คุรุเตฆ์บะฮาดุร
คุรุเตฆ์บะฮาดุร

คุรุเตฆ์บะฮาดุร

คุรุเตฆ์บะฮาดุร หรือ คุรุเตฆบหาทูร (Guru Tegh Bahadur)[5][6] เป็นคุรุศาสดาท่านที่ 9 จาก 10 ท่านของศาสนาซิกข์ คุรุเตฆ์บะฮาดุรเป็นผู้ที่มุ่งมั่นรื้อฟื้นคำสอนเดิมของคุรุนานักเทพจิ ท่านแต่งเพลงสวดและบทกลอน 116 บทเพิ่มเข้าไปในคุรุครันถสาหิพ ท่านอยู่ในช่วงเวลาลำบากที่โดนจักรวรรดิโมกุลบังคับให้เปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม เช่นเดียวกันกับ บัณฑิตชาวกัศมีร์ (ชาวฮินดูในกัศมีร์)[1][7] และศาสนิกชนของศาสนาอื่น ๆ จนกระทั่งในที่สุดท่านถูกตัดสินประหารชีวิตโดยจักรพรรดิออรังเซพในปี 1675 ต่อหน้าสาธารณชนที่เมืองเดลี เนื่องด้วยท่านไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม และยังให้การช่วยเหลือบัณฑิตกัศมีร์และศาสนิกชนศาสนาอื่น ๆ ในการหลบหนีและต่อต้านการบังคับนี้ผ่านกองทัพสิกข์ขาลสาต่อสู้กับกองทัพโมกุล ในวินาทีสุดท้ายก่อนการประหารชีวิต ท่านได้รับข้อเสนอให้เปลี่ยนศาสนาในวินาทีสุดท้ายแล้วจะพ้นโทษหนักนี้ทันที ท่านตอบยืนยันคำเดิมว่าท่านจะคงเป็นซิกข์ตลอดไปจนถึงตราบลมหายใจสุดท้ายของท่าน[3][8][9] สถานที่ประหารชีวิตและจัดการฝังศพท่าน ตั้งอยู่ที่ปัจจุบันคือ คุรุทวาราสีสคันชสาหิบ และ คุรุทวารารกับคันชสาหิบ ในเดลี ประเทศอินเดีย ในปัจจุบัน[10] การสละชีพเพื่อความเชื่อ (martyrdom) ของท่านนั้นระลึกเป็นวันสำคัญตามปฏิทินนานักศาหี "ศาหีทีทิวาสของคุรุเตฆ์บะฮาดุร" (Shaheedi Divas of Guru Tegh Bahadur) ตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายนของทุกปี มาตั้งแต่ปี 2003[11]

คุรุเตฆ์บะฮาดุร

รู้จักจาก
สาเหตุการตาย ถูกตัดศีรษะ
คู่สมรส Mata Gujri
บุตร คุรุโควินทสิงห์
เกิด
Tyaga Mal

1 เมษายน ค.ศ.1621
ตาย 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1675 (54 ปี)
ผู้ดำรงตำแหน่งถัดมา คุรุโควินทสิงห์
ชื่ออื่น
  • คุรุองค์ที่ 9
บิดามารดา คุรุหรโคพินท์กับ Mata Nanaki
ช่วงที่ดำรงตำแหน่ง ค.ศ.1664–1675
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้า คุรุหรกิศัน
ศาสนา ศาสนาซิกข์