ประวัติของชาจีน ของ ชาจีน

การชิมชา
ดูบทความหลักที่: History of tea in China
ดูเพิ่มเติมที่: History of tea

ในทางปฏิบัติการดื่มชามีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากในประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิด. ถึงแม้ว่าแหล่งกำเนิดชาจะอยู่ในประเทศจีน โดยทั่วไปชาจีนจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงใบชาซึ่งใช้กรรมวิธีสืบทอดมาจากจีนสมัยโบราณ จากการจารึกที่เป็นที่กล่าวถึง ชาถูกค้นพบโดยจักรพรรดิ์จีน เซินนอง ในปี 2737 ก่อนคริสตกาล เมื่อใบไม้ในบริเวณใกล้พุ่มไม้ร่วงลงมาในน้ำต้มสำหรับจักรพรรดิ์ ชาจึงได้หยั่งรากลึกในประวัติศาตสต์และวัฒนธรรมของจีน เครื่องดื่มชา กล่าวว่า เป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็น 7 สิ่งของชีวิตชาวจีน รวมไปถึงไม้ก่อไฟ ข้าว น้ำมัน เกลือ ซอสถั่วเหลือง และน้ำส้มสายชู

ชาจีน สามารถแบ่งกลุ่ม จำแนกตามความแตกต่างได้ 5 กลุ่มหลัก คือ ชาขาว ชาเขียว ชาอู่หลง ชาดำ และชาหลังการหมัก ส่วนกลุ่มอื่นจะมีการเพิ่มประเภทชาหอมและชาอบแห้ง. ซึ่งชาต่าง ๆ เหล่านี้มาจากความหลากหลายของแหล่งปลูกคาเมลเลีย ไซเนนซิส. ชาจีนส่วนใหญ่บริโภคโดยชาวจีน และไม่มีการส่งออก นอกจากชุมชนชาวจีนในประเทศต่าง. ชาเขียวเป็นชาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมบริโภคในประเทศจีน

จากการจำแนกกลุ่มชาหลัก ๆ จากความหลากหลายของชาจำนวนมาก สำหรับเครื่องดื่มที่เป็นเอกเทศเช่นนี้ นักวิจัยบางท่านได้นับจำนวนได้มากกว่า 700 ชนิด ส่วนอื่นที่นำมารวมด้วยมีมากกว่า 1,000 ชนิด บางส่วนมีการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ที่แตกต่างกันจากแหล่งปลูกคาเมลเลีย ยกตัวอย่างชนิดชาที่เป็นที่นิยม คือ ไทกวนยิน เป็นชาที่ถูกค้นพบในเมืองอันซี มณฑลฟูเจี้ยน ส่วนชาชนิดอื่นมีลักษณะตามแหล่งปลูกชาพื้นเมือง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ชามีความหลากหลายมาจากกรรมวิธีที่แตกต่างของขบวนการผลิตชาหลังจากใบชาถูกเก็บ. ชาขาวและชาเขียวจะได้รับความร้อน (จีนตัวย่อ: 杀青; จีนตัวเต็ม: 殺青) เพื่อรักษาสารต้านอนุมูลอิสระให้ยังคงอยู่ มักจะเรียกขบวนการนี้ว่า การหมัก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เอนไซม์ธรรมชาติยังคงอยู่ในใบชา. ชาอู่หลงจะถูกอ๊อกซิไดน์เพียงส่วน ส่วนชาดำและชาแดงจะถูกอ๊อกซิไดน์ทั้งหมด ส่วนความแตกต่างของชาชนิดอื่น ๆ มักมาจากขั้นตอนการผลิตที่หลากหลาย

ราชวงศ์ซ้อง

การปลูกชาที่เด่น ๆ จะอยู่ในช่วงราชวงศ์ซ้อง ไร่ชาครอบคลุมกว่า 242 ประเทศ ณ ช่วงเวลานั้น รวมไปถึงชาบรรณาการ ซึ่งเป็นชาที่มาจากมณฑลเจอเจียง และมณฑลฟูเจี้ยน ซึ่งส่งออกไปยังประเทศในแถบเอเซียตะวันอออกเฉียงใต้ และ ประเทศแถบอาหรับ

ในสมัยราชวงศ์ซ้อง ชาเริ่มได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที เค๊ก (เค็กชา) บางรูปแบบของมังกรจีนและนกคู่ในตำนาน (Fenghuang) ถูกสลักเป็นลายนูน และมีชื่อภาษาต่างประเทศรวมอยู่ด้วย:

เค๊กชามังกรใหญ่ เค๊กชามังกรน้อย เค๊กลูกมังกรหิมะ ต้นกล้าเงิน ใบไม้เฆม เงินสีทอง ดอกไม้หยก นิ้วทอง ต้นกล้าอายุมั่นขวัญยืน ใบหยกฤดูใบไม้ผลิ มังกรซ่อนเฆม ต้นมังกรอายุยืน มังกรฟินิกซ์และดอกไม้ ต้นเงินฤดูใบไม้ผลิ.

มังกรใหญ่ ที เค็ก(tea cake)

ราชวงศ์หมิง

จองหงวนสมัยราชวงศ์หมิง นามว่า เหวิน เซินเฮง เจ้าของหนังสือสารานุกรม จาง หวู่ ซือ (จีนตัวย่อ: 长物志; จีนตัวเต็ม: 長物志; ตำราที่กล่าวถึงสิ่งฟุ่มเฟือย) มีทั้งหมด 12 เล่ม บรรยายด้วยเนื้อหาถึงชื่อเสียงของชาราชวงศ์หมิงหลายครั้ง เช่น

ชาหูเชีย และ ชาเทียนชือ (Huqiu และ Tianchi)

ในช่วงเวลานั้น ชาหูเชีย (จีน: 虎丘茶; lit. "ชาเสือภูเขา") เพื่อไม่ให้สับสนกับชาดำที่มีชื่อเดียวกันจากเขตนิวจีริจ ในรัฐทมิฬนาฑู อินเดีย) เป็นแหล่งที่ได้รับการพัฒนาชาที่ดีที่สุดในโลก ปริมาณผลผลิตค่อนข้างจะน้อยและขบวนการผลิตถูกควบคุมโดยรัฐบาลจีน อย่างไรก็ตาม ยังมีชาอีกชนิดหนึ่งที่รสชาติดีรองลงมา คือ ชาเทียนชิ (จีน: 天池茶; lit. "สระแห่งสวรรค์")

ชาเจีย (Jie tea)

ชาเจีย (จีน: 岕茶 ) มาจากเมืองฉางเซียง มณฑลเจ้อเจียง ได้รับการยกย่องอย่างสูงจากผู้เชี่ยวชาญถึงแม้ว่าจะมีราคาค่อนข้างแพง

รายละเอียด: เจีย เป็นชื่อย่อของ ลัว เจีย (จีนตัวย่อ: 罗岕; จีนตัวเต็ม: 羅岕) ลัว เจีย เป็นชื่อของภูเขาบริเวณชายแดนมณฑลจิง ฉี ในสมัยราชวงศ์หมิง เจีย หมายถึง อาณาเขต. ฉาง ซิน ขนานไปทางใต้ของภูเขาลัว เจีย ขณะที่ จิง ฉี ขนานไปทางทิศเหนือของภูเขา ดังนั้นชื่อ ฉาง ซิน ยังคงเป็นชื่อที่ใช้อยู่จนทุกวันนี้.

ชา ลัว เจีย มาจากภูเขา กู ชู ในเมืองฉางเซียง มณฑลเจ้อเจียง เป็นที่รู้จักในนาม "ชากู ชู ไวโอเลต ชูต". "ชากู ชู ไวโอเลต ชูต" เป็นชาบรรณาธิการของจักรพรรดิตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง อายุใกล้ 900 ปี ตั้งแต่กลางรัชสมัยจิ๋น "ชากู ชู ไวโอเลต ชูต" กลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งในช่วงปี 1970 ซึ่งถือเป็นชาคุณภาพระดับสูงของจีน

รายละเอียด: จิ๋น ซี ในปัจจุบันถูกเรียกว่า เมือง หยิน ซิน. ชาจิ๋น ซี เป็นที่รู้จักในชื่อ ชาหยาง เซียน. ใบรัว ร่วงจากต้นไผ่ อินโดคาลามัส เทสเซลลาตัส ขนาดของใบยาว 45 เซนติเมตร

ชาลี่อัน (Liu'an tea)

ชาลี่อัน (จีน: 六安茶) มักใช้สำหรับทำยาจีน เนื่องจากชาชนิดนี้ไม่มีกลิ่นและมีรสชาติขมถ้าไม่อบอย่างถูกวิธี คุณสมบัติของชานี้ถือว่ามีคุณสมบัติที่ดีทีเดียว. ชาประเภทนี้เหมาะอย่างยิ่งกับผู้ที่เจ็บป่วยจากปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร

ชาลี่อัน ยังคงมีการผลิดในประเทศจีน มณฑลอันหุย สาธารณรัฐประชาชนจีน. ชาอันหุย นำมาจากถ้ำค้างคาวของเมืองจินไซ ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องของคุณภาพ เนื่องจากมีค้างคาวนับพัน ๆ ตัวอาศัยอยู่ในถ้ำแห่งนี้ จึงเสมือนมีปุ๋ยชั้นดีสำหรับแหล่งปลูกชา

ชาซองลัว (Songluo tea)

ชาซองลัว ถูกผลิตที่เขาซองลัว ที่ตั้งอยู่ทางเหนือของเมืองซิวหนิง ในมณฑลอันหุย สาธารณรัฐประชาชนจีน. ไร่ชานี้ปลูกกระจายตามระดับความสูงที่ 600 ถึง 700 เมตรบนภูเขา

ไม่มีชาซองลัวปลูกนอกพื้นที่ 12 mu (1 mu = 667 ตารางเมตร) และมีเพียงชาไม่กี่ครอบครัวที่เป็นเจ้าของขบวนการกลั่นเต็มรูปเพื่อเตรียมชาซองลัว เมื่อไม่นานมานี้ มีชาชนิดนี้ที่อบด้วยมือของพระสงฆ์บนเขายิ่งทำให้ดียิ่งขึ้น

ชาซองลัวของแท้จะถูกผลิตที่ตีนเขาของดองชาน (เนินเขาของถ้ำ) และยอดสุดของเทียน ชี (จีน: 天池; lit. "สระแห่งสวรรค์") ซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่าที่คนในเมืองซีอันรักมาก และมักเป็นที่ชื่นชอบของคนเมืองนานดู และเมืองชูซอง เนื่องจากสถานที่นี้ง่ายต่อการชงชาและกลิ่นที่หอมมาก

ชาหลงจิง และชาเทียนมู (Longjing and Tianmu tea)

ชาหลงจิง และชาเทียนมู อาจจะตรงกับชาสระแห่งสวรรค์ เนื่องจากปลูกในภูมิอากาศที่เหมาะแก่การเติบโตเหมือนกัน เนื่องจากฤดูหนาวมาก่อนบนภูเขา จึงมีความสมบูรณ์ของหิมะในฤดูหนาว ดังนั้น พืชชาจึงสามารถเพาะตัวขึ้นได้ในเวลาต่อมา

ชาหลงจิงถูกผลิตในเขตทะเลสาบตะวันตกของมณฑลหางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน หลงจิง ตามตัวอักษรคือ "มังกรดี" ที่ตั้งอยู่บนเขาเฟิงฮวง เขาเทียนมู ตั้งอยู่ที่เมืองลี่ อันด้านตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลเจ้อเจียง มี 2 ยอดเขาสูง 1,500 เมตร แต่ละมีบ่อน้ำบนยอดเขาที่เต็มไปด้วยน้ำใสกระจ่างเหมือนดวงตา ดังนั้นจึงชื่อ เทียนมู (จีน: 天目, lit. "ดวงตาสวรรค์").