สถาปัตยกรรม ของ คเณศมนเทียร_(โมรคาว)

ประตูทางเข้าหลักของมนเทียร

มนเทียรนั้นรายล้อมด้วยกำแพงหินสูงซึ่งมีหอมินาเร่ต์อยู่ที่มุมทั้ง 4 มุม แสดงให้เห็นนว่าอาจได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมมุสลิม[1][3] ครั้งหนึ่งเคยมีประมุขมุสลิมเป็นผู้อุปถัมภ์ของมนเทียร[3] มนเทียรนี้ประกอบทางเข้าออกสี่ทาง ตรงกับทิศสี่ทิศจากมูรติของพระคเณศในมนเทียร แต่ละทางเข้าออกแสดงภาพของพระองค์ในปางต่าง ๆ สี่วัย (ยุคะ - yuga) ที่ซึ่งแต่ละปางเกี่ยวข้องกับ ปุรุษารถะ (Puruṣārtha) หรือเป้าหมายทั้งสี่ในชีวิตตามคติฮินดู และมีองค์ประกอบอื่นเป็นเทวบุคคลอื่นอีกสององค์ประกบ ทางเข้าออกทางทิศตะวันออกแสดงภาพพาลลาลวินายก (Ballalvinayaka) ประกบด้วยพระราม (ปางหนึ่งของพระวิษณุ) และพระสีตา พระชายา เป็นสัญลักษณ์ถึงธรรม (ความถูกต้อง หน้าที่ จริยธรรม) ทางทิศใต้เป็นพระวิฆเนศวรประกบด้วยพระศิวะผู้ทรงเป็นพระบิดาและพระปารวตีผู้ทรงเป็นพระมารดา เป็นสัญลักษณ์ถึง อรรถ (Artha - ความั่งคั่งและชื่อเสียง) ทางทิศตะวันนตกเป็นภาพจินตมณี ประกบด้วยพระกามเทวะกับพระระตี (Rati) พระชายา แสดงถึงกามะ (Kama - ความปราถนา ความรัก และความสุขทางอารมณ์) และสุดท้ายคือทางเข้าออกทิศเหนือเป็นพระมหาคณปติ ประกบด้วยพระวราหะ (Varaha) หรือปางอวตารเป็นหมูป่าของพระวิษณุ และพระปฤถวี พระชายา แสดงถึงขั้นการโมกษะ[4]