ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์
ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์

ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์

ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ (เยอรมัน: Konzentrationslager Auschwitz) หรือ ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์-เบียร์เคอเนา (เยอรมัน: Konzentrationslager Auschwitz-Birkenau) เป็นค่ายกักกันและค่ายมรณะที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาค่ายกักกันของนาซีเยอรมนีที่ใช้การระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองชื่อค่ายมาจากเมือง "ออชฟีแยญชิม" (Oświęcim) โดยหลังจากการบุกครองโปแลนด์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 ออชฟีแยญชิมของโปแลนด์ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนาซีเยอรมนีและเปลี่ยนชื่อเป็นเอาช์วิทซ์ (Auschwitz) ซึ่งเป็นชื่อในภาษาเยอรมัน[3] ส่วนเบียร์เคอเนา (Birkenau) เป็นชื่อในภาษาเยอรมันที่แผลงมาจาก "บแชชิงกา" (Brzezinka, ต้นเบิร์ช) ซึ่งเป็นชื่อหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่อยู่ห่างไปไม่ไกลนักที่ต่อมาถูกเยอรมนีทำลายเกือบทั้งหมดรูด็อล์ฟ เฮิส ผู้บัญชาการของค่าย ให้การในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์คว่าประชากรถึงราว 3 ล้านคนเสียชีวิตที่ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ แต่พิพิธภัณฑ์แห่งรัฐเอาช์วิทซ์-เบียร์เคอเนาปรับตัวเลขเป็น 1.1 ล้านคน[4][5] ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ถูกสังหารเป็นชาวยิวจากเกือบทุกประเทศในยุโรป[6] ผู้ประสบชะตากรรมเกือบทั้งหมดถูกสังหารในห้องรมแก๊สโดยใช้แก๊สซือโคลน เบ การเสียชีวิตอื่นมาจากความอดอยาก การบังคับใช้แรงงาน การขาดการดูแลทางสุขภาพ การถูกประหารชีวิตรายคน และ "การทดลองทางแพทย์"ในปี ค.ศ. 1947 เพื่อเป็นการระลึกถึงผู้เสียชีวิต โปแลนด์ก็ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ณ ที่ตั้งของค่ายกักกันของสองค่าย วันปลดปล่อยค่ายกักกันเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1945 โดยกองทัพโซเวียต เป็นวันที่ระลึกของวันรำลึกฮอโลคอสต์ระหว่างประเทศ (International Holocaust Remembrance Day) ใน ค.ศ. 1979 ยูเนสโกยกให้เป็นแหล่งมรดกโลก

ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์

ผู้ถูกกักกันที่มีชื่อเสียง อันเนอ ฟรังค์, อิมแร แกร์เตส, แมกซิมิเลียน คอลบี, เอดิท ชไตน์ ฯลฯ
พิกัดภูมิศาสตร์ 50°02′09″N 19°10′42″E / 50.03583°N 19.17833°E / 50.03583; 19.17833พิกัดภูมิศาสตร์: 50°02′09″N 19°10′42″E / 50.03583°N 19.17833°E / 50.03583; 19.17833
การใช้งานสถานที่ก่อนหน้า ค่ายทหาร
ชื่อเยอรมัน Konzentrationslager Auschwitz (ออกเสียง: [kɔntsɛntʁaˈtsi̯oːnsˌlaːɡɐ ˈʔaʊʃvɪts] ( ฟังเสียง)); also KL Auschwitz or KZ Auschwitz
เว็บ auschwitz.org/en/
ชื่อโปแลนด์ Obóz koncentracyjny Auschwitz
ผบ. ประเดิม รูด็อล์ฟ เฮิส
ดำเนินการโดย นาซีเยอรมนีและเอ็สเอ็ส
ผู้ถูกกักกัน ส่วนใหญ่เป็นยิว โปแลนด์ โรมานี และเชลยศึกโซเวียต
ปลดปล่อยโดย สหภาพโซเวียต, 27 มกราคม 1945
ที่ตั้ง ประเทศโปแลนด์ที่ถูกเยอรมนียึดครอง
วิดีทัศน์ Drone footage, 2015
เป็นที่รู้จักจาก ฮอโลคอสต์
จำนวนผู้ถูกกักกัน อย่างน้อย 1.3 ล้าน[2]
ภาพ Google Earth
เสียชีวิต อย่างน้อย 1.1 ล้าน[2]
เปิดใช้งาน พฤษภาคม 1940 – มกราคม 1945

ใกล้เคียง

ค่ายกักกันนาซี ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ ค่ายกักกันดัคเคา ค่ายกักกันบูเคินวัลท์ ค่ายกลทหารศิลาแปดประตู ค่ายกักกันแบร์เกิน-เบ็ลเซิน ค่ายกักกัน ค่ายกามิกาเซ่ ค่ายกักกันเมาเทาเซิน-กูเซิน ค่ายกักกันไมดาแนก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ http://auschwitz.org/en/ http://auschwitz.org/en/history/auschwitz-and-shoa... http://nizkor.org http://nizkor.org/features/techniques-of-denial/ap... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://en.auschwitz.org.pl/m/index.php?option=com_... https://www.google.com/maps/@50.0274015,19.200523,... https://www.youtube.com/watch?v=449ZOWbUkf0 https://archive.today/20190121220003/http://auschw...