดังนั้น เมื่อจะทำการตัดสินใจ เราต้องใช้ข้อมูลอื่นที่เรามี เช่นข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่ม ใช้เพื่อที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับผู้ที่เป็นเป้าหมายมากยิ่งขึ้น[3] นี้อาจจะมีความสัมพันธ์กับความเอนเอียงประเภทนี้ เพราะว่า แม้ว่าเราจะสามารถใช้ข้อมูลที่มีเกี่ยวกับตน แต่เรากลับมีความยากลำบากในการเข้าใจข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้อื่น[3] ความคิดมีตนเป็นศูนย์กลางเช่นนี้พบได้บ่อยครั้งกว่าในเด็กวัยรุ่นและเด็กมหาวิทยาลัย ที่มักจะคิดถึงตนเองมากกว่าผู้อื่นโดยรวม ๆ[17]

แต่ว่า มีวิธีหลีกเลี่ยงแนวคิดแบบมีตนเป็นศูนย์กลางในงานวิจัยหนึ่ง นักวิจัยให้ผู้ร่วมการทดลองกลุ่มหนึ่งทำรายการองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจะได้ประสบเหตุการณ์ต่าง ๆ แล้วให้อีกกลุ่มหนึ่งอ่านรายการนั้นกลุ่มที่อ่านรายการจะแสดงความเอนเอียงโดยมองในแง่ดีน้อยกว่าดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่า ความรู้ที่ดีขึ้นเกี่ยวกับคนอื่น และเกี่ยวกับความรู้สึกผู้อื่นในเรื่องโอกาสเสี่ยง จะทำกลุ่มเป้าหมายให้เข้ามาใกล้ตัวเรามากยิ่งขึ้น[14]

การประเมินความสามารถในการควบคุมของผู้อื่นต่ำเกินไป

ในทฤษฎีความคิดมีตนเป็นศูนย์กลาง มีความเป็นไปได้ที่เราจะประเมินความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ของผู้อื่น (ที่เป็นกลาง ๆ โดยเฉลี่ย) ต่ำเกินไปซึ่งสามารถอธิบายได้โดย 2 แนว คือ

  1. เราประเมินการควบคุมเหตุการณ์ในชีวิตของผู้อื่นต่ำเกินไป[14]
  2. เรามองข้ามอย่างสิ้นเชิงว่า คนอื่นสามารถควบคุมผลในชีวิตได้

ยกตัวอย่างเช่น คนสูบบุหรี่อาจจะคิดว่า ตนได้ทำการป้องกันเพื่อที่จะไม่เป็นโรคมะเร็งปอดไว้แล้วเช่น สูบบุหรี่แค่วันละหนเดียว หรือใช้ก้นกรอง และเชื่อว่า คนอื่นไม่ได้ใช้วิธีการป้องกันเหมือนกันกับตนแต่จริง ๆ แล้ว ก็จะมีคนสูบบุหรี่อื่นมากมายที่ทำการป้องกันอย่างเดียวกันนั่นแหละ[3]

อารมณ์โดยทั่ว ๆ ไป

องค์ประกอบสุดท้ายของความเอนเอียงนี้ก็คืออารมณ์โดยทั่ว ๆ ไป และประสบการณ์ทางอารมณ์มีงานวิจัยที่แสดงว่า เรามีความเอนเอียงชนิดนี้ในระดับที่ต่ำกว่า เมื่อกำลังมีอารมณ์เชิงลบและมีในระดับที่สูงกว่า เมื่อมีอารมณ์เชิงบวกอารมณ์ที่ทำให้เศร้าใจสะท้อนถึงการระลึกถึงเหตุการณ์ที่ไม่ดี ซึ่งเพิ่มความคิดเห็นเชิงลบในขณะที่อารมณ์ดีจะโปรโหมตการระลึกถึงเหตุการณ์ดี ๆ และความรู้สึกที่ดี[3] ซึ่งบอกเป็นนัยว่า โดยรวม ๆ แล้ว อารมณ์ที่ไม่ดี รวมทั้งภาวะซึมเศร้า มีผลเป็นการเพิ่มค่าประเมินความเสี่ยงของตน ซึ่งทำให้มีความเอนเอียงโดยมองในแง่ดีที่ลดลง[8] นอกจากนั้นแล้ว ความวิตกกังวลยังนำไปสู่ระดับความเอนเอียงนี้ที่ต่ำลง ซึ่งก็สนับสนุนสมมติฐานว่า ประสบการณ์ดี ๆ โดยทั่ว ๆ ไป และทัศนคติที่ดี จะมีผลเป็นระดับความเอนเอียงนี้ที่สูงขึ้นในการประเมินเหตุการณ์ต่าง ๆ[8]

ใกล้เคียง

ความเจ็บปวด ความเสียวสุดยอดทางเพศ ความเท่าเทียมทางเพศ ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี ความเหนือกว่าเทียม ความเครียด (จิตวิทยา) ความเสี่ยงมหันตภัยทั่วโลก ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง ความเป็นมาของตัวละครในเพชรพระอุมา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี http://findarticles.com/p/articles/mi_6894/is_1_11... http://www.informaworld.com/index/784101725.pdf http://search.proquest.com/docview/61536420/136283... http://www.ted.com/talks/tali_sharot_the_optimism_... http://users.dickinson.edu/~helwegm/PDFVersion/The... http://users.dickinson.edu/~helwegm/pdfversion/do_... http://www2.dickinson.edu/departments/psych/helweg... http://www.psych.ufl.edu/~shepperd/articles/PsychB... http://www.unc.edu/~ntbrewer/pubs/2007,%20brewer,%... http://faculty.weber.edu/eamsel/Classes/Adolescent...