พระราชประวัติ ของ จักรพรรดิคาร์ลที่_1_แห่งออสเตรีย

ขณะทรงพระเยาว์

จักรพรรดิคาร์ลเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2430 ณ ปราสาทเพอร์เซ็นบูร์ก ประเทศออสเตรีย ในช่วงแรก ทรงพระนามว่าอาร์ชดยุกคาร์ลแห่งออสเตรีย (His Imperial and Royal Highness Archduke Karl of Austria) เป็นพระราชโอรสองค์โตใน อาร์ชดยุกออทโท ฟรันซ์แห่งออสเตรีย และ เจ้าหญิงมาเรีย โยเซฟาแห่งแซกโซนี และเป็นพระราชนัดดาในอาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรีย เมื่อทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาทางคาทอลิกอย่างเข้มงวด

อาร์ชดยุกคาร์ลทรงได้รับตำแหน่งค์รัชทายาทแห่งออสเตรีย-ฮังการี หลังจากที่อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดินันด์ พระราชปิตุลาเสด็จสวรรคตจากการลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเยโว บอสเนีย เมื่อปี พ.ศ. 2457 ซึ่งเป็นจุดชนวนของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 พระองค์ทรงได้เถลิงวัลย์ราชสมบัติต่อจากจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระเชษฐาของอาร์ชดยุกคาร์ล ลุดวิก พระอัยกาของพระองค์ พระองค์จึงทรงได้เป็นแม่ทัพแห่งกองทัพออสเตรีย-ฮังการีอีกด้วย

ช่วงเวลาแห่งการครองราชย์

ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2459 นอกจากพระองค์จะทรงเป็นแม่ทัพแห่งกองทัพราชนาวีออสเตรีย-ฮังการีแล้ว ยังทรงเป็นผู้บังคับบัญชาการกองทัพราชนาวีทั้งหมดแทนอาร์ชดยุกเฟรเดอริค พระปิตุลาของพระองค์

ในปีพ.ศ. 2460 พระองค์ทรงมีการติดต่อเจรจาสันติภาพกับประเทศฝรั่งเศสอย่างลับๆ และยังส่งรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของพระองค์ เคานท์อ๊อตโตการ์ เซอร์นิน ไปเจรจาเพื่อเจริญความสัมพันธไมตรีกับประเทศเยอรมนี ส่วนพระองค์ก็ทรงกระชับเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส โดยเสด็จไปยังประเทศฝรั่งเศสพร้อมกับเจ้าชายซิกซ์ตัสแห่งบูร์บอง-ปาร์มา ซึ่งเป็นสมาชิกของกองทัพราชนาวีเบลเยี่ยม และเป็นพระเชษฐาในจักรพรรดินีซีตา พระชายาของพระองค์ด้วย ในขณะที่ทั้งสองพระองค์ทรงอยู่ที่ฝรั่งเศสนั้น ข่าวก็ถูกเผยแพร่เกี่ยวกับการเจรจาเจริญสันติสัมพันธไมตรี เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 พระองค์จึงรีบออกมาปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับการเจรจานี้เลย ทำให้นายกรัฐมนตรีของฝรั่งเศส จอร์เจส คลูมองโซ ส่งพระราชสาส์นมาถึงพระองค์ และรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ทำให้รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศประกาศลาออกจากตำแหน่ง ที่แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทำให้กองทัพราชนาวีของพระองค์เป็นที่พึ่งพาของกองทัพราชนาวีเยอรมัน ซึ่งเป็นเรื่องทีผิดในสายตาของกองทัพอื่นๆ

สิ้นสุดการครองราชย์

จักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการีถูกล้มล้างโดยความวุ่นวายภายใน ในช่วงเวลาสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งมาพร้อมกับความตึงเครียดของหลายๆ กลุ่ม ซึ่ง ณ จุดนี้ นายวูดโรว์ วิลสัน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ได้เรียกร้องให้จักรวรรดิให้ความเป็นเอกราช และตั้งใจแน่วแน่ในการปกครองบ้านเมือง ดังนั้นพระองค์จึงทรงเห็นด้วยที่จะลงประชามติต่อสภาอิมพีเรียล และอนุญาตให้มีการก่อตั้งสมาพันธรัฐของแต่ละกลุ่มในรัฐบาล อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปนั้นได้อยู่เหนือการควบคุม และไม่ขึ้นตรงสภากลางในกรุงเวียนนา

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พระองค์ทรงแจกจ่ายการประกาศอย่างเป็นทางการของออสเตรียให้กับกลุ่มสหพันธ์ทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม เลขานุการของรัฐ โรเบิร์ต แลนซิ่ง ตอบกลับมาว่า เช็ก สโลวัก และ สลาฟใต้ จะเข้าร่วมมือ (ที่จริงแล้ว รัฐบาลชั่วคราวของประเทศเชโกสโลวาเกียเข้าร่วมมือในวันที่ 14 ตุลาคม) เพราะฉะนั้น การเป็นเอกราชของแต่ละชาติไม่ค่อยยืนยาวนัก

จักรพรรดิคาร์ลเมื่อทรงเข้าพิธีราชาภิเษก ที่กรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2459

ด้วยความที่จะรักษาความเป็นจักรวรรดิ การประกาศความเป็นเอกราช ซึ่งพระองค์จะต้องมีบทบาททางการเมืองมากขึ้นอย่างไม่แน่ไม่นอน เมื่อวันที่31 ตุลาคม ประเทศฮังการีประกาศยุติความสัมพันธ์สหภาพระหว่างออสเตรียและฮังการี ทำให้เกิดจุดจบของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีในที่สุด และพระองค์ทรงไม่ยอมรับโดยสภาเยอรมัน-ออสเตรีย นายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายของพระองค์ เฮ็นริค แลมมาส ได้แนะนำพระองค์ว่า ไม่มีประโยชน์ที่จะอยู่ต่อไป

ในวันที่ 11 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดของสงครามโลก พระองค์ทรงประกาศว่าจะทรงยอมรับให้ประกาศเอกราชแก่ประชาชน ซึ่งประชาชนยังคงมีความจงรักภักดี อีก 3 วันต่อมา พระองค์ประกาศเอกราชแก่ฮังการี และทรงหวังที่จะกลับมาครองราชย์ในออสเตรียเพียงประเทศเดียว แต่วันต่อมา ก่อให้เกิดสาธารณรัฐออสเตรียขึ้น พระองค์จึงทรงอพยพไปที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อการลี้ภัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 สภาของออสเตรียล้มเลิกกฎหมาย และเนรเทศราชวงศ์อิมพีเรียลออกนอกประเทศ และล้มล้างราชบัลลังก์ได้ในที่สุด

สมเด็จพระจักรพรรดิและพระราชวงศ์ขณะทรงลี้ภัย ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์จักรพรรดิคาร์ล จักรพรรดินี และมกุฎราชกุมารอ๊อตโต้ เมื่อทรงเข้าพิธีบรมราชาภิเษก

ประชาชนที่จงรักภักดีต่อพระองค์ในประเทศฮังการี พระองค์ยังคงเป็นกษัตริย์แห่งฮังการี แต่ไม่สามารถกลับไปปกครองได้ เนื่องจากสถานการณ์ไม่อำนวย เพราะเพิ่งสิ้นสุดสงครามโลก พระองค์จึงทรงแต่งตั้งพลเรือเอกมิกโลช ฮอร์ตี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งพลเรือเอกฮอร์ตีมุ่งหวังที่จะสถาปนาราชวงศ์อีกครั้งหนึ่ง แต่ก็ล้มเหลว ดังนั้น พระองค์จึงได้ครองราชย์แต่ในนามตั้งแต่ปีพ.ศ. 2462เป็นต้นมา

ช่วงเวลาสุดท้ายของพระชนม์ชีพ

พระตำหนักที่พระองค์ทรงใช้เวลาช่วงสุดท้ายของพระชนม์ชีพโลงพระศพจักรพรรดิคาร์ลที่เกาะมาเดรา.

จักรพรรดิคาร์ลทรงใช้เวลาช่วงสุดท้ายของพระชนม์ชีพที่เกาะมาเดรา ประเทศโปรตุเกส ซึ่งเป็นเกาะที่พระราชวงศ์อิมพีเรียลออสเตรียทรงพักผ่อนกันเป็นประจำ พระองค์ได้ประทับอยู่ที่นั่นเรื่อยมาจนเสด็จสวรรคตด้วยโรคปอดบวม เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2465 ซึ่งเป็นช่วงที่พระองค์และพระราชวงศ์ทรงอพยพและพักผ่อนที่เกาะมาไดรา พระศพของพระองค์ฝังไว้ที่โบสถ์ Igreja Nossa Senhora do Monte ในเกาะมาไดรา พระองค์เป็นพระบรมศานุวงศ์ออสเตรียพระองค์เดียวที่ไม่ได้ทรงฝังพระศพไว้ที่ วิหารฮาพส์บวร์ค อิมพีเรียลคริปต์ ในกรุงเวียนนา ซึ่งเป็นที่ฝังพระศพพระราชวงศ์ออสเตรียทุกพระองค์ รวมไปถึงจักรพรรดินีซีต้า พระชายาของพระองค์ด้วย

ก่อนถึงวันที่เสด็จสวรรคตนั้น พระองค์ทรงเป็นครูสอนศาสนา ทรงเผยแพร่ศาสนาให้แก่ประชาชนในเกาะมาเดรา พระองค์จึงได้ชื่อว่าเป็นนักบุญแห่งมาไดราอีกด้วย (St. Karl of Madeira) ส่วนพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์ได้ทรงประทับอยู่ร่วมกันบนเกาะจนจักรพรรดิคาร์ลสวรรคต พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายจึงเสด็จกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ใกล้เคียง

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ จักรพรรดิโชวะ จักรพรรดิเมจิ จักรพรรดิ จักรพรรดิคังซี จักรพันธ์ แก้วพรม จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล จักรพรรดินีโคไลที่ 2 แห่งรัสเซีย จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย