ภูมิหลัง ของ คำประกาศพิลนิทซ์

ตั้งแต่เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 เป็นต้นมา จักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 2 ทรงเป็นกังวลขึ้นเรื่อย ๆ ถึงความปลอดภัยของพระนางมารี อ็องตัวแน็ต ผู้เป็นพระขนิษฐา รวมถึงครอบครัวของพระนาง แต่ก็ทรงรู้สึกว่า การเข้าแทรกแซงอย่างใด ๆ ในกิจการของประเทศฝรั่งเศสนั้น มีแต่จะทำให้พวกเขาเป็นอันตรายมากขึ้น[4] ขณะเดียวกัน ชนชั้นสูงชาวฝรั่งเศสหลายคนก็พากันหลบหนีออกจากประเทศไปอาศัยอยู่ในเพื่อนบ้าน แพร่กระจายความหวาดกลัวการปฏิวัติไปทั่ว และปลุกเร้าให้ต่างชาติช่วยกันหนุนพระเจ้าหลุยส์ที่ 16[5] ครั้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระราชวงศ์เสด็จหนีจากปารีสเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1791 โดยหวังจะไปยุยงให้เกิดการต่อต้านการปฏิวัติ (ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เรียกว่า การเสด็จหนีไปวาแรน) แล้ว พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ก็ทรงถูกจับกลับมาปารีส และทรงถูกกักขังไว้ภายใต้ความควบคุมของกองกำลังติดอาวุธ กระทั่งวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1791 จักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 2 ก็ทรงออกหนังสือเวียนปาโดวา (Padua Circular) เชิญชวนให้กษัตริย์ในยุโรปมาร่วมกันเรียกร้องให้ปล่อยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เป็นอิสระ[6]

ใกล้เคียง

คำประกาศอิสรภาพสหรัฐ คำประกาศเจตนารัสเซลล์–ไอน์สไตน์ คำประกาศพิลนิทซ์ คำประกาศบัลโฟร์ ค.ศ. 1926 คำประกาศอาร์โบรธ คำประกาศก่อตั้งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต คำประกาศของดยุกแห่งเบราน์ชไวค์ คำประพันธ์ คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง คำประกาศสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน