ภูมิศาสตร์ ของ จังหวัดโรมโบลน

หาดมาคัตอัง

โรมโบลนตั้งอยู่กึ่งกลางของประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยสามเกาะหลัก (ตาบลาส, ซีบูยัน และโรมโบลน) และ 17 เกาะเล็ก ล้อมรอบด้วยน้ำทะเลลึก อยู่ใกล้กับเกาะมัสบาเตทางทิศตะวันออก เกาะมินโดโรทางทิศตะวันตก เกาะมารินดูเค‎ทางทิศเหนือ และเกาะปาไนทางทิศใต้ อยู่ห่างจากมะนิลาไปทางทิศใต้ประมาณ 187-169 กิโลเมตร การเดินทางไปยังเกาะต่าง ๆ ต้องใช้เรือ ยกเว้นเกาะตาบลาสที่มีสนามบินในประเทศ[5][6]

ภูมิประเทศ

จังหวัดมีพื้นที่ 1,533.45 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 5.3 ของพื้นที่เขตมีมาโรปา ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขามากถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่จังหวัด และเป็นที่ลาดเอียงมากกว่าร้อยละ 50 ภูมิประเทศอื่น ๆ ได้แก่ เนินเขาและที่ราบแคบริมชายฝั่ง[7][5][8]

ภูเขาส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับความสูง 400 เมตร (1,300 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล ชายฝั่งตะวันตกของเกาะตาบลาสเป็นแนวลูกคลื่น ส่วนฝั่งตะวันออกจะค่อนข้างขรุขระ พื้นที่ทางตอนใต้และตะวันตกเป็นที่ราบลูกฟูก ส่วนพื้นที่ขรุขระพบได้ทางตอนกลางของเกาะ ระดับความสูงที่สูงที่สุดอยู่ที่ 500 เมตร (1,600 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล

เกาะซีบูยันมีภูมิประเทศเป็นภูเขาป่าทึบ พื้นที่ทางตะวันตกของเกาะค่อนข้างขรุขระ ส่วนทางตะวันออกจะเป็นลูกฟูก จุดสูงสุดอยู่ที่ภูเขากีติงกีติง ซึ่งสูง 2,058 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล[7][5][8][9]

พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่จะอบู่บนเกาะตาบลาส (เทศบาลโอดีออนกัน, ซันอันเดรส, ลูค และซันตาเฟ) และซีบูยัน ซึ่งจะลาดเอียงเล็กน้อย พื้นที่ที่สามารถพัฒนาได้อยู่ที่ร้อยละ 13 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด[7][5][8]

ความหลากหลายทางชีวภาพ

โรมโบลน โดยเฉพาะบนเกาะซีบูยัน เป็นสถานที่เพียงไม่กี่แห่งของประเทศที่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์อย่างดี โดยมีป่าฝนที่ไม่ถูกรุกรานถึง 75% ของเกาะ และมีแม่น้ำคันตีกัสกับน้ำตก 34 แห่ง[10] ซีบูยันเป็นที่รู้จักกันในฉายา "กาลาปากอสแห่งเอเชีย" เพราะมีพืชและสัตว์เฉพาะถิ่นจำนวนมาก บางชนิดก็เพิ่งถูกค้นพบ โดยชนิดท้องถิ่นเหล่านี้ ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 9 ชนิด, กิ้งก่า 7 ชนิด, สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 2 ชนิด, นก 3 ชนิด และพืชที่มีท่อลำเลียง 112 ชนิด[10] ชนิดที่สำคัญ อาทิ Nepenthes argentii,[11][12] Nepenthes sibuyanensis,[11][12] Nepenthes armin,[11][12] หนูตะเภาลายซีบูยัน,[13] หนูผีซีบูยัน,[14] ค้างคาวผลไม้จมูกท่อฟิลิปปิน,[15] นกหัวขวานแถบคราม[16] และนกฮูกเหยี่ยวโรมโบลน[17] ส่วนบนเกาะตาบลาส มีนกท้องถิ่นอย่างน้อยสองชนิดที่ถูกค้นพบ ได้แก่ นกแซงแซวตาบลาส และนกแฟนเทลตาบลาส[18][19]

ภูมิอากาศ

โรมโบลนมีภูมิอากาศแบบที่สามจากการแบ่งของโคโรนา ซึ่งถูกนำมาใช้ในปี ค.ศ. 1920 ภูมิอากาศแบบนี้ไม่มีการแบ่งฤดูแล้งกับฤดูฝนที่ชัดเจน โดยฤดูฝนจะอยู่ประมาณเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน และอาจขยายไปถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนฤดูแล้งเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม แต่ก็มีฝนตกบ้าง อุณหภูมิโดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 27 °C (81 °F) เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่หนาวที่สุดที่ 20 °C (68 °F) ส่วนเดือนพฤษภาคมเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดที่ 35 °C (95 °F) ลมมรสุมฮาบากัต จะพัดผ่านในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ส่วนลมอามีฮัน จะพัดผ่านในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์[7][5][8]

ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลโรมโบลน
เดือนม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)28.5
(83.3)
29.2
(84.6)
30.2
(86.4)
31.7
(89.1)
32.7
(90.9)
32.3
(90.1)
31.3
(88.3)
28.7
(83.7)
31.2
(88.2)
30.8
(87.4)
30.0
(86)
28.9
(84)
30.46
(86.83)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)23.6
(74.5)
23.7
(74.7)
24.3
(75.7)
25.4
(77.7)
25.7
(78.3)
25.1
(77.2)
28.7
(83.7)
24.8
(76.6)
24.7
(76.5)
24.5
(76.1)
24.6
(76.3)
24.2
(75.6)
24.94
(76.9)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว)95
(3.74)
59
(2.32)
54
(2.13)
61
(2.4)
130
(5.12)
262
(10.31)
312
(12.28)
355
(13.98)
292
(11.5)
271
(10.67)
236
(9.29)
169
(6.65)
2,296
(90.39)
ความชื้นร้อยละ79777372758083838483828179.3
แหล่งที่มา: Weather-Averages.com[20]

ใกล้เคียง

จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดชลบุรี จังหวัดของประเทศไทย จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แหล่งที่มา

WikiPedia: จังหวัดโรมโบลน http://microform.at/?type=hcard-rdf&url=http://th.... http://maps.bing.com/GeoCommunity.asjx?action=retr... http://www.choosephilippines.com/go/islands-and-be... http://www.pinoymountaineer.com/2008/03/mt-guiting... http://tripgang.com/kml2gpx/http:%2F%2Ftools.wmfla... http://weather-averages.com/location/ph/1691538-ro... //doi.org/10.2305%2FIUCN.UK.2008.RLTS.T14953A44826... http://www.iucnredlist.org/apps/redlist/details/22... http://www.iucnredlist.org/details/14953/0 http://toolserver.org/~para/cgi-bin/kmlexport?roje...