ประวัติ ของ จีโปรตีน

นักเคมีชีววิทยาชาวอเมริกันสองท่าน (Alfred G. Gilman และ Martin Rodbell) ค้นพบจีโปรตีนเมื่อตรวจสอบการเร้าเซลล์ด้วยเอพิเนฟรีนแล้วพบว่า เมื่อเอพิเนฟรีนจับกับหน่วยรับ หน่วยรับไม่ได้กระตุ้นให้เอนไซม์ภายในเซลล์เริ่มการทำงานโดยตรงแต่หน่วยรับกระตุ้นจีโปรตีน ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นเอนไซม์เช่น adenylate cyclase ให้สร้างโมเลกุลส่งสัญญาณที่สองคือ cyclic AMP[7]เพราะการค้นพบนี้ นักวิชาการทั้งสองท่านได้ร่วมรับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ปี 1994[8]

รางวัลโนเบลหลายรางวัลได้มอบให้เนื่องกับงานด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการส่งสัญญาณของจีโปรตีนและ GPCRรวมทั้งสารต้านหน่วยรับ (receptor antagonist), สารสื่อประสาท, การดูดสารสื่อประสาทคืน (neurotransmitter reuptake), G protein-coupled receptors, จีโปรตีน, โมเลกุลส่งสัญญาณที่สอง, เอนไซม์ที่จุดชนวนปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชันของโปรตีนเมื่อตอบสนองต่อ cAMP, และกระบวนการทางเมแทบอลิซึมที่เกิดต่อ ๆ มาเช่น การสลายไกลโคเจน (glycogenolysis)[upper-alpha 1]ตัวอย่างรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์เด่น ๆ ที่ให้รวมทั้ง

  • ปี 1947 ให้แก่ Carl Cori, Gerty Cori และ Bernardo Houssay เพราะได้ค้นพบว่า ไกลโคเจนสลายเป็นกลูโคสและสังเคราะห์ขึ้นในร่างกายเพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บพลังงานได้อย่างไร โดยการสลายไกลโคเจนสามารถเกิดขึ้นเมื่อกระตุ้นโดยฮอร์โมนหรือสารสื่อประสาทมากมายรวมทั้งเอพิเนฟรีน
  • ปี 1970 ให้แก่ Julius Axelrod, Bernard Katz และ Ulf von Euler เพราะงานเกี่ยวกับการปล่อยและการดูดซึมคืนสารสื่อประสาท
  • ปี 1971 ให้แก่ Earl Sutherland เพราะค้นพบบทบาทหลักของ adenylate cyclase ซึ่งสร้างโมเลกุลส่งสัญญาณที่สองคือ cyclic AMP[7]
  • ปี 1988 ให้แก่ George H. Hitchings, Sir James Black และ Gertrude Elion เนื่องกับ "การค้นพบหลักสำคัญในการรักษาด้วยยา" ที่มี GPCR เป็นเป้าหมาย
  • ปี 1992 ให้แก่ Edwin G. Krebs และ Edmond H. Fischer เพราะได้อธิบายปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชันแบบผันกลับได้ ซึ่งทำงานเหมือนกับสวิตช์โมเลกุลที่เริ่มการทำงานของโปรตีน และที่ควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ในเซลล์รวมทั้งการสลายไกลโคเจน[9]
  • ปี 1994 ให้แก่ Alfred G. Gilman และ Martin Rodbell เพราะค้นพบ "จีโปรตีนและบทบาทของโปรตีนเหล่านี้ในการถ่ายโอนสัญญาณภายในเซลล์"[10]
  • ปี 2000 ให้แก่ Eric Kandel, Arvid Carlsson และ Paul Greengard สำหรับงานวิจัยเกี่ยวกับสารสื่อประสาทเช่น โดพามีน ซึ่งออกฤทธิ์ผ่าน GPCR
  • ปี 2004 ให้แก่ Richard Axel และ Linda B. Buck สำหรับงานเกี่ยวกับหน่วยรับกลิ่นซึ่งเป็น GPCR[11]
  • ปี 2012 ให้แก่ Brian Kobilka และ Robert Lefkowitz สำหรับงานเกี่ยวกับการทำงานของ GPCR[12]