ภาษา ของ ชาวไทยในประเทศปากีสถาน

การใช้ภาษาของชาวปากีสถานเชื้อสายไทยที่บัตตากรามก่อน พ.ศ. 2551 พบว่ากลุ่มคนรุ่นแรกที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปยังพูดภาษาไทยได้ แต่สำเนียงแปร่ง[10][14] และไม่นิยมใช้สื่อสารกัน ส่วนคนรุ่นหลังที่เป็นลูกหลานของคนกลุ่มแรก ๆ ที่เกิดในประเทศปากีสถาน จะพูดไทยได้น้อย และหลายคนพูดไทยไม่ได้เลย[12] บางคนพูดภาษาจากท้องถิ่นดั้งเดิมของตนได้ เช่น ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษาไทยถิ่นอีสาน[13] แต่โดยส่วนมากใช้ภาษาปาทาน เนื่องจากสืบเชื้อสายจากชาวปาทานอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังพูดภาษาอูรดูซึ่งเป็นภาษาราชการของประเทศ รวมทั้งสามารถใช้ภาษาอาหรับได้เพราะเป็นภาษาทางศาสนา พบมากในกลุ่มนักศึกษา[9]

ส่วนกลุ่มนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาในปากีสถาน[9][18] ร้อยละ 75 มาจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้[11] ซึ่งใช้ภาษามลายูปัตตานีในชีวิตประจำวัน[8] แต่พวกเขาก็ไม่สันทัดการใช้ภาษาไทย และเคอะเขินที่จะพูดภาษาไทยเพราะเกรงว่าจะไม่ชัด[1]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชาวไทยในประเทศปากีสถาน http://protectthaicitizen.blogspot.com/2010/08/blo... http://www.ryt9.com/s/ryt9/236938 http://www.thaibizpakistan.com/pk/about/relations.... http://www.komchadluek.net/news/edu-health/208631 http://www.thaiembassy.org/islamabad/th/news/912/1... https://www.matichonweekly.com/column/article_7752... https://www.ryt9.com/s/ryt9/230513 https://web.archive.org/web/20181016102054/http://... https://www.isranews.org/south-news/documentary/18... https://www.matichon.co.th/foreign/news_2198947