พิธีชงชาญีปุ่น ของ ชาญี่ปุ่น

ซะโดหรือพิธีชงชาญี่ปุ่น การดื่มชาเริ่มจากประเทศจีน และพระญี่ปุ่นได้นำเข้ามาในญี่ปุ่นพร้อมกับศาสนาพุทธในการดื่มเพื่อคลายความง่วง และรับพิธีการชงชามาพร้อมๆกัน ในยุคเริ่มแรกยังไม่ใช้มัตจะที่ทำจากชาเขียวแต่ใช้ชาอัดแผ่นบดแล้วชง จนกระทั่งมัตจะที่ทำจากชาเขียวถูกพัฒนาขึ้นภายหลัง ชามักถูกชงเพื่อรับแขกชั้นสูงในห้องที่ตกแต่งอย่างโออ่าของบ้านขุนนาง หรือเศรษฐีชาวญี่ปุ่นในยุคมุโรมาจิ และในยุคอาซุกะโมโมยามะ (ปลายยุคสงคราม ค.ศ. 1568–1600) เมื่อซามุไรมีอำนาจมากขึ้นความฟุ้งเฟ้อที่ขึ้นสู่จุดสูงสุดทำให้มีกระแสต่อต้านกลับไปสู่ความเรียบง่าย ทำให้พระที่ชื่อเซนโนริคิว วางรูปแบบของการชงชาญี่ปุ่น โดยมุ่งเน้นให้ขุนนางระลึกถึงความสมถะและความไม่สมบูรณ์ (วาบิซาบิ) มากกว่าความฟุ้งเฟ้อที่เป็นอยู่ในขณะนั้น

ซะโด เป็นส่วนหนึ่ง ของ ซันโดะ (三道:ไตรมรรคา)เป็นการศึกษาในพุทธศาสนาญี่ปุ่น(อาจมีการใช้คำว่าไตรสิกขาโดยการเปลี่ยความหมายใหม่) ที่กอบด้วย ศิลปะสามสาย(芸道) ด้านบุ๋น คือ ซะโดะ(ชงชา) คะโดะ(จัดดอกไม้) โคโดะ (ปรุงกลิ่น)และ อีก สามศิลปะการป้องกันตัว หรือ บูชิโด(武道)ด้านบู๊ ได้แก่ เคนโด อิไอโด และยูโด