ความกลมกลืน ของ จีนโพ้นทะเล

โดยทั่วไป ชาวจีนโพ้นทะเลจะรวมตัวกันเป็นชุมชนตามเมืองต่างๆ เรียกว่า ชุมชนชาวจีน หรือ ไชน่าทาวน์ ความกลมกลืนของชาวจีนโพ้นทะเลกับชาวพื้นเมืองในดินแดนแต่ละดินแดนต่างกันไป

ชาวจีนในประเทศไทย

ดูบทความหลักที่: ชาวไทยเชื้อสายจีน
  • การแต่งงานข้ามเชื้อชาติระหว่างไทยกับจีน และชาวจีนในประเทศไทยก็ใช้ชีวิตกลมกลืนกับชาวไทยจนเป็นเรื่องปรกติ และมีคนไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ที่เชื่อว่าตนเป็นคนไทยไม่ใช่คนจีน หรือไม่ทราบว่ามีเชื้อสายจีน ทำให้ไม่สามารถหาจำนวนประชาชนที่เป็นเชื้อสายจีนที่ชัดเจนได้ รวมถึงภาษาจีนในประเทศไทยไม่มีคนพูดแล้ว
  • ชาวจีนที่อพยพมาก่อนรัชกาลที่ 5 (ย้อนไปถึงต้นรัตนโกสินทร์-อยุธยา) ในปัจจุบันมักจะเรียกตนเองว่าคนไทยและพูดภาษาจีนไม่ได้แล้ว ชาวจีนในยุคแรก ๆ ที่โล้สำเภามามักจะมีแต่ผู้ชายเพื่อมาทำแรงงานและได้แต่งงานกับชาวพื้นเมือง เช่นจังหวัดนครสวรรค์ ในสมัยปลายอยุธยาและยุครัตนโกสินทร์มีชาวจีนโล้สำเภามาทำการค้าและแรงงาน ได้แต่งงานกับชาวพื้นเมือง มีลูกหลานพูดภาษาไทย และลูกหลานได้แต่งงานผสมกับคนไทยอีกหลายรุ่น จึงทำให้เชื้อสายจีนหายไป และไม่มีการสืบทอดวัฒนธรรมแต่อย่างใด
  • ชาวจีนที่อพยพมายุคหลังรัชกาลที่ 5-8 มักจะพูดภาษาจีนได้แค่รุ่นแรก ๆ เท่านั้นๆ เช่นในยุคปัจจุบันลูกหลานชาวจีนพูดภาษาไทยและไม่สามารถพูดภาษาจีนได้ แต่รุ่นปู่ย่า-ตายาย-ทวด จะพูดภาษาจีนได้ เช่นที่เยาวราช ชาวจีนรุ่นแรกสามารถพูดภาษาจีนได้ แต่รุ่นหลัง ๆ ไม่สามารถพูดภาษาจีนได้ ด้วยสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยที่อ้อมล้อม
  • ชาวจีนยุครัชกาลที่ 9 เรามักจะระบุชัดเจนเรื้องสัญชาติและเชื้อชาติ ชาวจีนที่แต่งงานกับชาวไทยและมีลูกเรามักจะเรียกว่าลูกครึ่ง และมีการระบุรองรับสัญชาติไทย-จีนตามกฎหมาย ชาวจีนที่ย้ายมาอยู่ในประเทศไทยมักจะถูกเรียกว่าชาวต่างชาติ
  • ในอดีตประเทศไทยมีการยกเลิกระบบโรงเรียนจีน จึงทำให้ลูกหลานชาวจีนจำนวนมากอ่าน-เขียน-พูด ภาษาจีนไม่ได้
  • ในอดีตสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ มีเส้นทางการค้าในภาคใต้ของไทย ทั้งในอาณาจักรนครศรีธรรมราช ลังกาสุกะ (ปัตตานี) มีชาวจีนจำนวนมากเดินทางมาแลกเปลี่ยนค้าขายและได้ตั้งหลักแหล่งผสมกับชาวพื้นเมือง แต่ในปัจจุบันถูกชาวพื้นเมืองกลืนไปหมดแล้ว
  • ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการสร้างทางรถไฟสายเหนือ แรงงานชาวจีนจำนวนมากได้สร้างทางรถไฟ และเมื่อสร้างเสร็จชาวจีนที่พอใจในหลักแหล่งมักจะตั้งถิ่นฐานที่นั่น เช่น จังหวัดนนทบุรี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลำปาง, จังหวัดเชียงใหม่ แรงงานจำนวนมากเป็นผู้ชาย และได้แต่งงานกับชาวพื้นเมือง ในปัจจุบันถูกชาวพื้นเมืองกลืนไปหมดแล้ว มีจำนวนน้อยเท่านั้นที่ชักจูงญาติมาอยู่อาศัยด้วยกันและสืบทอดเชื้อสายจีน

ชาวจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  • ในพม่า การแต่งงานข้ามเชื้อชาติยังมีน้อยมาก มีการนำวัฒนธรรมพม่ามาใช้บ้าง แต่ยังคงเห็นความแตกต่างระหว่าง 2 วัฒนธรรมอย่างชัดเจน ชาวจีนในพม่าส่วนมากพูดภาษาจีนได้ แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถพูดภาษาพม่าได้
  • ประเทศไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และพม่า ไม่ให้ตั้งชื่อแบบจีน คือ ใช้แซ่ นำหน้าชื่อ และยังไม่เป็นที่นิยมที่จะใช้ชื่อเป็นภาษาจีน ดังนั้นจึงไม่สามารถหาจำนวนชาวจีนที่แน่นอนในประเทศเหล่านี้ได้
  • สิงคโปร์ ในทางตรงกันข้าม ชาวจีนโพ้นทะเลมีจำนวนมากและเกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น อีกทั้งยังคงดำรงวัฒนธรรมเอกลักษณ์ในชุมชนของตน แต่ก็สามารถเข้ากันได้ดีกับชาวพื้นเมือง อาจเป็นเพราะว่าสังคมของประเทศนี้ยอมรับวัฒนธรรมหลายหลาย (multi-cultural society)
  • ในบางประเทศวัฒนธรรมจีนมีอิทธิพลอย่างสูงกับวัฒนธรรมเดิม เช่น ในประเทศเวียดนาม เดิมเวียดนามรับวัฒนธรรมจีนเข้ามาบ้างแล้วในอดีต เช่น การไหว้บรรพบุรุษ และชอบลูกชายมากกว่าลูกสาว ในสภาพสังคมปัจจุบันชาวเวียดนามนิยมทำแท้งเมื่อรู้ว่าลูกในท้องไม่ใช่ลูกชาย จำทำให้ประเทศเวียดนามมีปัญหาด้านประชากรไม่สมดุล มีผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ฯลฯ จึงทำให้ชาวจีนและชาวเวียดนามอาศัยกันอยู่แบบกลมกลืน
  • มาเลเซีย ชาวจีนในมาเลเซียมีการแยกกันอยู่กับชนพื้นเมือง มีเพียงจำนวนน้อยที่กลมกลืนกับชนพื้นเมืองเดิม เช่นในเมืองหลวงกัวลาลัมเปอร์มีชาวจีน อินเดีย มาเลเซียอาศัยอยู่ร่วมกันได้ ชาวจีนจำนวนมากในมาเลเซียสามารถพูดภาษาจีนได้ รักษารากวัฒนธรรมไว้เหนียวแน่น มีประเพณีที่ครบถ้วน รวมถึงสถาปัตยกรรมสไตล์จีนในมาเซียจำนวนมาก และไม่ได้แต่งงานกับชนพื้นเมืองใด ๆ ชาวจีนในมาเลเซียจำนวนมากไม่สามารถพูดภาษามาเลเซียได้ สาเหตุเป็นเพราะชาวมาเลเซียนับถือศาสนาอิสลาม ส่วนชาวจีนนับถือพุทธหรือลักธิเต๋า จึงไม่สามารถทำให้อาศัยอยู่ด้วยกันได้ ในยุคปัจจุบันนิยมใช้ภาษาอังกฤษและมาเลเซียเป็นภาษาราชการแทน ในประเทศมาเลเซียนิยมให้ภูมิบุตรเดิมเป็นชนชั้น 1 และชาวจีน,อินเดียมักจะมีปัญหาเรื่องการทำงาน หลายครั้งที่มีการประท้วงเรื่องภูมิบุตรในมาเลเซีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: จีนโพ้นทะเล http://www.asiapacific.ca/sites/default/files/file... http://www.asiapacific.ca/statistics/population/po... http://www.chinadaily.com.cn/china/2012-04/09/cont... http://www.china.org.cn/china/NPC_CPPCC_2012/2012-... http://www.timeoutdubai.com/community/features/368... http://sokheounpang.wordpress.com/2012/02/01/cambo... http://www.slate.fr/story/23827/chinois-de-france-... http://sp2010.bps.go.id/files/ebook/kewarganegaraa... http://www.moj.go.jp/content/001269620.pdf http://www.moj.go.jp/nyuukokukanri/kouhou/nyuukoku...