คำอธิบาย ของ ชุดตัวอักษรฮังการี

สัญลักษณ์อักษรแต่ละตัวในกล่องด้านบนนับเป็นตัวอักษรเฉพาะในภาษาฮังการี โดยแยกสระเสียงสั้นและเสียงยาว (คล้ายภาษาไทย) เช่น ตัวอักษร o และ ó หรือ ö และ ő นับเป็นคนละตัวอักษร มีตำแหน่งของตัวเองในการเรียงลำดับ ไม่นับว่าเป็นสระเดียวกัน

แม้ว่าสระเสียงสั้นและสระเสียงยาวจะนับเป็นอักษรคนละตัวในในอักษรฮังการี แต่สำหรับพยัญชนะ แม้ว่าจะมีเสียงยาว (หรือมีการซ้ำเสียงต่อเนื่อง) ก็ยังนับเป็นอักษรตัวเดียวกัน

ในภาษาฮังการี การแสดงว่าพยัญชนะนั้นมีเสียงยาว จะทำได้โดยการเขียนอักษรเดียวกันซ้ำสองตัวแทนการใส่เครื่องหมายไว้ด้านบน เช่น tt, gg, zz (ette [ˈɛɛ] 'เขากิน'; függ [fyɡː] 'มันห้อยอยู่'; azzal [ˈɒɒl] 'กับอันนั้น') อย่างไรก็ดี ในภาษาฮังการี จะมีการใช้อักษรพยัญชนะละติน 2 หรือ 3 ตัวมาผสมกันเพื่อแสดงเสียงเสียงเดียว สำหรับเสียงที่ไม่มีในภาษาละติน (คล้ายกับภาษาโปแลนด์) ภาษาฮังการีมีอักษรประสม 9 ตัว คือ cs, dz, dzs, gy, ly, ny, sz, ty, zs

ในการเขียนอักษรพยัญชนะประสม (ประกอบด้วย cs, dz, dzs, gy, ly, ny, sz, ty, zs) ให้แสดงเสียงยาวนั้น ตามหลักการเขียนของภาษาฮังการี จะตัดอักษรด้านหลังตัวพยัญชนะประสมตัวแรกให้เหลือแต่เพียงอักษรละตินตัวแรก แล้วเอามาเขียนติดกับตัวมันเอง เช่น sz + sz → ssz (asszony [ˈɒoɲ] 'ผู้หญิง'); ty + ty → tty (hattyú [ˈhɒuː] 'หงส์'); dzs + dzs → ddzs (briddzsel [ˈbrid͡ʒːɛl] 'ด้วยไพ่โปกเกอร์') ยกเว้นเฉพาะคำยาวที่เกิดจากคำสั้น ๆ ประสมกัน เช่น jegygyűrű [ˈjɛɟːyːryː] 'แหวนหมั้น' (jegy [ˈjɛɟ] + gyűrű [ˈɟyːryː]) ไม่มีการตัดอักษรออกให้กลายเป็น jeggyűrű

ใกล้เคียง

ชุดตัวอักษรอาหรับ ชุดตัวอักษรกรีก ชุดตัวอักษรอูรดู ชุดตัวอักษรยาวี ชุดตัวอักษรละติน ชุดตัวอักษรทาจิก ชุดตัวอักษรเปอร์เซีย ชุดตัวหนังสือพยางค์เชโรกี ชุดตัวอักษรฮีบรู ชุดตัวอักษรสากลสำหรับการถอดอักษรภาษาสันสกฤต