การอุดช่องว่างของกฎหมายอาญา ของ ช่องว่างของกฎหมาย

วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:

ในทางอาญานั้น หลักนิติศาสตร์ถือเป็นเคร่งครัดว่า การจะลงโทษผู้ใดต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำของคนผู้นั้นเป็นความผิดอันมีโทษ หาไม่แล้วจะลงโทษโดยที่ไม่มีกฎหมายกำหนดว่าเป็นความผิดอันมีโทษมิได้ ดังภาษิตกฎหมายว่า "ไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมายกำหนด" (ละติน: nulla poena sine lege; อังกฤษ: no penalty without a law) ซึ่งกฎหมายไทยก็รับรองหลักดังกล่าวนี้ โดย ม.29 ว.1 รธน.ไทย ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) ว่า

"บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้"

แต่หากเกิดช่องว่างในกฎหมายที่กำหนดโทษอาญา ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับความผิดและโทษ ศาลย่อมจะอุดช่องว่างแห่งกฎหมายได้ แต่จะอุดช่องว่างในทางหนึ่งทางใดดังต่อไปนี้มิได้ ดังนี้

  1. อุดช่องว่างแห่งกฎหมายให้เป็นการลงโทษบุคคลไม่ได้
  2. อุดช่องว่างแห่งกฎหมายไปในทางที่จะลงโทษบุคคลให้หนักขึ้นไม่ได้

แต่จะอุดช่องว่างแห่งกฎหมายในทางที่เป็นผลดีแก่ผู้ต้องหาได้