วัตถุประสงค์ ของ คำประกาศพิลนิทซ์

คำประกาศนี้เชิญชวนให้มหาอำนาจยุโรปเข้าแทรกแซงหากพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงถูกคุมคาม โดยมุ่งหมายจะให้เป็นคำเตือนต่อคณะปฏิวัติฝรั่งเศสว่า ให้เลิกละเมิดพระราชอำนาจของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และยอมให้พระองค์กลับคืนสู่อำนาจ[7]

คำประกาศนี้ว่า ถ้าบรรดามหาอำนาจอื่น ๆ ในยุโรปจะเปิดสงครามกับฝรั่งเศสแล้ว ออสเตรียก็จะร่วมด้วย จักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 2 ทรงเลือกใช้ถ้อยคำเช่นนี้เพื่อที่ว่า พระองค์จะไม่ต้องทรงถูกบีบให้เข้าสู่สงคราม พระองค์ทรงรู้ดีว่า วิลเลียม พิตต์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ไม่สนับสนุนการทำสงครามกับฝรั่งเศส แต่ก็ทรงออกคำประกาศนี้เพื่อให้เป็นที่พอใจของเหล่าชาวฝรั่งเศสผู้ลี้ภัยมาในประเทศของพระองค์และเรียกร้องให้ต่างชาติเข้าแทรกแซงบ้านเกิดเมืองนอนของพวกตน[ต้องการอ้างอิง]

(ส่วนการประชุมพิลนิทซ์เองมีเนื้อหาหลัก ๆ ว่าด้วยปัญหาโปแลนด์และสงครามระหว่างออสเตรียกับจักรวรรดิออตโตมัน)

ใกล้เคียง

คำประกาศอิสรภาพสหรัฐ คำประกาศเจตนารัสเซลล์–ไอน์สไตน์ คำประกาศพิลนิทซ์ คำประกาศบัลโฟร์ ค.ศ. 1926 คำประกาศอาร์โบรธ คำประกาศก่อตั้งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต คำประกาศของดยุกแห่งเบราน์ชไวค์ คำประพันธ์ คำประกาศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง คำประกาศสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน