ชนิดของชาเขียวญี่ปุ่น ของ ชาญี่ปุ่น

[1]ชาชงจากใบชาแท้

  1. เซ็นจะ (煎茶, sencha) ร้อยละ 80 ของชาญี่ปุ่น ชงอุณหภูมิสูงจะหอมแต่ติดขมฝาด หากที่ชงอุณหภูมิต่ำราว 60 องศาเซลเซียส หรือชงด้วยน้ำเย็น หลายคนจะสามารถรับรสหวานที่หลบอยู่ได้ แต่ส่วนใหญ่จะรับรสที่ใกล้กับรสเค็มอ่อน ๆ เรียกว่ารส "อูมามิ" รสนี้ภาษาไทยไม่มีคำโดยตรง คำเรียกรสเฉพาะนี้มีแต่ในภาษาญี่ปุ่น
  2. ฟูกามูชิจะ (深蒸し茶, fukamushicha) อบไอน้ำนานกว่า มีรสฝาดกว่าเซ็นจะ ดื่มคล่องคอ
  3. เกียวกูโระ (玉露, gyukuro) ชาทีจัดว่าคุณภาพสูง เพราะมีการบังแสงระหว่างการปลูก รสอูมามิสูงมากซึ่งเป็นรสเดียวกับที่มีในสาหร่ายทะเลและมะเขือเทศ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นค้นพบว่าเป็นรสที่ทำให้แกงและซุปที่เคี่ยวไว้หลายวันอร่อยขึ้น จึงสังเคราะห์สารเคมีเลียนแบบทำเป็นผงชูรส
  4. มัตจะ (抹茶, matcha) ชาชนิดนี้ใช้ใบชาคุณภาพสูงแบบเกียวกูโระแต่ไม่ผ่านการนวดให้เป็นเส้นแบบเกียวกูโระชาจะถูกร่อนเส้นกลางใบและใยออก ก่อนนำไปโม่ในโม่หินจนเป็นผง เมื่อจะชงต้องใช้จะเซ็นหรือแปรงไม้ไผ่เพื่อให้ใบชาที่เป็นผงกระจายเป็นสภาพคอลลอยด์ในของเหลว ในภาษาไทยสะกดหลายแบบ เช่น มัทฉะ, มัตฉะ, มัจจะ
  5. เมจะ (芽茶, mecha) ยอดและใบที่หักจาก การผลิตเกียวกูโระและเซ็นจะ
  6. โคนาจะ (粉茶, konacha)ใบชาที่หักป่นจากขั้นตอนทำเซ็นจะและเกียวกูโระ
  7. คูกิจะ (茎茶, kukicha) ก้านชาที่ร่อนออกมาจากการทำเซ็นจะและเกียวกูโระ
  8. บันจะ (番茶, bancha) ก้านและใบที่เป็นเศษจากการทำชาเซ็นจะ
  9. เคียวบันจะ (京番茶, kyoubancha) ใบชาเก็บเกี่ยวครั้งหลัง ๆ เป็นชาคั่ว ราคาถูกกว่าเซ็นจะ บางทีใช้เรียกโฮจิจะได้
  10. โฮจิจะ (焙じちゃ, houjicha) ชาเขียวเซ็นจะหรือบันจะที่นำไปคั่วต่อจนหอมกลิ่นคั่ว กาเฟอีนต่ำกว่าเซ็นจะ
  11. เก็มไมจะ (玄米茶, gemmaicha) ชาบันจะหรือเซ็นจะ คั่วผสมข้าวบาร์เลย์หรือข้าวคั่ว
  12. ทามาเรียวกูจะ (玉緑茶, tamaryokucha) ใบชาจะถูกนวดจนกลม
  13. ชานวดมือ (手揉み茶, temomicha) ผลิตได้น้อย รสชาติสดชื่น
Green tea kabuse-cha

ที่รู้จักกันทั่วไปในไทย

  1. มัตจะลาตเท
  2. มัตจะ
  3. เกียวกูโระ
  4. เซ็นจะ
  5. โฮจิจะ
  6. เก็มไมจะ