ประชากรศาสตร์ ของ จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ความสัมพันธ์ทางเชื้อชาติ

ภาษาต่างที่กระจัดกระจายในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
ภาษาเยอรมัน: 24%

ภาษาฮังการี: 20%
ภาษาเช็ก: 13%

ภาษาโปแลนด์: 10%
ภาษารูเทเนียน: 8%

ภาษาโรมาเนีย: 6%
ภาษาโครเอเชีย: 5%

ภาษาสโลวักและเซิร์บ: 4%

ภาษาสโลวีเนียและอิตาลี: 3%

มีความขัดแย้งเรื่องภาษาและเชื้อชาติหลังจากทุกอย่างได้ขึ้นอยู่การตัดสินใจว่า จะให้ภาษาไหนเป็นภาษาราชการ หรือlandesüblich ชาวเยอรมันที่ยึดถือระบบราชการเดิม หรือที่เป็นกลุ่มคนที่ร่ำรวยกว่าคนอื่น ชาวเยอรมันพวกนี้ต้องการที่จะให้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาราชการและใช้กันทั่วทั้งจักรวรรดิ ขณะที่ภาษาอิตาลีได้รับการพิจารณาว่าเป็นภาษาวัฒนธรรม (Kultursprache) โดยชาวเยอรมันที่ยินยอมให้ความทัดเทียมทางภาษา แต่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า จะให้ความทัดเทียมแก่ภาษาสลาฟให้ทัดเทียมภาษาเยอรมัน อีกด้านหนึ่งเห็นว่าควรจะให้ความทัดเทียมกันทุกภาษาในจักรวรรดิ

แต่อย่างไรก็ตาม หลายปีที่ผ่านมาได้เห็นถึง การปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากข้อบังคับทางภาษาทุกภาษา ทั่วทุกพื้นที่ในจักรวรรดิ ตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ ฉบับพ.ศ. 2410 ว่าภาษาโครเอเชียได้รับความทัดเทียม ซึ่งจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ เช่นเดียวกับภาษาอิตาลีซึ่งได้เป็นภาษารองของดาลมาเทีย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2425 ได้มีเสียงข้างมากจากชาวสโลวีเนีย ในคาร์นิโอล่า และในเมืองลูบลิยานา (ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของประเทศสโลวีเนีย) ได้เสนอภาษาสโลวีเนียเป็นภาษาที่มีความสำคัญมากที่สุดในจักรวรรดิ แทนที่ภาษาเยอรมัน ส่วนภาษาโปแลนด์ได้ถูกนำเสนอให้แทนที่ภาษาเยอรมันเมื่อปีพ.ศ. 2412 และให้เป็นภาษาราชการของกาลิเซีย โดยชาวกาลิเซียหรือชาวโปแลนด์ได้ปฏิเสธการพิจารณาภาษายูเครนที่ถูกเสนอโดยชนกลุ่มน้อยชาวยูเครน ดังนั้นภาษายูเครนจูงไม่ได้รับการยินยอมให้เป็นภาษาราชการ

ส่วนภาษาเช็กที่มีการถกเถียงกันให้เป็นภาษาราชการนั้นไม่ได้มีการเรียกร้องหรือประท้วงกันในโบฮีเมียและโมราเวีย ซึ่งชาวเช็คต้องการที่จะก่อตั้งภาษาของเขาให้เป็นภาษาราชการไม่ว่าจะเป็นเขตแดนอาณาจักรที่ประชากรใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาราชการ และมีการเรียกร้องให้ภาษาเยอรมันให้เป็นภาษาราชการเช่นกันในเมืองปราก นครหลวงของโบฮีเมีย (ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐเช็ก) เมืองพิสเซน และเมืองบรุนน์ ในที่สุด ภาษาเยอรมันก็มีการนำมาเป็นส่วนหนึ่งของส่วนพื้นที่ของเช็กเมื่อปีพ.ศ. 2425 หลังจากการลงประชามติในมหาวิทยาลัยชาร์ลส์ (Charles University in Prague)

แผนที่ออสเตรีย-ฮังการีแสดงถึงเชื้อชาติและภาษาที่ใช้กันในพื้นที่ต่าง แสดงเป็นสีต่างๆ ภาพโดยวิลเลียม อาร์. เช็พเพิร์ด (พ.ศ. 2454)

ขณะเดียวกันนั้นชาวแม็กยาร์หรือฮังการีได้เผชิญหน้ากับผู้ประท้วงหรือเรียกร้องของชาวโรมาเนียในแถบทรานซิลเวเนีย และเมืองบานัท (ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสโลวาเกีย) นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมเรียกร้องเรื่องภาษาราชการอีกของชาวโครเอเชียและชาวเซิร์บ ในแถบโครเอเชีย และดาลมาเทีย (ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศโครเอเชีย) นอกจากนี้ยังมีการชุมนุมประท้วงเรื่องการให้ความสำคัญของภาษาของตนในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และจังหวัดวอยโวดีนา (ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเซอร์เบีย) โดยต่อมา ชาวโรมาเนียและชาวเซิร์บได้ก่อตั้งกลุ่มชาตินิยม ในนามของรัฐโรมาเนียและเซอร์เบีย (พ.ศ. 2402 - พ.ศ. 2421) ถึงแม้ว่า ผู้นำฮังการีจะแสดงความไม่พออกพอใจมากกว่าตอนที่มีการเจรจาแบ่งปันอำนาจและแยกรัฐบาลและรัฐสภากับออสเตรียเมื่อปี พ.ศ. 2410 พวกเขาได้ยอมรับขอบเขตอิสรภาพในการก่อตั้งราชอาณาจักรโครเอเชียเมื่อปีพ.ศ. 2411 ก่อนที่จะถูกผนวกรวมเข้ากับจักรวรรดิในเวลาต่อมา ซึ่งอาจพ่วงไปถึงเศรษฐกิจและการบริหารทางทหารของฮังการีที่เข้ามามีบทบาทในโครเอเชีย

ภาษาเป็นสิ่งที่นำมาถกเถียงในวาระการประชุมสภาอยู่บ่อยครั้ง โดยทุกรัฐสภาจะต้องพบกับความยากลำบากในการแบ่งแยกภาษาต่างๆในโครงสร้างของการเมือง โดยมีเสียงส่วนน้อยเห็นว่าควรจะแยกการศึกษาภาษาของตนเอง และให้การศึกษาแก่ 2 ภาษาหลักในจักรวรรดิ คือ ภาษาเยอรมันและภาษาฮังการี โดยการถกเถียงอภิปรายไม่ไว้วางใจเรื่องภาษาในจักรวรรดินั้น มีการประชุมรัฐสภากลางที่มีการกล่าวขานมากที่สุดคือ การประชุมประกาศพระราชบัญญัติ กฤษฎีกาฉบับวันที่5 เมษายน พ.ศ. 2440 โดยนายกรัฐมนตรีของออสเตรีย คาซิเมียร์ เฟลิกซ์ กราฟ บาเดอนี ได้ให้ความเสมอภาคแก่ภาษาเช็กให้มีความสำคัญเท่ากับภาษาเยอรมันในรัฐสภาของโบฮีเมีย และให้มีการศึกษาภาษาเยอรมันเป็นภาษาหลักในโบฮีเมียอแกด้วย ทั้งนี้มีพวกอนุรักษ์ชาตินิยมเยอรมันได้ปลุกปั่นให้มีการพูดภาษาเยอรมันเท่านั้นในจักรวรรดิ เป็นเหตุให้เฟลิกซ์ บาเดอนี ถูกปลดออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2450 โรงเรียนต่างๆในพื้นที่เขตสโลวักที่อยู่ในเขตของราชอาณาจักรฮังการี ซึ่งประชากรโดยประมาณ 2 ล้านคนได้ศึกษาภาษาฮังการีเพียงภาษาเดียว โดยสั่งห้ามทำสื่อที่เป็นภาษาสโลวัก และได้ทำลายหนังสือหรือหนังสือพิมพ์ที่ป็นภาษาสโลวักอีกด้วย โดยการกระทำนี้ได้มีการวิพากย์วิจารณ์เรื่องการไม่ให้ความเสมอภาคทางภาษา นำโดยบียอร์สเตียร์เน มาร์ตินุส บียอร์สัน นักเขียนชื่อดังชาวนอร์เวย์ ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม นอกจากนี้ยังมีมิช่า เกล็นนี่ ผู้สื่อข่าวชาวอังกฤษได้วิพากย์วิจารณ์ถึงการเอารัดเอาเปรียบทางภาษาของออสเตรียที่กระทำต่อเช็ก

จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟนั้น ในช่วงเวลาที่พระองค์ครองราชย์ พระองค์ทรงปกครองอาณาจักรที่มีหลายเชื้อชาติ หลายภาษา โดยพระองค์ทรงอักษรและทรงพูดภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาฮังการี ภาษาเช็ก ภาษาโปแลนด์ รวมทั้งภาษาอิตาลี และภาษาอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นถือเป็นความยากลำบากอย่างหนึ่งของพระราชวงศ์ออสเตรียที่จะต้องศึกษาภาษาทุกภาษาที่มีอยู่ในจักรวรรดิ รวมทั้งภาษาอังกฤษด้วย

ภาษาต่างๆที่ใช้กันในจักรวรรดิ

พื้นที่ภาษาราชการภาษาอื่นๆ (มากกว่า 2%)
โบฮีเมียภาษาเช็ก (63.3%)ภาษาเยอรมัน (36.7%)
ดาลมาเทียภาษาโครเอเชีย (96.2%)ภาษาอิตาลี (2.8%)
กาลิเซียภาษาโปแลนด์ (58.6%)ภาษายูเครน (40.2%)
โลเวอร์ ออสเตรียภาษาเยอรมัน (95.9%)ภาษาเช็ค (3.8%)
อัปเปอร์ ออสเตรียภาษาเยอรมัน (99.7%)-
บูโกวิน่าภาษายูเครน (38.4%)ภาษาโรมาเนีย (34.4%), ภาษาเยอรมัน (21.2%), ภาษาโปแลนด์ (4.6%)
คารินเธียภาษาเยอรมัน (78.6%)ภาษาสโลวีเนีย (21.2%)
คาร์นิโอล่าภาษาสโลวีเนีย (94.4%)ภาษาเยอรมัน (5.4%)
ซาร์สบูร์กภาษาเยอรมัน (99.7%)-
ซีลีเซียภาษาเยอรมัน (43.9%)ภาษาโปแลนด์ (31.7%), ภาษาเช็ก (24.3%)
สตีเรียภาษาเยอรมัน (70.5%)ภาษาสโลวีเนีย (29.4%)
โมราเวียภาษาเช็ก (71.8%)ภาษาเยอรมัน (27.6%)
ทีรอลภาษาเยอรมัน (57.3%)ภาษาอิตาลี (42.1%)
คืสเตนแลนด์ภาษาสโลวีเนีย (37.3%)ภาษาอิตาลี (34.5%), ภาษาโครเอเชีย (24.4%), ภาษาเยอรมัน (2.5%)
โวราร์ลเบิร์กภาษาเยอรมัน (95.4%)ภาษาอิตาลี (4.4%)

ศาสนาและนิกายต่างในจักรวรรดิ

ตารางแสดงการนับถือศาสนาและนิกายต่างในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จากผลสำรวจเมื่อวันที่31 ธันวาคม พ.ศ. 2453 ตีพิมพ์ในหนังสือGeographischer Atlas zur Vaterlandskunde an der österreichischen Mittelschulen. K. u. k. Hof-Kartographische Anstalt G. Freytag & Berndt, Vienna, 1911.

ศาสนา/นิกาย พื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ออสเตรีย พื้นที่ฮังการี บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา
ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก 76.6% 90.9% 61.8% 22.9%
ศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ 8.9% 2.1% 19.0% 0%
ศาสนาคริสต์ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ 8.7% 2.3% 14.3% 43.5%
ยิว 4.4% 4.7% 4.9% 0.6%
มุสลิม 1.3% 0% 0% 32.7%

เมืองสำคัญ

ข้อมูล: การสำรวจสำมะโนประชากร ใน ปี ค.ศ. 1910[1]

จักรวรรดิออสเตรีย
อันดับชื่อในปัจจุบันชื่ออย่างเป็นทางการร่วมสมัย[2]อื่นๆประเทศในปัจจุบันประชากรใน ปี ค.ศ. 1910ประชากรในปัจจุบัน
1.เวียนนาWienBécs, Beč, Dunaj ออสเตรีย2,083,630 (city without the suburb 1,481,970)1,840,573 (Metro: 2,600,000)
2.ปรากPrag, PrahaPraga เช็กเกีย668,000 (city without the suburb 223,741)1,267,449 (Metro: 2,156,097)
3.ตรีเยสเตTriestTrst อิตาลี229,510204,420
4.ลวีฟLemberg, LwówЛьвів, Lvov ยูเครน206,113728,545
5.กรากุฟKrakau, KrakówKrakov โปแลนด์151,886762,508
6.กราซGradec ออสเตรีย151,781280,020
7.เบอร์โนBrünn, Brno เช็กเกีย125,737377,028
8.เชอร์นิฟซีCzernowitzCernăuți, Чернівці ยูเครน87,100242,300
9.เปิลเซนPilsen, Plzeň เช็กเกีย80,343169,858
10.ลินซ์Linec ออสเตรีย67,817200,841
ราชอาณาจักรฮังการี
อันดับชื่อในปัจจุบันชื่อย่างเป็นทางการร่วมสมัย[2]อื่นๆประเทศในปัจจุบันประชากรใน ปี ค.ศ.1910ประชากรในปัจจุบัน
1.บูดาเปสต์Budimpešta ฮังการี1,232,026 (city without the suburb 880,371)1,735,711 (Metro: 3,303,786)
2.แซแก็ดSzegedin, Segedin ฮังการี118,328170,285
3.ซูบอตีตซาSzabadkaСуботица เซอร์เบีย94,610105,681
4.แดแบร็ตแซ็น ฮังการี92,729208,016
5.ซาเกร็บZágráb, Agram โครเอเชีย79,038790,017
6.บราติสลาวาPozsonyPressburg, Prešporok สโลวาเกีย78,223425,167
7.ทิมิโซอาราTemesvárTemeswar โรมาเนีย72,555319,279
8.ออราเดียNagyváradGroßwardein โรมาเนีย64,169196,367
9.อารัดArad โรมาเนีย63,166159,074
10.คลูช-นาโปกาKolozsvárKlausenburg โรมาเนีย60,808324,576
  • กรุงเวียนนา
  • กรุงบูดาเปสต์
  • เมืองกราซ
  • เมืองปราก
  • เมืองลินซ์

ใกล้เคียง

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิบริติช จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิมองโกล จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรวรรดิโรมัน จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล: เฟสสอง จักรวรรดิรัสเซีย