บทบาททางการเมือง ของ จาตุรนต์_ฉายแสง

จาตุรนต์ ก้าวเข้าสู่การเมืองครั้งแรกจากการชักชวนของผู้เป็นพ่อให้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2529 ในนาม พรรคประชาธิปัตย์และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ฉะเชิงเทราสมัยแรก และสมัยที่ 2 ในปี 2531 และได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคประชาชน[5] ซึ่งนำโดยนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับการเลือกตั้งต่อเนื่องกันมาโดยตลอด จนกระทั่งในการเลือกตั้งปี 2544 จาตุรนต์ได้เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อสังกัดพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งเกิดรัฐประหารในปี 2549

ภายหลังรัฐประหาร ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย จาตุรนต์ ได้เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรครักษาการแทน[6]

หลังตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคไทยรักไทยด้วยมติเอกฉันท์ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 แล้ว ซึ่งก่อนมีคำตัดสิน จาตุรนต์ รักษาการหัวหน้าพรรค มีท่าทีว่าจะขอน้อมรับมติของศาล แต่หลังจากนั้นแล้ว จาตุรนต์ได้เดินทางไปที่ทำการพรรคและปราศรัยว่า เป็นการตัดสินที่ไม่เป็นธรรม เป็นคำพิพากษาที่มาจากปากกระบอกปืน ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้าน คมช.[7][8]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 39[9]

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม เขาถูกทหารควบคุมตัวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ อาคารมณียาเซ็นเตอร์ ถนนเพลินจิต โดยจาตุรนต์มิได้ขัดขืน ระหว่างการแถลงต่อผู้สื่อข่าว[10]

เขาเป็นบุคคลแรกที่ถูกไต่สวนในศาลทหารเนื่องจากไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่ง คสช.[11] เขาถูกตั้ง 3 ข้อหา คือ ขัดคำสั่ง คสช., ยุยงให้เกิดความกระด้างกระเดื่องและให้ทำผิดกฎหมาย (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116) และความผิดต่อความมั่นคงหรือก่อการร้ายตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ รวมมีโทษระวาง 14 ปี[12]เขาถูกจำคุกที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหนคร [13]ก่อนได้รับการปล่อยตัว ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ตำแหน่ง

ตำแหน่งในพรรคการเมือง
  • ปี พ.ศ. 2535 - 2538 ดำรงตำแหน่ง โฆษกพรรคความหวังใหม่
  • ปี พ.ศ. 2540 - 2542 ดำรงตำแหน่งเป็น รองเลขาธิการพรรคความหวังใหม่
  • ปี พ.ศ. 2542 - 2544 ได้รับเลือกเป็น เลขาธิการพรรคความหวังใหม่
  • ปี พ.ศ. 2544 ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรค สังกัดพรรคไทยรักไทย
รัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการ
  • ปี พ.ศ. 2539 - 2540 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง โดยเป็นการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรก ของนายจาตุรนต์ ฉายแสงในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[14]
  • ปี พ.ศ. 2544 เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ปี พ.ศ. 2545
    • เดือนมีนาคม 2545 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[15]
    • เดือนตุลาคม 2545 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
  • ปี พ.ศ. 2548
อื่น ๆ
  • ประธานกรรมการนโยบายและอำนวยการการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กยต.)
  • กรรมการในคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)
  • รองประธานกรรมการบริหารองค์การยูเนสโก
  • สมาชิกสมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ใกล้เคียง

จาตุรนต์ ฉายแสง จาตุรงค์ มกจ๊ก จาตุรันต์ ศิริพงษ์ จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ จาตุรงคสันนิบาต จาตุรงค์ พิมพ์คูณ จาตุรงค์ โกลิมาศ จตุรมิตรสามัคคี จัตุรัสเทียนอันเหมิน จตุรวิทย์ คชน่วม

แหล่งที่มา

WikiPedia: จาตุรนต์_ฉายแสง http://thai.cri.cn/1/2008/08/20/82s131794.htm http://www.bangkokpost.com/news/local/412047/chatu... http://www.naewna.com/news.asp?ID=61916 http://www.komchadluek.net/news/politic/185548 http://library.cmu.ac.th/pinmala/alumni_detail.php... http://library.cmu.ac.th/pinmala/show_alumni.php?t... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsi... http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?Ne... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1... http://www.moe.go.th/websm/minister/chaturon.htm