ทางวัฒนธรรมและความเชื่อ ของ จระเข้น้ำจืด

ในประเทศไทย บริเวณลุ่มน้ำคลองระบม-สียัด จังหวัดฉะเชิงเทรา มีความเชื่อเรื่อง "จระเข้เจ้า" ว่าเป็นพาหนะของเจ้าพ่อเขากา ที่ไม่ทำร้ายผู้คน แต่ถ้าหากใครไปทำร้ายก็จะประสบกับภัยพิบัติ[16] บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบลำน้ำโดมใหญ่หรือบางแห่งในลุ่มน้ำมูล มีความเชื่อเรื่อง "จระเข้เจ้า" เช่นกัน แต่จะเป็นจระเข้เผือกที่ภาษาถิ่นเรียกว่า "แข้ด่อน" ส่วนคนในบ้านครัว ชุมชนมุสลิมริมคลองแสนแสบ กรุงเทพมหานคร มีตำนานปรัมปราว่า บรรพบุรุษของชาวบ้านครัวเป็นจระเข้ที่อยู่ในคลองแสนแสบ[17] ทั้งนี้ในนิทานเรื่อง ไกรทอง ได้ให้ภาพพจน์ของจระเข้มีสถานะและความสัมพันธ์เทียบเท่ากับมนุษย์ และเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายชุมพลปราบจระเข้เถรขวาด ก็แสดงให้เห็นถึงความเชื่อและมุมมองของคนในสมัยก่อนที่มีต่อจระเข้[17]

แหล่งที่มา

WikiPedia: จระเข้น้ำจืด http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_... http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B... http://www.moohin.com/thailand-travel-trips/2548-1... http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sect... http://www.komchadluek.net/detail/20090904/27271/%... http://www.oknation.net/blog/print.php?id=279799 http://www.thaipost.net/sunday/130909/10671 http://www.iucnredlist.org/apps/redlist/details/56... http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=914 http://www.siamensis.org/article/308