ผู้บรรเลง ของ ซอ_(การร้อง)

ผู้ที่ขับร้องซอนั้นเรียกกันว่า “จั้งซอ” และผู้เป่าปี่ที่ให้ทำนองนั้นเรียกว่า “จั้งปี่” ซึ่งปี่ที่ใช้นำมาบรรเลงนั้น นิยมใช้ปี่ 5 เล่ม (เลา) ครั้นต่อมาจั้งปี่มีงานมาก จึงได้แยกย้ายไปเป่าปี่ให้กับจั้งซอคู่อื่น ๆ ปี่ก็ลดลง 1 เล่ม เหลือเป็นปี่จุม 4 ประกอบด้วย ปี่แม่ ปี่กลาง ปี่ก้อย ปี่เล็ก

“จุม” หมายถึงชุด หรือหมู่นั้นเอง และในสมัยปัจจุบันนี้ จั้งปี่รุ่นเก่าค่อยหมดไปจากล้านนา วงปี่ซอจึงเหลือเพียง จุม 3 เท่านั้น และได้มีซึงเข้ามาบรรเลงร่วม ประมาณ 10 กว่าปีมานี้เอง เป็นที่น่าสังเกตว่า ซอที่ใช้ปี่นั้น จะมีเพียงเฉพาะในจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ เท่านั้น ซอทาง แพร่ น่าน จะใช้ซึงกับสล้อ เรียกว่าซอล่องน่าน

“จั้ง” ถ้าจะแปลเป็นความหมายภาษาไทยนั้นคือ “นัก” นั้นเอง เช่น นักร้อง นักดนตรี แต่ภาษาไทยถิ่นเหนือจะเรียกว่า จั้งซอ จั้งปี่ จั้งแต้ม จั้งซึง ก็คือผู้ที่มีความสามารถในทางนั้น ๆ

* "จั้ง" คือคำว่า จ่าง ภาษาไทยก็คือ ช่าง นั่นเอง .. คำว่า "จ่าง" คนพื้นถิ่นภาคเหนือมักออกเสียงเร็ว ทำให้ฟังเป็น "จั้ง" ก็คือ "จ่าง" หรือ "ช่าง" นั่นเอง

*** จ่าง ในความหมายของคนล้านนา คือ "ผู้ที่ทำเป็น" หรือ "ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ" ทางภาคกลางเรียกกว่า "นัก" เช่น นักร้อง นักเต้น นักดนตรี นักปั้น