พิชิตอินเดียใต้ ของ จักรพรรดิศิวาจี

ต้นปี ค.ศ. 1674 จักรวรรดิมราฐาเริ่มทำสงครามอย่างแข็งกร้าว โดยเริ่มตีเขตขันเทศ ยึดโปนทา การ์วาร์ และ โกลหาปุระ ของพีชปุระ และเข้าทำยุทธนาวีกับพวกสิททิแห่งจันจิรา และในต้นปี ค.ศ. 1676 เปชวาร์ ปินคาเล ได้ทำสงครามร่วมกับราชาแห่งรามนครที่สุรัต หลังจากนั้นศิวาจีได้เข้าตีอถาณีในเดือนมีนาคม และได้เข้าล้อมเมืองเบฬคาวและวาเยมรายิม เมื่อถึงสิ้นปี ศิวาจีได้เปิดฉากสงครามในอินเดียตอนใต้ ด้วยกองกำลังกว่า 30,000 พลม้า และ 20,000 พลบก พระองค์เข้ายึดป้อมของพวกอทิลศาห์ที่เวลลุร์และชินจีจา ในการขยายดินแดนครั้งนี้ ศิวาจีทรงเรียกร้องปลุกใจให้ชาวทักขินมีจิตใจรักชาติบ้านเมือง เช่น ให้ทักขินเป็นมาตุภูมิที่ควรป้องกันการรุกรานจากคนนอก การเรียกร้องครั้งนี้ค่อนข้างประสบความสำเร็จ กุตาบข่านแห่งรัฐสุลต่านโควฬโกนทาแห่งทักขินตะวันออกเชิญชวนพระองค์ให้มาทำสนธิสัญญากัน การพิชิตดินแดนทางตอนใต้ของศิวาจีถือว่าสำคัญต่อสงครามในอนาคต และชินชีจาก็ถูกเมืองหลวงของพวกมราฐาในระหว่างการทำสงครามเพื่ออิสรภาพ

ศิวาจียังตั้งพระทัยจะกลับมาผูกมิตรกับพระเชษฐาต่างพระมารดาของพระองค์ คือ เอโกจีที่ 1 บุตรของศาหจีกับตุกาบาอี ผู้ครอบครองเมืองตันชาวุระต่อจากศาหจี แต่การผูกมิตรกลับไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นระหว่างกลับไปป้อมรายคัท ศิวาจีจึงทรงตีทัพของเอโกจีในวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1677 และสามารถยึดครองพื้นที่ที่ราบสูงไมซูร์ได้ ทีปาบาอี มเหสีของเอโกจี ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของศิวาจี ได้ขอเจรจาใหม่กับศิวาจี และยังเชื่อว่าพระสวามียังห่างไกลจากพวกข้ามุสลิม ท้ายที่สุด ศิวาจียินยอมคืนแผ่นดินให้นางและลูกหลานหญิงของนางได้ครอบครองถือสิทธิ์คืนเดิม และ เอโกจียังได้ยินยอมเงื่อนไขในการปกครองแผ่นดินและรักษาอนุสรณ์ของศิวาจีในอนาคต

ใกล้เคียง

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ จักรพรรดิโชวะ จักรพรรดิเมจิ จักรพรรดิ จักรพรรดิยงเจิ้ง จักรพรรดิคังซี จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี