ชนบัลการ์
ชนบัลการ์

ชนบัลการ์

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งชนบัลการ์ หรือ ชนโบลการ์ (อังกฤษ: Bulgars, หรือ Bolgars, หรือ Bulghars, หรือ Proto-Bulgarians, ภาษาฮั่น-Bulgars[1]) เป็นกลุ่มชาติพันธ์กึ่งเร่ร่อนที่อาจจะสืบเชื้อสายมาจากชนเตอร์กิกที่เดิมมาจากเอเชียกลาง[2] ที่มาเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่างๆ ในยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชนบัลการ์ก่อก่อตั้งรัฐเกรตบัลแกเรีย, วอลกาบัลแกเรีย และ จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 ในบริเวณต่างๆ ในยุโรปสามบริเวณ ภาษาบัลการ์ที่ใช้ในพูดกันในบรรดาชนชั้นสูงเป็นภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มเตอร์กิกซึ่งกับภาษาฮั่น คาซาร์ และ เตอร์กิกอวาร์เป็นหนึ่งในสาขาOghuricของภาษากลุ่มเตอร์กิก[2]หลังจากการโยกย้าถิ่นฐานมาจากเอเชียกลางชนบัลการ์ก็มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณเสต็ปป์ (steppe) ทางตอนเหนือของCaucasusและในบริเวณรอบฝั่งแม่น้ำวอลกา (ต่อมา คอเคซัส) ระหว่าง ค.ศ. 377 ถึว ค.ศ. 453 ชนบัลการ์ก็ร่วมในการปล้นของชนฮั่นในการปล้นทำลายยุโรปตะวันตกและยุโรปกลาง หลังจากการเสียชีวิตของอัตติลาในปี ค.ศ. 453 และการล่มสลายของจักรวรรดิฮั่น (Hunnic Empire) ต่อมา ชนบัลการ์ก็แตกแยกกันไปทางตะวันออกและทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบจากบริเวณเสต็ปป์ในยูเครนชี้ให้เห็นว่าชนบัลการ์สมัยแรกมีลักษณะที่ตรงกับผู้คนในวัฒนธรรมที่ขี่ม้าเร่ร่อน (nomadic equestrians) ของเอเชียกลางผู้ที่ย้ายถิ่นฐานตามฤดูเพื่อหาแหล่งหญ้าใหม่สำหรับเลี้ยงสัตว์ แต่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ชนบัลการ์ก็เริ่มตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง ทำการเกษตรกรรม และมีอาชีพต่างๆ เช่นช่างตีเหล็ก ช่างสลักหิน และช่างไม้ หลักฐานการค้นคว้าเกือบทุกหลักฐานอ้างว่าชนซาร์มาเชียน (Sarmatians) ที่เป็นชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ข้างเคียงเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชนบัลการ์[3] นักประวัติศาสตร์บางคนถึงกับกล่าวว่าชนบัลการ์มีส่วนผสมของชนซาร์มาเชียนดั้งเดิม[4] แต่ที่มาและภาษาของชนบัลการ์เป็นหัวข้อที่โต้แย้งกันมาเป็นเวลากว่าร้อยปีแล้ว ทฤษฎีล่าสุดกล่าวว่าชนบัลการ์ชั้นสูงอาจจะพูดภาษากลุ่มเตอร์กิกและมีความเกี่ยวข้องกับชนฮั่น และเมื่อพิจารณาความเกี่ยวโยงทางประวัติศาสตร์ของยุโรปตะวันออกต่อมาทำให้เห็นได้ว่ามีความเกี่ยวข้องที่ใกล้ชิดกับชนอลันส์ (Alans) - อีกกลุ่มหนึ่งที่พูดภาษากลุ่มอิหร่าน[5] แหล่งข้อมูลร่วมสมัยเช่นโพรโคพิอัส (Procopius), อากาไธอัส (Agathias) และเมนันเดอร์ โพรเท็คเตอร์ (Menander Protector) เรียกชนบัลการ์ว่า “ฮั่น[6] ขณะที่แหล่งข้อมูลอื่นเช่นพระสังฆราชไบแซนไทน์สังฆราชมิคาเอลที่ 2 แห่งอันติโอค (Patriarch Michael II of Antioch) เรียกว่า “ชนซิเธียน” หรือ “ชนซาร์มาเชียน” แต่การเรียกชื่อหลังอาจจะมาจากประเพณีการเรียกชื่อกลุ่มชนตามที่ตั้งหลักแหล่งทางภูมิศาสตร์ก็เป็นได้ เนื่องจากการขาดหลักฐานที่แน่นอนนักวิชาการสมัยปัจจุบันจึงกล่าวถึงชนบัลการ์พร้อมทั้งคำอธิบายถึงที่มา