การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ของ คิม_แด-จุง

ความสำเร็จทางเศรษฐกิจ

การพบปะกับประธานาธิบดีบิล คลินตัน (ซ้าย) ในการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ที่ออกแลนด์ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2542คิม แด-จุง ในปี พ.ศ. 2542

คิม แด-จุง ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีท่ามกลางวิกฤตทางเศรษฐกิจที่โจมตีเกาหลีใต้ในปีสุดท้ายของสมัยประธานาธิบดี คิม ย็อง-ซัม การผลักดันการปฏิรูปทางเศรษฐกิจอย่างแน่วแน่และการปรับโครงสร้างตามคำแนะนำของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้[4] หลังจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร่วงลง 5.8 เปอร์เซ็นต์ ในปี พ.ศ. 2541 และโตขึ้น 10.2 เปอร์เซ็นต์ ในปี พ.ศ. 2542[2] นโยบายของเขาส่งผลให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในตลาด โดยมีการจัดการกับอำนาจของกลุ่มแชร์โบล (กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ในเกาหลีใต้) เช่น ทำให้เกิดความโปร่งใสกับกลุ่มแชร์โบลในการดำเนินการทางบัญชี การตัดลดการสนับสนุนทางการเงินแก่กลุ่มแชร์โบล

นโยบายเกี่ยวกับเกาหลีเหนือ

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน ร่วมรับประทานอาหารค่ำกับคิม แด-จุง

นโยบายของคิมเกี่ยวกับเกาหลีเหนือ มีชื่อว่านโยบายอาทิตย์ฉายแสง[2] เขาเริ่มผ่อนคลายความตึงเครียดกับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเกาหลีเหนือ ซึ่งนโยบายดังกล่าวนำไปสูงการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ในการประชุมของผู้นำทั้งสองในปี พ.ศ. 2543 ที่เปียงยาง ระหว่างคิม แด-จุง กับคิม จ็อง-อิล ถือเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างสองเกาหลี และเป็นการติดต่อกันโดยตรงของสองเกาหลีครั้งแรกนับแต่เกาหลีแยกออกจากกัน ผลจากการพยายามในครั้งนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่การประชุมครั้งนี้ก็มีรอยด่างพร้อย เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีการใช้เงินหลายร้อยล้านดอลลาร์ในการจ่ายให้กับทางเปียงยาง ในปี พ.ศ. 2546 พัก จี-ว็อน หัวหน้าคณะทำงาน ถูกตัดสินจำคุกสิบสองปี สำหรับข้อกล่าวหานี้ และในข้อกล่าวหาอื่นๆ โดยเขาใช้บทบาทของเขาในฮุนได จ่ายให้กับทางเกาหลีเหนือในการประชุมสุดยอดผู้นำของทั้งสองเกาหลี[15] เพื่อชักจูงใจให้เกาหลีเหนือเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ นักโทษที่จงรักภักดีกับเกาหลีเหนือที่ถูกจำคุกอยู่ที่เกาหลีใต้ได้ถูกปล่อยไปเกาหลีเหนือ[16] ผลกระทบจากนโยบายอาทิตย์ฉายแสงทำให้ถูกตั้งคำถามโดยหนังสือพิมพ์ของสหรัฐอเมริกา วิลลาจวอยส์ ว่าเงินที่โอนไปนั้นไปใช้ปกปิดความชั่วร้ายของรัฐบาลเกาหลีเหนือ[17]

ความสัมพันธ์กับอดีตประธานาธิบดีคนอื่นๆ

ภายหลังจากคิมชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีและย้ายเข้าพำนักในทำเนียบสีน้ำเงิน ไม่มีใครทราบว่าเขาจะจัดการอย่างไรกับตำแหน่งใหม่ของเขา เขาเคยถูกตัดสินประหารชีวิตโดยช็อน ดู-ฮวัน ช็อนและผู้สืบทอดของเขา โน แท-วู ได้ถูกตัดสินจำคุกในสมัยประธานาธิบดีคิม ย็อง-ซัม ก่อนที่จะได้รับอภัยโทษในสมัยคิม แด-จุง

ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี คิมได้ดำเนินการให้เกาหลีใต้เป็นรัฐสวัสดิการร่วมสมัย[18][19] ความสำเร็จดงกล่าวผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัว และนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ และส่งเสริมภาพลักษณ์ของเกาหลีใต้ในเวลาระดับโลกให้ดียิ่งขึ้น เช่น การเป็นเจ้าภาพร่วมกับญี่ปุ่น ในฟุตบอลโลก 2002 คิมครบวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2546 และโน มู-ฮย็อน ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากเขา ห้องสมุดประธานาธิบดีที่มหาวิทยาลัยย็อนเซ สร้างขึ้นก็รักษามรดกของคิมให้คงอยู่ต่อไป และศูนย์ประชุมคิม แด-จุง ก็สร้างตามชื่อของเขา ณ เมืองควังจู

แหล่งที่มา

WikiPedia: คิม_แด-จุง http://www.apakistannews.com/s-koreas-ex-president... http://www.atimes.com/koreas/BI05Dg01.html http://www.britannica.com/EBchecked/topic/317874/K... http://www.catholicnewsagency.com/news/john_paul_i... http://archives.cnn.com/2001/WORLD/asiapcf/east/06... http://www.cnn.com/WORLD/9802/24/s.korea.wrap/inde... http://news.donga.com/3/all/20090819/8768809/1 http://www.economist.com/node/14302282 http://news.hankooki.com/lpage/world/201109/h20110... http://articles.latimes.com/2009/aug/19/local/me-k...