ลิงก์ข้ามภาษา ของ คุยกับผู้ใช้:Sry85

สวัสดีค้ะ ดิฉันขอนุญาตปรึกษาเรื่องลิงก์ข้ามภาษาค่ะ ทดลองเขียนใน https://th.wikipedia.org/wiki/ผู้ใช้:Readthai/ทดลองเขียน

สามารถลงวิกิพีเดียภาษาไทยได้ไหมค้ะ ขอบคุณค้ะ

บทความต้นฉบับ: https://en.wikipedia.org/wiki/Suvicha_Mekangkul

--Readthai (คุย) 19:18, 13 พฤษภาคม 2563 (+07)

เนื้อยังน้อยมากครับ บอกแค่ว่าเป็นบล็อกเกอร์ กับเรียนที่ไหน เนื้อหามีแค่นี้จริง ๆ เนื้อหาที่มีเป็นข้อมูลทั่วไป ที่ประวัติทุกบุคคลต้องมี ไม่ได้แสดงความโดดเด่นอะไร--Sry85 (คุย) 20:59, 13 พฤษภาคม 2563 (+07)


ขอบคุณสำหรับคำแนะนำคะ เข้าใจว่าทุกคนสามารถเป็นบล็อกเกอร์ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่มีการกล่าวถึงจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิรวมถึงเว็บข่าวที่มีความน่าเชื่อถือ หรือ มีความโดดเด่น และผลงานของบล็อกเกอร์คนนี้ (ภาพถ่าย) ก็ได้รับการกล่าวถึงในหลายๆสื่อด้วย จึงอยากให้ Admin ช่วยพิจารณาเรื่องความโดดเด่นอีกครั้งค้ะ

ส่วนเรื่องเนื้อหาน้อย ดิฉันจะใส่ [โครงชีวประวัติ] เพื่อให้ผู้อื่นสามารถร่วมพัฒนาเพิ่มเนื้อหาบทความใหม่นี้ด้วย --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Readthai (พูดคุยหน้าที่เขียน) 04:50, 14 พฤษภาคม 2563 (ICT)

และกรณีนี้เป็นการแปลจากบทความจาก wiki ต่างประเทศมาทางดิฉันจะใส่ลิงก์ข้ามภาษาให้ถูกแนวปฏิบัติของ Wikipedia ด้วยค้ะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Readthai (พูดคุยหน้าที่เขียน) 04:50, 14 พฤษภาคม 2563 (ICT)

จึงขอความกรุณา Admin ช่วยพิจารณา ให้คำแนะนำด้วยค้ะ

ขอบคุณอีกครั้งนะคะ--Readthai (คุย) 04:50, 14 พฤษภาคม 2563 (+07)

ในฉบับภาษาอังกฤษ อ้างอิงภาษาไทยล้วน ต้องหาผู้มาตรวจสอบภาษาไทยได้ ส่วนภาษาไทยคนละนโยบายครับ บทความกลุ่มบันเทิงที่นี่ตรวจสอบเข้มข้น เพราะที่ผ่านมา มีการก่อกวน อ้างอิงที่บอกว่ากล่าวจากหลายสื่อ ก็ไม่ได้เชิงลึกขนาดนั้น เพราะระบุได้แต่การศึกษาเท่านั้นทุกแหล่ง ตอนนี่วิกิพีเดียก็มีระบบฉบับร่าง เขียนที่หน้านั้นก่อนได้ครับ--Sry85 (คุย) 12:49, 14 พฤษภาคม 2563 (+07)

สวัสดีค้ะ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำอีกครั้งนะค้ะ ดิฉันได้ทำการศึกษาแนวการเขียนจากบทความชีวประวัติใน wikipedia ภาษาไทย และได้เพิ่มเติมเนื้อหาบทความโดยอ้างอิงจากสื่อต่างๆเพิ่มเติมให้แล้วนะค้ะ https://th.wikipedia.org/wiki/ฉบับร่าง:สุวิชา_เมฆอังกูร

ฝาก Admin ช่วยพิจารณาด้วยค้ะ ขอบคุณมากนะค้ะ --Readthai (คุย) 19:33, 14 พฤษภาคม 2563 (+07)

ที่เขียนเรื่องความชอบและนิสัยส่วนตัวดิฉันเห็นจากบทความคุณภาพ https://th.wikipedia.org/wiki/อนันดา_เอเวอร์ริ่งแฮม ที่บอกว่าไม่เป็นสารานุกรมหมายถึงเนื้อหาหรือสไลต์การเขียนค้ะ ขอคำอธิบายจะทำการแก้ไขให้ค้ะ ขอบคุณค้ะReadthai (คุย) 20:16, 14 พฤษภาคม 2563 (+07)

เขียนราวกับเจ้าตัวมาเขียนเองครับ คนละโทนกันเลย อย่าเอาบทสัมภาษณ์เจ้าตัวถอดมาเขียน ต้องเป็นอ้างอิงมุมวิเคราะห์จากสื่ออื่น และอย่าเขียนเชิงชื่นชม สำนวนถอดจากนิตยสาร --Sry85 (คุย) 20:21, 14 พฤษภาคม 2563 (+07)

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค้ะ ทำการแก้ไขให้เรียบร้อยแล้ว โดยเขียนจากมุมวิเคราะห์สื่ออ้างอิงรายจุดและลบถ้อยคำชื่นชมและสำนวนนิตยสาร รบกวนช่วยพิจารณาอีกครั้งนะค้ะ ขอบคุณค้ะReadthai (คุย) 22:08, 14 พฤษภาคม 2563 (+07)

ไม่ต่างจากของเดิมเลยครับ การเปลี่ยนคำสรรพนาม ไม่ได้ทำให้โทนเปลี่ยน ผมว่าด้วยเพราะอ้างอิงที่ใช้ทำให้บทความนี้พัฒนาต่อไม่ได้ --Sry85 (คุย) 22:29, 14 พฤษภาคม 2563 (+07)

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค้ะ ดิฉันขอยกตัวอย่างบทความคุณภาพ อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม ทั้งบทความรวมถึง หัวข้อความสนใจและบุคลิกนิสัย มีการเขียนในโทนเดียวกันกับที่ดิฉันเขียน

อย่างไรก็ตามดิฉันก็ได้ทำตามคำแนะนำของ Admin โดยหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่มาจากเจ้าตัวโดยตรง (แม้เห็นได้เยอะใน อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม) และลบถ้อยคำเชิญชมของสื่อออกให้แล้วค่า

เนื่องจากกำลังเขียนถึง “ความสนใจ” และ “บุคลิกนิสัย” ของเจ้าตัว อยากให้ Admin ช่วยพิจารณาอนุโลมโทน ได้หรือไม่ค้ะ หรือไม่ช่วยอธิบายถึงความแตกต่างได้ไหมค้ะ จะได้นำไปปรับปรุงค่า

ขอบคุณมากๆนะค้ะ--Readthai (คุย) 23:09, 14 พฤษภาคม 2563 (+07)

ถ้าความสนใจ กับ บุคคลิกนิสัย ที่นำมาเขียนมาจาก บทสัมภาษณ์ของบุคคล เป็นมุมมองของตัวเอง ก็ไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่แท่นประชาสัมพันธ์ตนเอง อีกทั้งสำนวนการเขียนก็เป็นรูปแบบสำนวนนิตยสาร คุณเขียนไปเรื่อย ๆ ได้เลยครับ จะดูพิจารณาจากบทร่าง ถ้าผ่านไม่ผ่านจะพิจารณาอีกที ภายใน 6 เดือน--Sry85 (คุย) 23:16, 14 พฤษภาคม 2563 (+07)

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค้ะ ดิฉันเอาข้อมูลดังกล่าวออกให้แล้ว ขอรบกวนขอให้ Admin ช่วยพิจารณาเผยแพร่ฉบับร่างนี้ โดยคำนึงถึงบทความที่ผู้เขียนอาจไม่ได้มีประสบการณ์มากนักอย่างดิฉัน เช่น ปลื้ม พงษ์พิศาล สมิตพงศ์ สกุลพงศ์ชัย ให้นักเขียน Wikipedia ที่มีประสบการณ์พัฒนาคุณภาพโครงชีวประวัติต่อไป ยังไงต้องขอบคุณ Admin มากๆ ที่สละเวลาให้คำแนะนำดิฉันนะค้ะ--Readthai (คุย) 00:41, 15 พฤษภาคม 2563 (+07)

สวัสดีค่า หลังจากที่ทำตามคำแนะนำของ Admin ทั้งหมดและได้ศึกษานโยบายของวิกิพีเดียภาษาไทยอย่างละเอียด ดิฉันมีความเห็นว่าบทความฉบับร่างนี้สามารถขึ้นเป็นโครงบทความได้

1. WP:PEOPLE - ระบุว่าบุคคลคนหนึ่งมี “ความโดดเด่น” หากได้รับการกล่าวถึงอย่างสำคัญในแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือและไม่มีส่วนได้เสีย ซึ่ง ดิฉันได้อ้างอิงจากแหล่งข้อมูลดังกล่าวหลายสื่อ ซึ่ง 12 ใน 15 สื่อกล่าวถึงเจ้าตัวอย่างมีนัยสำคัญและสามารถพิสูจน์ยืนยันได้

2. วิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง - ดิฉันได้ปรับโทนการเขียนและเลี่ยงหัวข้อที่มีความสุ่มเสี่ยงเช่น “ความสนใจ” และ “บุคลิกนิสัย” และตัดถ้อยคำเขิงชื่นชมและสำนวนนิตยาสารออกทั้งหมดแล้วตามที่ Admin แนะนำซึ่งเนื้อหาทั้งหมดใน version ล่าสุดเป็นข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ยืนยันได้

3. วิกิพีเดีย:ระดับการเขียนบทความ - บทความนี้เข้าเงื่อนไขโครงบทความ “แม้ว่าเนื้อหาภายในยังไม่ครอบคลุม...อย่างไรก็ตามทุกคนชื่อว่าโครงคือก้าวแรกของการเริ่มต้นของบทความ” และยังเปิดโอกาสให้คนอื่นเข้ามาพัฒนาต่อด้วยค่า

ดิฉันเคารพและนับถือในความตั้งใจของ Admin ในการพัฒนาวิกิพีเดียภาษาไทยมาหลายปีนะค้ะ แต่อยากให้ Admin ช่วยเห็นใจคนเขียนที่ใช้เวลาศึกษาหาข้อมูลอ้างอิง สร้างบทความให้เป็นไปตามโยบายฯ ช่วยพิจารณาอนุมัติหรือให้คำอธิบายเพื่อไม่เป็นการบั่นทอนกำลังของผู้เขียนมือใหม่อย่างดิฉันด้วยนะค้ะ

ขอบคุณค่า--Readthai (คุย) 23:34, 15 พฤษภาคม 2563 (+07)

คุณยกมาก็ดีแล้ว จะได้ทำความเข้าใจ WP:PEOPLE - ระบุว่าบุคคลคนหนึ่งมี “ความโดดเด่น” หากได้รับการกล่าวถึงอย่างสำคัญในแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือ เน้นตัวหนาคำว่า อย่างสำคัญ อ้างอิงที่คุณใช้ล้วนใช้ในลักษณะ trivia คือกล่าวอย่างไม่สำคัญ เช่น อ้างอิงตรงคำว่า บล็อกเกอร์ท่องเที่่ยวและผู้มีชื่อเสียงชายชาวไทย ใช้อ้างอิงอย่างละ 5 ลิงก์ ให้พิจารณาคือ ลิงก์ที่คุณใช้เมื่อคลิกเข้าไปดู ก็สามารถอ้างอิงได้แค่ว่า "เป็นบล็อกเกอร์" ทั้งบทความใช้อ้างอิงได้แค่นี้ อย่างนี้เรียก กล่าวอย่างไม่สำคัญ เช่นเดียวกับหัวข้อ บล็อก คุณบอกได้รับการกล่าวถึงโดยหลายสื่อ แล้วก็ยกสื่อต่าง ๆ มา ใส่ลิงก์ อย่างนี้คือการกล่าวอย่างไม่สำคัญ ประเด็นนี้สำคัญในการพิจารณาครับ -- --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Sry85 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 23:45, 15 พฤษภาคม 2563 (ICT)


ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค้ะ ดิฉันขอชี้แจงด้วยความเคารพนะค้ะ ดิฉันเข้าใจว่า การกล่าวถึงอย่างสำคัญ (Significant Coverage) มีความหมายตามนโยบาย วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น#แนวปฏิบัติด้านความโดดเด่นทั่วไป

"การกล่าวถึงอย่างสำคัญ" หมายความว่า แหล่งข้อมูลได้กล่าวถึงหัวเรื่องในรายละเอียดโดยตรง ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีแหล่งข้อมูลต้นฉบับในการคัดย่อความเนื้อหา การกล่าวถึงอย่างสำคัญเป็นมากกว่าการกล่าวถึงในเชิงเกร็ด (trivial mention) แต่ไม่ถึงกับต้องเป็นหัวข้อหลักของแหล่งข้อมูลนั้น

เห็นได้ว่านโยบายกำลังพูดถึง ”แหล่งข้อมูล” ที่ได้กล่าวถึง “หัวเรื่อง” ในรายละเอียดโดยตรง ซึ่งอ้างอิงที่ดิฉันใช้ส่วนใหญ่ไม่เพียงแต่กล่าวถึง “สุวิชา” โดยตรง แต่ “สุวิชา” ยังเป็น “หัวข้อหลัก” ของแหล่งข้อมูลนั้นๆ ซึ่งจริงๆแล้วนโยบายไม่ได้บังคับ

นอกจากนั้นนโยบายไม่ได้บังคับให้เราต้องมี Significant Coverage ของหัวเรื่องในวิกิพีเดียตั้งแต่แรกไม่ใช่หรอค้ะ เพราะถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆหลายๆบทความที่มีคุณภาพทุกวันนี้คงจะไม่เกิด เพราะว่าหลายๆอันก็เริ่มมาจากโครงบทความ วิกิพีเดีย:โครง ที่นักเขียนหลายๆคน รวมถึง Admin เองช่วยกันพัฒนาจนมีคุณภาพถึงทุกวันนี้

อย่างไรก็ตามดิฉันจะลบอ้างอิงที่ไม่ได้กล่าวถึงหัวเรื่องโดยตรงให้หมด ให้เหลือแต่อ้างอิงที่มี Significant Coverage ตามนโยบายวิกิพีเดียภาษาไทยทาง Admin โอเครไหมค้ะ

ดิฉันขอขอบคุณ Admin อีกครั้งนะค้ะ ถึงแม้ดิฉันจะใหม่ แต่จะพยายามเรียนรู้ให้เร็วค้ะ ขอบคุณค้ะ --Readthai (คุย) 07:08, 16 พฤษภาคม 2563 (+07)

เน้นคำว่า "การกล่าวถึงอย่างสำคัญเป็นมากกว่าการกล่าวถึงในเชิงเกร็ด (trivial mention)" คุณตีความหมายว่า แค่มีหัวข้อพูดถึงเขา เป็นหัวข้อหลัก ก็ผ่านแล้ว อันนี้เป็นการประเมินของคุณ แต่ผมไม่ได้ประเมินแบบนั้น ถ้ากล่าวถึงอย่างสำคัญ อ้างอิงที่คุณมาใช้ คงมีเนื้อหาบทความยาวกว่านี้แล้ว ไม่ใช่มีแค่สถานที่เรียนกับอาชีพ สั้นกับเรซูเมสมัครเรียนอีก แล้วจะให้บันทึกเป็นสารานุกรมได้แล้ว? การจะผ่านการประเมินให้บันทึกเป็นสารานุกรม ก็พิจารณาหลายอย่าง ทั้งอ้างอิง เนื้อหาเขียนขนาดไหน มีเนื้อหาพอที่จะบันทึกมั๊ย สำนวนการเขียนยังไง ไม่ต้องรีบครับ เขียนที่หน้าฉบับร่างได้ มีเวลา 6 เดือนในการพิจารณา--Sry85 (คุย) 12:23, 16 พฤษภาคม 2563 (+07)

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่า ดิฉันได้เพิ่มรายละเอียดแล้วโดยอิงเนื้อหาและสำนวนการเขียนจากบทความคัดสันและบทความคุณภาพโดยใส่ไว้ให้ Admin พิจารณาอ้างอิงควบคู่กันในหน้าอภิปราย หาก Admin ดูจากอ้างอิงบทความคัดสรรแล้วยังเห็นว่าที่ดิฉันเขียนยังไม่เหมาะสม รบกวนขอรายละเอียดเพิ่มเติมเป็นความรู้ด้วยค่า

ขอบคุณมากๆนะค้ะ--Readthai (คุย) 04:34, 17 พฤษภาคม 2563 (+07)


สำนวนนิตยสาร เขียนในมุมมองตัวเอง ดูตัวอย่างสำนวนการเขียน en:Josh Marshall --Sry85 (คุย) 11:25, 17 พฤษภาคม 2563 (+07)

สวัสดีค้า Admin ก่อนอื่นดิฉันต้องขอขอบคุณ Admin ที่ช่วยให้ตัวอย่างการเขียนเป๋นแนวทางแก่ดิฉัน ดิฉันได้แก้ไขตามที่ Admin แนะนำแล้วในฉบับร่าง โดยเทียบลักษณะการเขียนให้ Admin พิจารณาในหน้าอภิปราย ค่า

ขอบคุณอีกครั้งและฝากแอดมินช่วยพิจารณาด้วยค่า--Readthai (คุย) 17:30, 17 พฤษภาคม 2563 (+07)

แหล่งที่มา

WikiPedia: คุยกับผู้ใช้:Sry85 http://ummio.blogspot.com/2014/09/blog-post_14.htm... http://oknation.nationtv.tv/blog/wut2013/2014/09/1... https://www.facebook.com/BanphaeoMunicipality/ https://www.facebook.com/notes/%E0%B8%99%E0%B8%B2%... https://www.facebook.com/wikiasianmonth/ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdX75AmuQ... https://wikimedia.qualtrics.com/jfe/form/SV_0pSrrk... https://twitter.com/wikiasianmonth https://fountain.toolforge.org/editathons/ https://commons.wikimedia.org/wiki/Special:UploadW...