คำร่วมเชื้อสายเทียม ของ คำร่วมเชื้อสาย

ดูบทความหลักที่: คำร่วมเชื้อสายเทียม

คำร่วมเชื้อสายเทียมคือคำที่ผู้คนส่วนมากเชื่อว่าเกี่ยวข้องกัน (มีต้นกำเนิดร่วมกัน) แต่การตรวจสอบทางภาษาศาสตร์ได้เปิดเผยว่ามันไม่เกี่ยวข้องกัน ตัวอย่างเช่นคำกริยา ในภาษาละตินและ ในภาษาเยอรมันแปลว่า "มี" ทั้งสองดูเหมือนจะเกี่ยวข้องกันหากมองแค่ที่ความคล้ายคลึงแบบผิวเผิน แต่ทว่าคำทั้งสองวิวัฒน์มาจากรากที่ต่างกัน โดยในกรณีนี้เป็นรากภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม (PIE) ที่ต่างกัน คำทั้งสองจึงไม่สามารถเป็นคำร่วมเชื่อสายกันได้ (ดูกฎของกริมม์สำหรับตัวอย่าง) คำว่า haben ในภาษาเยอรมันและ have ในภาษาอังกฤษมาจากราก *kh₂pyé- (จับ) ใน PIE และคำร่วมเชื้อสายแท้ในภาษาละตินคือคำว่า capere (ยึด จับ) ในทางตรงข้ามคำว่า habēre ในภาษาละตินมาจากราก *gʰabʰ (ให้ รับ) ใน PIE และคำร่วมเชื้อสายแท้ในภาษาอังกฤษที่มีรากเดียวกันคือคำว่า give (ให้) และ geben (ให้) ในภาษาเยอรมัน[9]

ในทางเดียวกันคำว่า much ในภาษาอังกฤษและ mucho ในภาษาสเปนดูคล้ายกันและมีความหมายคล้ายกันแต่ไม่ใช่คำร่วมเชื้อสาย เพราะทั้งสองวิวัฒน์มาจากรากต่างกัน: much มาจากราก *mikilaz ในภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิม < *meǵ- ใน PIE และ mucho มาจากคำว่า multum ในภาษาละติน < *mel- ใน PIE คำร่วมเชื้อสายแท้ของคำว่า much เป็นคำว่า maño แทนในภาษาสเปน[10]

แหล่งที่มา

WikiPedia: คำร่วมเชื้อสาย http://www.answers.com/topic/cognate http://www.etymonline.com/index.php?term=shirt http://www.etymonline.com/index.php?term=skirt http://www.ling.upenn.edu/courses/ling001/3-22.pdf http://www.cognates.org/ http://www.spanishcognates.org/ //www.worldcat.org/oclc/899159900 http://www.royin.go.th/?knowledges=%E0%B8%9A%E0%B8... https://books.google.com/books?id=3ZPQVuSgDAkC&pg=... https://web.archive.org/web/20100620051440/http://...