ถึงแก่กรรม ของ จักรพรรดิผู่อี๋

เหมา เจ๋อตง เริ่มต้นทำการการปฏิวัติทางวัฒนธรรมในปีค.ศ. 1966 โดยกองกำลังเยาวชนกึ่งทหารซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ ยุวชนแดง (Red Guard) มองผู่อี๋ว่าเป็นสัญลักษณ์ของจักวรรดิจีน ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายที่ง่ายในการโจมตี ผู่อี๋อยู่ในสถานที่ภายใต้การคุ้มกันของสำนักรักษาความปลอดภัยท้องถิ่น ถึงแม้ว่าส่วนแบ่งอาหาร, ค่าตอบแทนและสิ่งของหรูหราอื่น รวมถึงโซฟาและโต๊ะของเขาจะถูกถอดออกไป ทำให้เขาไม่ถูกประจานในที่สาธารณะแบบที่หลายคนถูกกระทำอย่างเป็นธรรมดาสามัญในช่วงเวลานั้น แต่อย่างไรก็ตามผู่อี๋ก็เข้าสู่ช่วงวัยชราและมีสุขภาพย่ำแย่ลง ผู่อี๋ถึงแก่กรรมอย่างสามัญชนในกรุงปักกิ่งด้วยโรคมะเร็งในไตและโรคหัวใจล้มเหลวเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1967 ขณะมีอายุได้ 61 ปี[39]

ตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีนในเวลานั้น ร่างของผู่อี๋ต้องทำพิธีเผา ในตอนแรกอัฐิของผู่อี๋บรรจุไว้ที่สุสานปฏิวัติปาเป่าซานเคียงข้างกับสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนและบุคคลที่มีตำแหน่งระดับสูงของประเทศ (สถานที่แห่งนี้เคยเป็นสุสานของเหล่าสนมและขันทีก่อนมีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน)

ในปี ค.ศ. 2538 เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเชิงพาณิชย์ ภรรยาม่ายของผู่อี๋ได้ย้ายอัฐิของเขาไปยังสุสานที่ตั้งขึ้นในเชิงพาณิชย์เพื่อแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางด้านการเงิน สุสานตั้งอยู่ใกล้กับสุสานราชวงศ์ชิงตะวันออก ห่างจากกรุงปักกิ่งไปทางตะวันตกเฉียงใต้ใต้ 120 กิโลเมตร ซึ่งมีจักรพรรดิของราชวงศ์ชิงฝังอยู่ 4 พระองค์ และจักรพรรดินี 3 พระองค์,องค์ชายและองค์หญิงรวมถึงสนมอีก 69 พระองค์[40]

ใกล้เคียง

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ จักรพรรดิโชวะ จักรพรรดิเมจิ จักรพรรดิคังซี จักรพันธ์ แก้วพรม จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย จักรพรรดิยงเจิ้ง จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล จักรพรรดิกวังซฺวี่

แหล่งที่มา

WikiPedia: จักรพรรดิผู่อี๋ http://history.cultural-china.com/en/46History4200... http://history.cultural-china.com/en/46History4205... http://www.ieshu.com/dic_display.php?id=628: http://www.imdb.com/title/tt1772230/ http://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=9B0... http://select.nytimes.com/gst/abstract.html?res=FA... http://www.generals.dk/general/Yoshioka/Yasunori/J... http://www.chinaheritagequarterly.org/features.php... http://www.sacu.org/pujie.html