สาเหตุ ของ ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต

ปี 1958-1959 โดยเหมา เจ๋อตงไม่ไว้ใจสหภาพโซเวียตที่เป็นพันธมิตรของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน[2] ในปี 1959 ครุชชอฟ พบกับ ไอเซนฮาวร์ (1953-1961) เพื่อลดความตึงเครียดทางการเมืองกับโลกตะวันตก สหภาพโซเวียตได้สละความช่วยเหลือในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของจีนและไม่ได้เข้าข้างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนในสงครามจีน-อินเดีย (1962)

เหมาคาดว่าการตอบโต้ในเชิงรุกจาก ครุชชอฟ ในอุบัติการณ์ยู-2 ที่เกิดขึ้นในปี 1960 จะทำให้โซเวียตเลิกคิดที่จะอยู่ร่วมกันกับกลุ่มชาติตะวันตก ครุชชอฟเรียกร้องคำขอโทษอย่างเป็นทางการจากประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ที่ประชุมสุดยอดปารีส 1960 แต่ไอเซนฮาวร์ปฏิเสธ เหมาและครุชชอฟตีความการกระทำเช่นนี้ว่า ไอเซนฮาวร์ปรามาสประเทศสังคมนิยมทั้งหมด จีนตอบโต้ด้วยเรียกร้องให้ ครุชชอฟ ใช้กองกำลังกระทำการต่อต้านการรุกรานของอเมริกา เมื่อ ครุชชอฟ ไม่ตอบสนองก็เกิดถกเถียงกันในที่ประชุมบูคาเรสต์ของโลกคอมมิวนิสต์และภาคีแรงงาน แต่ละฝ่ายต่างโจมตีอุดมการณ์ของอีกฝ่าย เหมาต่อกล่าวว่าเน้น ครุชชอฟ ว่า “คนที่อ่อนแอ” ครุชชอฟ โต้กลับ เหมา โดยกล่าวว่า “เป็นคนบ้าไร้สติ”[3]

ในที่สุด ปี 1962 ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพโซเวียตก็ตัดความสัมพันธ์ เหมาวิพากษ์วิจารณ์ครุชชอฟ ในวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา (1962) ครุชชอฟตอบด้วยความโกรธว่าความคิดแบบเหมาจะนำไปสู่​​สงครามนิวเคลียร์ ในเวลาเดียวกันโซเวียตเข้าข้างอินเดียในสงครามจีน-อินเดีย (1962)

ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต ก็เริ่มตั้งแต่ตอนนั้น โดยโซเวียตตอบโต้โดยนำนักวิทยาศาสตร์และช่างเทคนิคโซเวียต 1,400 คนออกจากประเทศจีนที่นำไปสู่การยกเลิกโครงการมากกว่า 200 โครงการในจีน รวมถึงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และการอวกาศ การถอนตัวจากประเทศจีนทำให้เกิดความล้มเหลวทางเศรษฐกิจจีน และแผนการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้าล้มเหลว

ใกล้เคียง

ความแพร่หลายของภาษาสเปน ความแตกแยกระหว่างตีโต-สตาลิน ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียต ความแม่นยำเท็จ ความแปรปรวนร่วมเกี่ยว ความแข็งของธาตุ (หน้าข้อมูล) ความแปรปรวนของสภาพอากาศ ความแป้น ความแข็งแกร่งของรหัสผ่าน ความแผ่รังสี