ประวัติ ของ ค่ายโพธิ์สามต้น

ภูมิหลัง

เส้นทางในการเดินทัพระหว่างกรุงศรีอยุธยากับหัวเมืองฝ่ายเหนือ ปรากฏหลักฐานในสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ คราวสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ (พ.ศ. 2091) พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้นำทัพหลวง เสด็จยกทัพมาตั้งค่ายหลวง ณ ทุ่งพุทเลา ได้นำกำลังกองหลวงข้ามโพธิ์สามต้น มาตามทุ่งเพนียดเสด็จยืนช้าง ณ วัดสามวิหาร เตรียมเข้าตีกรุงศรีอยุธยา

พอในสมัยพระเจ้าอลองพญา ปี พ.ศ. 2303 พระองค์ได้นำทัพเข้าตีค่ายไทยที่ทุ่งตาลาน ให้ทัพหลวงตั้งอยู่ที่บ้านกุ่ม ทัพหน้ามังระราชบุตรกับมังฆ้องนรธาเข้าตั้งที่โพธิ์สามต้น ฝ่ายไทย นำโดยหลวงอภัยพิพัฒน์ ขุนนางจีน หาพวกจีนบ้านนายก่ายประมาณ 2,000 คน มาขออาสาตีค่ายข้าศึกที่โพธิ์สามต้น แต่ฝ่ายไทยและจีนเสียคนเป็นจำนวนมาก มังระเห็นได้ที ให้มังฆ้องนรธาเป็นกองระวังหน้าเคลื่อนที่เข้ามาตั้งค่ายที่วัดสามวิหาร แต่ก็ต้องถอยทัพไปเนื่องจากพระเจ้าอลองพญาทรงถูกตีแตกที่วัดหน้าพระเมรุ

ตั้งค่าย

สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

พม่ากลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2309 พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าได้ส่งแม่ทัพ คือ เนเมียวสีหบดี และ มังมหานรธาเข้าตีกรุงศรีอยุธยาทุก ๆ ด้าน โดยส่งกองทัพของเนเมียวสีหบดีมาตั้งค่ายใหญ่ที่โพธิ์สามต้น ส่วนกองทัพมังมหานรธาตั้งค่ายที่บ้านสีกุก[2] โดยรื้อเอาอิฐวิหาร โบสถ์ มาก่อกำแพงล้อมเป็นค่าย แต่เมื่อมังมหานรธาตายที่ค่ายสีกุก เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพใหญ่ และยังได้กองทัพพม่าทั้งฝ่ายเหนือฝ่ายใต้สมทบกันเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาทุก ๆ ด้าน ตีจนกรุงศรีอยุธยาแตก พม่าได้รวบริบทรัพย์จับผู้คน จับสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรได้และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยภิกษุสามเณรไปเมืองพม่าโดยพวกที่ประชวรก็ถูกคุมขังอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น และมีกองทัพพม่า รวม 3,000 คน ตั้งอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น ทำหน้าที่ดูแลกรุงศรีอยุธยาคอยรวบรวมผู้คนและทรัพย์สิ่งของส่งไปพม่า

ต่อมาเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชทรงรวบรวมกำลังคน ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาจากเมืองจันทบุรี เมื่อทราบว่าพระเจ้าตากสินทรงยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าตากสินตามพม่าถึงโพธิ์สามต้น สั่งให้ทหารระดมตีค่ายโพธิ์สามต้น ต้นข้างฟากตะวันออก พอได้ค่ายโพธิ์สามต้นข้างฟากตะวันออก พระเจ้าตากสินจึงให้เข้าตั้งรักษาค่าย ทำบันไดปืนค่ายข้างฟากตะวันตก จากนั้นตีค่ายสุกี้ ข้างฟากตะวันตก กองทัพพระเจ้าตากสินเข้าค่ายโพธิ์สามต้นข้างฟากตะวันตกได้ ฆ่าสุกี้แม่ทัพพม่าตาย พระเจ้าตากสินมหาราชมีชัยชนะพม่าเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310[3] และตั้งพักกองทัพอยู่ที่ค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น ยังได้รวบรวมทรัพย์สมบัติที่ยังมิได้ส่งไปพม่า รวบรวมเก็บรักษาไว้ในค่ายแม่ทัพที่โพธิ์สามต้น ยังจับเจ้านายพม่าได้อีก

ใกล้เคียง

ค่ายโพธิ์สามต้น ค่ายโหด หัวใจไม่ยอมสยบ ค่ายกักกันนาซี ค่ายเพลง ค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ ค่ายมวยแฟร์เท็กซ์ ค่ายฝึกเขาชนไก่ ค่ายกักกันดัคเคา ค่ายบางกุ้ง ค่ายมวยไทย ป.ประมุข