ประวัติ ของ ชาวเขมร

ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์กัมพูชา

การกำเนิดกัมพูชา

แคว้นต่างๆในช่วงยุคเหล็กของอินเดีย

ตามตำนานเขมร ผู้ก่อตั้งอาณาจักรกัมพูชา คือ พราหมณ์ นามว่ากามพู สวยัมภูวะ หรือ โกญธัญญะ และเจ้าหญิงที่เป็นธิดาของพญานาค นามว่า โสมา หรือ เมรา เมื่อทั้งสองได้แต่งงานกันก็ได้กำเนิดนามว่า "ขะแมร์" ชาวเขมรตั้งชื่ออาณาจักรของพวกเขาว่า "กัมพูชา" ตามกษัตริย์แห่งกัมโพชะแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปในยุคเหล็กของอินเดีย เผ่ากัมพูชา มีความเชื่อกันโดยนักวิชาการสมัยใหม่ว่าอาจสืบเชื้อสายมาจากชาวอิหร่านในปัจจุบัน แต่ข้อมูลยังเป็นที่ถกเถียงและยังหาข้อสรุปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม กัมพูชาถูกสร้างขึ้นเมื่อพราหมณ์อินเดียโบราณแต่งงานกับเจ้าหญิงโสมา พราหมณ์โกญธัญญะ (สันนิฐานว่ามาจากอินเดีย) ได้เดินทางมายังชายฝั่งของเขมร ธิดาพญานาคผู้ครองดินแดนแถบนี้ได้พายเรือออกมาต้อนรับ แต่พราหมณ์โกญธัญญะเป็นผู้มีเวทมนตร์คาถาได้ยิงธนูวิเศษมาที่เรือธิดาพญานาค ทำให้นางตกพระทัยกลัว แล้วยินยอมแต่งานด้วย ส่วนพญานาคผู้บิดาได้ทรงดื่มน้ำทะเลจนเหือดแห้งเพื่อสร้างอาณาจักรให้ราชบุตรเขยและธิดา และตั้งชื่ออาณาจักรที่สร้างขึ้นว่า "กัมพูชา"[25]

การมีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อาณาเขตของอาณาจักรฟูนัน

ชาวเขมรเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวเขมรได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเวลาเดียวกันกับ ชาวมอญ ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางทิศตะวันตกและมีเกี่ยวข้องทางบรรพบุรุษกับชาวเขมร นักโบราณคดี, นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ และผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ เช่น จีนศึกษา เชื่อว่าพวกเขามาถึงไม่ช้ากว่า 2000 ก่อนคริสต์ศักราช (กว่าสี่พันปีมาแล้ว) ในช่วงแรกชาวเขมรเริ่มทำการเกษตรและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพาะปลูกข้าว ภูมิภาคที่ชาวเขมรอาศัยอยู่นี้ยังเป็นหนึ่งในสถานที่แรกในโลกที่เริ่มมีการใช้สำริด ชาวเขมรได้สร้าง จักรวรรดิเขมรในเวลาต่อมา ซึ่งครอบงำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลาหกศตวรรษซึ่งเริ่มต้นใน ค.ศ. 802 และปัจจุบันเป็นกระแสหลักของการเมืองวัฒนธรรมและเศรษฐกิจของกัมพูชา

ชาวเขมรได้พัฒนาอักษรเขมร ตัวอักษรแรกที่ยังคงใช้อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้เป็นหลักในการสร้างและพัฒนาตัวอักษรไทยและตัวอักษรลาวในภายหลัง ชาวเขมรได้รับการพิจารณาโดยนักโบราณคดีและนักชาติพันธุ์วิทยา ซึ่งได้จัดเป็นชนพื้นเมืองในบริเวณภูมิภาคที่ต่อเนื่องกันของ ภาคอีสานของไทย, ภาคใต้ของลาว, กัมพูชา และ เวียดนามใต้ หรืออาจกล่าวได้ว่าชาวเขมรเคยเป็นชาวลุ่มที่อาศัยอยู่ใกล้กับหนึ่งในแควของแม่น้ำโขง

เช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ในยุคต้น ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่น ปยู, มอญ, จาม, มลายู และ ชวา ชาวเขมรเป็นชนชาติหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย โดยรับอิทธิพลทางด้าน ศาสนาศาสตร์และศุลกากรของอินเดีย อีกทั้งมีการยืมอิทธิพลทางด้านภาษา อาณาจักรการค้าที่มีประสิทธิภาพครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาณาจักรฟูนัน ก่อตั้งขึ้นในทิศตะวันออกเฉียงใต้กัมพูชาและสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในศตวรรษแรก อีกทั้งการขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดีอย่างกว้างขวางใน อังกอร์ บอเรย์ ใกล้ชายแดนเวียดนาม มีการขุดค้นพบ ซากอิฐ, คลอง, สุสานและหลุมฝังศพ สืบมาถึงศตวรรษที่สิบห้าก่อนคริสต์ศักราช

ราชอาณาจักรฟูนันถือเป็นแรกเริ่มของราชอาณาจักรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดในเวลาต่อมา ในยุคฟูนาน (ศตวรรษที่ 1 - ศตวรรษที่ 6) ชาวเขมรยังได้รับพระพุทธศาสนา, ศาสนาแนวคิดเรื่อง ลัทธิไศวะและเทวราชา และวิหารที่ยิ่งใหญ่ราวกับภูเขาสัญลักษณ์ของโลก อาณาจักรเขมรเจนละเกิดขึ้นในศตวรรษที่ห้าและต่อมาก็เอาชนะและยึดครองอาณาจักรฟูนัน อาณาจักรเจนละเป็นรัฐที่อยู่บริเวณที่ราบสูงซึ่งมีเศรษฐกิจพึ่งพาการเกษตรในขณะที่ฟูนันเป็นรัฐที่ลุ่มที่มีเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการค้าทางทะเล

ทั้งสองรัฐนี้แม้กระทั่งหลังการพิชิตโดยอาณาจักรเจนละ ในศตวรรษที่หกก็ยังคงทำสงครามซึ่งกันและกันและอาณาเขตที่เล็กลง ในช่วงยุคเจนละ (ศตวรรษที่ 5-8) ชาวกัมพูชาได้ประดิษฐ์คิดค้น "ตัวเลขศูนย์" ที่เก่าแก่ที่สุดที่โลกรู้จักในจารึกวิหารแห่งหนึ่งของพวกเขา เมื่อกษัตริย์พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงประกาศเอกราชและเอกภาพกัมพูชาในปี ค.ศ. 802 ก็มีความสงบสุขญาติระหว่างทั้งสองดินแดนบนและล่างกัมพูชา

พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (ค.ศ. 802–ค.ศ. 830) ได้ทรงฟื้นพลังอำนาจของอาณาจักรกัมพูชาและสร้างรากฐานสำหรับอาณาจักรอังกอร์ซึ่งก่อตั้งเมืองหลวงสามแห่ง ได้แก่ อินทปุระ, หริหราลัยและมเหนทรบรรพต ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีที่เผยให้เห็นถึงช่วงเวลาของเขา หลังจากชนะสงครามกลางเมืองมายาวนาน จนถึงรัชสมัยพระเจ้าสูรยวรรมันที่ 1 (ครองราชย์ในปี ค.ศ. 1002–ค.ศ. 1050) ได้ทรงแผ่แสนยานุภาพส่งกองทัพของพระองค์ไปทางทิศตะวันออกและปราบปรามอาณาจักรทวารวดีของมอญเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเขมร ดังนั้นจึงทำให้พระองค์ได้ปกครองส่วนใหญ่ของประเทศไทยและลาวในปัจจุบันรวมถึงครึ่งทางตอนเหนือของคาบสมุทรมลายู ในช่วงระหว่างนี้ได้มีการสร้างนครวัดถือเป็นจุดสูงสุดของอารยธรรมเขมร

จักรวรรดิเขมร (ค.ศ.802–ค.ศ.1431)

ดูบทความหลักที่: จักรวรรดิเขมร
อาณาเขตของจักรวรรดิเขมร (สีแดง)

อาณาจักรเขมรกลายเป็นจักรวรรดิเขมรและมีวิหารที่ยิ่งใหญ่ของอังกอร์ซึ่งถือเป็นสมบัติทางโบราณคดีที่เต็มไปด้วยหินนูนสีสรรที่แสดงรายละเอียดของวัฒนธรรมรวมถึงเครื่องดนตรีบางอย่างที่ยังคงเป็นอนุสรณ์ของวัฒนธรรมเขมร

หลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (ค.ศ.1113–1150) กัมพูชาผ่านพ้นความโกลาหลจนถึงรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (ค.ศ.1181–1218) ได้ทรงสั่งให้สร้างเมืองหลวงใหม่ พระองค์ถือพระองค์เป็นชาวพุทธและในเวลาหนึ่งศาสนาพุทธกลายเป็นศาสนาที่โดดเด่นในประเทศกัมพูชา อย่างไรก็ตามในฐานะที่เป็นศาสนาประจำชาติมันถูกดัดแปลงให้เหมาะสมกับลัทธิเทวะราชาโดยมีพระพุทธเจ้าเป็นราชาแทนพระอิศวรราชาหรือพระนารายณ์ในอดีต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชาวเขมร http://stat.data.abs.gov.au/Index.aspx?DataSetCode... http://census2011.gc.ca/census-recensement/2006/dp... http://www.nationmaster.com/graph/peo_eth_gro-peop... http://www.wcfia.harvard.edu/conferences/truthjust... http://factfinder.census.gov/faces/tableservices/j... http://www.mofa.go.jp/mofaj/area/cambodia/data.htm... http://www.immigration.go.kr/doc_html/attach/imm/f... http://www.teara.govt.nz/en/cambodians/3 http://www.khmerkrom.org/en/culture.php?articleID=... http://www.kh.refer.org/cbodg_ct/kh/culture_kh/his...