ปลายรัชสมัย ของ จักรพรรดิมิญ_หมั่ง

ใน ค.ศ. 1835 เล วัน โคย ผู้นำกบฏได้เสียชีวิตลง ทัพฝ่ายเวียดนามสามารถปราบกบฏลงได้สำเร็จ พวกกบฏและญาติมิตรกว่าพันคนถูกสังหารและฝังรวมกันไว้ในสุสานขนาดใหญ่ ทั้งเล วัน กู่ และบาทหลวงมาร์ช็องถูกประหารชีวิตอย่างโหดเหี้ยม

กบฏของเล วัน โคย มีมิชชันนารีตะวันตกให้การสนับสนุน ทำให้จักรพรรดิมิญ หมั่งทรงเห็นว่าชาวตะวันตกและชาวคริสเตียนนั้นเป็นภัยอย่างมหันต์ต่อพระราชอาณาจักร ใน ค.ศ. 1836 มีพระราชโองการจับกุมและประหารชีวิตมิชชันนารีและชาวคริสเตียนทั้งฝรั่งและชาวเวียดนามที่นับถือคริสต์จำนวนมากทั่งพระอาณาจักร ซึ่งดำเนินไปเป็นเวลาสามปีจนกระทั่ง ค.ศ. 1838

ค.ศ. 1839 ในขณะที่เกิดสงครามฝิ่น จักรพรรดิมิญ หมั่ง ทรงแต่งคณะทูตไปยังฝรั่งเศสเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีทางการค้า แต่พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปทรงไม่รับทูต เนื่องจากทางกรุงโรมวาติกันทักท้วงมาว่าราชสำนักเวียดนามเป็นศัตรูต่อคริสต์ศาสนา

นโยบายการกลืนชาติของพระจักรพรรดิมิญ หมั่ง สร้างความไม่พอใจแก่ชาวกัมพูชาเป็นอย่างมาก ในค.ศ. 1841 นักองค์แบน พระเชษฐภคินีของนักองค์มีซึ่งฝักใฝ่สยาม นักองค์แบนทรงถูกจับได้ว่าทรงวางแผนจะหลบหนีไปยังสยาม และยังเกิดการกบฏของชาวเขมรชื่อว่า ลัม ซัม (Lam Som) ขึ้นในจังหวัดจ่าวิญ (Trà Vinh) ในเวียดนามภาคใต้ ทำให้จักรพรรดิมิญ หมั่ง ทรงไม่ไว้วางพระทัยชาวเขมรอีกต่อไป ทรงมีพระราชโองการให้สำเร็จโทษนักองค์แบนด้วยการถ่วงน้ำ ปลดนักองค์มีออกจากราชสมบัติและจับกุมองค์มีพร้อมทั้งพระขนิษฐาทั้งสองมาที่เมืองเว้ และให้กองทัพเวียดนามเข้าปราบกบฏของนายลัมซัม ท่ามกลางวิกฤตการณ์เหล่านี้ พระจักรพรรดิมิญ หมั่ง ได้เสด็จสวรรคตลงเสียก่อน

ใกล้เคียง

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ จักรพรรดิโชวะ จักรพรรดิเมจิ จักรพรรดิคังซี จักรพันธ์ แก้วพรม จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย จักรพรรดิยงเจิ้ง จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล จักรพรรดิกวังซฺวี่