พัฒนาการ ของ จักรพรรดิเปดรูที่_2_แห่งบราซิล

จักรพรรดิเปดรูที่ 2 และการเมือง

จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ขณะมีพระชนมายุ 25 พรรษา ราวปีค.ศ. 1851

ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1850 บราซิลสงบสุขด้วยความมั่นคงภายในและความเจริญทางเศรษฐกิจ[65][66] ภายใต้นายกรัฐมนตรีฮอนอริโอ เฮอเมโต คาร์เนโร เลเอา (ต่อมาคือไวส์เคานท์ และหลังจากนั้นคือมาควิสแห่งปารานา) จักรพรรดิทรงดำเนินนโยบายเพื่อสร้างความทะเยอทะยานของพระองค์คือ คอนซิลีอาเชา (conciliação;การเจรจาต่อรอง) และเมลโฮราเมนตอส (melhoramentos;การพัฒนาทางวัตถุ)[67] การปฏิรูปของจักรพรรดิเปดรูที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้การเกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวกทางการเมืองเกิดขึ้นน้อยที่สุด และมุ่งหน้าการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจ ทั้งประเทศได้ถูกเชื่อมต่อด้วยการขนส่งระบบราง, ระบบโทรเลขทางไฟฟ้าและเส้นทางเรือกลไฟ รวมอยู่ภายใต้องค์กรเดียว[65] ความเห็นทั่วไปทั้งภายในและภายนอกประเทศได้มองว่าความสำเร็จนี้เนื่องมาจาก "การกำกับดูแลของสถาบันพระมหากษัตริย์และลักษณะบุคลิกภาพของจักรพรรดิเปดรูที่ 2"[65]

จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ไม่ทรงเป็นทั้งประมุขในนามแบบอังกฤษหรือพระบุคลิกที่มีอำนาจสูงสุดแบบพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย จักรพรรดิทรงใช้พระราชอำนาจผ่านการร่วมมือกับนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง, กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและแรงสนับสนุนที่ทรงเป็นที่นิยมของประชาชน[68] การแสดงพระองค์ของจักรพรรดิเปดรูที่ 2 บนฉากการเมืองทรงมีส่วนสำคัญในโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง ซึ่งรวมทั้งในคณะรัฐมนตรี, สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (หลังจากนั้นทั้งสองได้รวมกันเป็นรัฐสภา) พระองค์ทรงใช้การมีส่วนร่วมของพระองค์ในการเข้ากำกับรัฐบาลในทางตรงโดยใช้ลักษณะของอิทธิพล ทิศทางของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แม้ว่าจะไม่มีการถ่ายโอนอำนาจเป็น "การปกครองโดยคนเดียว"[69] ในการรับมือกับพรรคการเมือง พระองค์"จำเป็นต้องรักษาชื่อเสียงเพื่อความเป็นธรรม การทำงานสอดคล้องกับอารมณ์ที่เป็นที่นิยม และหลีกเลี่ยงการเอาเปรียบที่เห็นได้ชัด ตามเจตนาของพระองค์ที่ปรากฏบนฉากทางการเมือง"[70]

การประสบความสำเร็จของจักรพรรดิในทางการเมืองส่วนใหญ่ได้ปรากฏอย่างโดดเด่นมากขึ้นเนื่องจากลักษณะของการไม่เผชิญหน้าและการมีมารยาทร่วมกัน ด้วยพระองค์ทรงเข้าถึงทั้งปัญหาและผู้นำของฝ่ายต่างๆซึ่งพระองค์ได้ทำการเจรจาต่อรอง พระองค์ทรงมีพระบุคลิกที่พระทัยกว้างอย่างน่าทึ่ง ไม่ค่อยทรงโจมตีหรือบาดหมางในคำวิพากษ์วิจารณ์, ฝ่ายค้าน หรือแม้กระทั่งคนไร้ความสามารถ[71] พระองค์ไม่ทรงมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่จะบังคับให้ผู้คนยอมรับตามพระดำริของพระองค์โดยปราศจากการสนับสนุน และการสร้างความร่วมมือของพระองค์ต่อการปกครองประเทศยังคงมีความก้าวหน้าและเป็นการเปิดใช้ระบบการเมืองที่ทำงานอย่างประสบความสำเร็จ[72] จักรพรรดิทรงเคารพสิทธิของฝ่ายนิติบัญญัติแม้ว่าพวกเขาจะทำการต่อต้าน, กระทำการล่าช้า หรือทำการขัดขวางเป้าหมายและการแต่งตั้งของพระองค์[73] นักการเมืองส่วนใหญ่ชื่นชมและสนับสนุนบทบาทของพระองค์ หลายคนที่มีชีวิตอยู่ผ่านช่วงเวลาสมัยคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เป็นช่วงที่ขาดจักรพรรดิผู้ทรงสามารถยืนหยัดเหนือผลประโยชน์เล็กๆน้อยๆและพิเศษนำไปสู่ช่วงปีแห่งความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมือง ประสบการณ์ของพวกเขาในชีวิตทางการเมืองได้เชื่อมั่นว่า จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงเป็นสิ่งที่"ขาดไม่ได้ในการสร้างความสงบและความเจริญรุ่งเรืองของบราซิลให้ดำเนินต่อไป"[74]

พระชนม์ชีพในราชวงศ์

การอภิเษกสมรสของจักรพรรดิเปดรูที่ 2 และพระนางเทเรซา คริสตินา เริ่มต้นไม่ได้ด้วยดี แต่ด้วยการที่ทรงเจริญพระชันษา มีความอดทนอดกลั้นและการประสูติของบุตรพระองค์แรกคือ เจ้าชายอฟอนโซ ได้ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์พัฒนาดีขึ้นมาก[61][75] หลังจากนั้นจักรพรรดินีเทเรซา คริสตินาได้มีพระประสูติกาลพระโอรสธิดาตามมาอีกได้แก่ เจ้าหญิงอิซาเบลในปีค.ศ. 1846 เจ้าหญิงลีโอโพลดินาในปีค.ศ. 1847 และสุดท้ายคือเจ้าชายเปดรูในปีค.ศ. 1848[76] อย่างไรก็ตามพระโอรสทั้งสองพระองค์ก็ได้สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ซึ่งสร้างความโศกเศร้าแก่จักรพรรดิมาก[77] นอกจากที่ทรงทุกข์ทรมานในฐานะที่เป็นบิดา มุมมองของพระองค์ต่อจักรวรรดิได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง แม้ว่าพระองค์จะทรงรักพระราชธิดามากแต่ก็ไม่ทรงเชื่อว่าเจ้าหญิงอิซาเบลจะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จเมื่อได้ครองราชบัลลังก์แม้ว่าเจ้าหญิงจะทรงเป็นรัชทายาทของพระองค์ก็ตาม พระองค์ทรงเห็นว่ารัชทายาทของพระองค์จำเป็นที่จะต้องเป็นบุรุษเท่านั้นที่จะสามารถขับเคลื่อนสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อไปได้[78] พระองค์ได้ทำให้สถาบันจักรพรรดิผูกติดกับความสัมพันธ์ในตัวพระองค์เองมากขึ้นเรื่อยๆว่าจะไม่มีทางรอดหากไม่มีพระองค์[79] เจ้าหญิงอิซาเบลและพระขนิษฐาทรงได้รับการศึกษาที่โดดเด่นแม้ว่าจะไม่ทรงได้รับการเตรียมการปกครองประเทศเลย จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงตัดเจ้าหญิงอิซาเบลจากการมีส่วนร่วมในการดำเนินการทางธุรกิจและการตัดสินใจของรัฐบาล[80]

ใกล้เคียง

จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จักรพันธ์ ครบุรีธีรโชติ จักรพรรดิโชวะ จักรพรรดิเมจิ จักรพรรดิ จักรพรรดิยงเจิ้ง จักรพรรดิคังซี จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี