งานวิจัยเกี่ยวกับหน้าที่ ของ คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า

กรณีที่ใช้ในการวิจัยถึงหน้าที่ของ PFC ที่มีอิทธิพลมากที่สุดอาจจะเป็นกรณีของนายฟิเนียส์ เกจ (อังกฤษ: Phineas Gage) ผู้มีสมองกลีบหน้าด้านซ้ายเสียหาย เนื่องจากแท่งเหล็กที่แทงทะลุศีรษะของเขาในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1848 อาการที่ปรากฏ[6]ก็คือ แม้ว่านายเกจจะมีความจำ การพูดจา และการเคลื่อนไหวที่ปกติ บุคลิกของเขานั้นเปลี่ยนไปอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ เขากลายเป็นคนที่ฉุนเฉียว โกรธง่าย และขาดความอดทน ล้วนแต่เป็นบุคลิกภาพที่เขาไม่ได้มีมาแต่เดิม จนกระทั่งว่า เพื่อนของเขากล่าวถึงเขาว่า "ไม่ใช่นายเกจอีกต่อไป" และเมื่อเทียบกับเมื่อก่อนที่เป็นคนงานที่มีความสามารถและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายเหลังเขากลายเป็นผู้ที่จับจดทำงานอะไรๆ ก็ไม่เสร็จ แต่น่าสนใจว่า มีงานวิเคราะห์หลักฐานชั้นต้นอย่างละเอียดที่แสดงว่า คำพรรณนาถึงความเปลี่ยนแปลงทางจิตของนายเกจมักจะเกินเลยไป เมื่อเทียบกับคำพรรณนาของแพทย์ของนายเกจ และที่สำคัญก็คือ ความเปลี่ยนแปลงที่มีผู้พรรณนาหลังการสิ้นชีวิตของนายเกจ น่าทึ่งใจมากกว่าความเปลี่ยนแปลงที่มีผู้พรรณนาก่อนนายเกจสิ้นชีวิต[7][8]

งานวิจัยต่อๆ มาในคนไข้ที่มีความเสียหายใน PFC แสดงว่า คนไข้สามารถพูดถึงพฤติกรรมที่เหมาะสมทางสังคมในสถานการณ์หนึ่งๆ แต่ว่า เวลาทำจริงๆ คนไข้กลับมีพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการระยะสั้น ทั้งๆ ที่รู้ว่าผลระยะยาวของพฤติกรรมที่ทำนั้นจะไม่เกื้อกูลแก่ตน

การตีความหมายของข้อมูลนี้อย่างหนึ่งก็คือ PFC ไม่ใช่มีหน้าที่เพียงแค่เปรียบเทียบและเข้าใจถึงผลในอนาคตของการกระทำเท่านั้น แต่ยังควบคุมการเลือกเฟ้นเป้าหมายภายในใจ ที่มีผลในการระงับความต้องการระยะสั้น เพื่อจะได้ผลที่สนองความต้องการระยะยาวที่ดีกว่าและให้ประโยชน์มากกว่า สมรรถภาพในการรอผลเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่แสดงความยอดเยี่ยมของกิจบริหารในสมองมนุษย์

มีงานวิจัยจำนวนมากที่มุ่งเพื่อเข้าใจบทบาทของ PFC ในความผิดปกติทางประสาท ความปกติหลายๆ อย่าง เช่นโรคจิตเภท โรคประสาทสองขั้ว (bipolar disorder[9]) และ โรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder) มีความสัมพันธ์กับการทำงานผิดปกติของ PFC เพราะฉะนั้น การค้นพบการรักษาเยียวยาความผิดปกติเหล่านั้น จะมีได้ก็เพราะสมองส่วนนี้

แหล่งที่มา

WikiPedia: คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า http://universe-review.ca/I10-80-prefrontal.jpg http://www.psychologytoday.com/blog/hollywood-phd/... http://bama.ua.edu/~sprentic/672%20aggression-brai... http://braininfo.rprc.washington.edu/Scripts/ancil... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10526345 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10781101 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12217179 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16870732 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18507499 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19833485